Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/15191
Title: | ผลการรักษาด้วยยาต้านไวรัสเอชไอวีในผู้ป่วยไทยที่ติดเชื้อเอชไอวี-1 ที่มีระดับซีดี4 ระหว่าาง 200-250 เซลล์ต่อลูกบาศก์มิลลิเมตรเทียบกับผู้ป่วยที่มีระดับซีดี 4 น้อยกว่า 200 และมากกว่า 250 เซลล์ต่อลูกบาศก์มิลลิเมตร |
Other Titles: | Clinical progression after antiretroviral therapy in HIV infected Thai patients with CD4+cell counts 200-250 cells/MM[superscript 3] compared to CD4+cell counts <200 and >250 cells/MM[superscript 3] |
Authors: | เบญจวรรณ นันทิยะกุล |
Advisors: | เกียรติ รักษ์รุ่งธรรม |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์ |
Advisor's Email: | Kiat.R@Chula.ac.th |
Subjects: | สารต้านไวรัส ผู้ติดเชื้อเอชไอวี |
Issue Date: | 2550 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | ความสำคัญและที่มา : ในปัจจุบันยังไม่มีข้อมูลเปรียบเทียบการตอบสนองต่อการรักษาด้วยยาต้านไวรัสเอชไอวีในระยะยาวของผู้ป่วยไทยที่ติดเชื้อเอชไอวี-1ที่มีระดับซีดี4 ระหว่าง 200-250 เซลล์/มม[superscript 3] กับผู้ป่วยที่มีระดับซีดี4 น้อยกว่า 200 และมากกว่า 250 เซลล์/มม[superscript 3] วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาผลการตอบสนองต่อการรักษาด้วยยาต้านไวรัสเอชไอวีในผู้ป่วยผู้ใหญ่ไทยที่ติดเชื้อเอชไอวี-1 ที่มีระดับ ซีดี4 ระหว่าง 200-250 เซลล์/มม[superscript 3] เปรียบเทียบกับผู้ป่วยที่มีระดับ ซีดี4 น้อยกว่า 200 และมากกว่า 250 เซลล์/มม[superscript 3] โดยดูจากอัตราการติดเชื้อฉวยโอกาสแทรกซ้อนหรืออัตราการตาย เครื่องมือและวิธีวิจัย : ศึกษาติดตามข้อมูลย้อนหลังถึงผลการตอบสนองต่อการรักษาในผู้ป่วยผู้ใหญ่ไทยที่ติดเชื้อเอชไอวีที่ได้รับยาต้านไวรัสเอชไอวีสูตรที่มีประสิทธิภาพสูง 788 คนที่อยู่ในโครงการวิจัยของศูนย์วิจัย HIV Netherlands ,Australia ,Thailand Research Collaboration (HIV-NAT) ระหว่าง 1 มกราคม 2541 – 30 มิถุนายน 2550 โดยศึกษาอัตราการติดเชื้อฉวยโอกาสแทรกซ้อนหรืออัตราการตาย รวมทั้งวิเคราะห์หาปัจจัยที่มีผลต่อการตอบสนองต่อการรักษา ผลการวิจัย : จากการศึกษาติดตามผู้ป่วยติดเชื้อเอชไอวีเป็นระยะเวลา 3983 คนปี อัตราการติดเชื้อฉวยโอกาสแทรกซ้อนหรือเสียชีวิต เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มที่มีระดับซีดี4 มากกว่า 250 เซลล์/มม[superscript 3] กลุ่มที่มีระดับซีดี4 ระหว่าง 200-250 เซลล์/มม3 มีอัตราเสี่ยง 1.28 (95%CI เท่ากับ 0.25-6.60) กลุ่มที่มีระดับซีดี4 น้อยกว่า 200 เซลล์/มม[superscript 3] มีอัตราเสี่ยง 2.83 (95%CI เท่ากับ 1.00-8.02 P=0.05) ปัจจัยอื่น ๆ ที่มีผลต่อการตอบสนองต่อการรักษาได้แก่ น้ำหนัก (อัตราเสี่ยง 0.61 ,95%CI เท่ากับ 0.49-0.75, P<0.001) อายุ (อัตราเสี่ยง 1.30 ,95%CI เท่ากับ 1.07-1.59, P=0.01) และระยะของโรค (อัตราเสี่ยง 2.43 ,95%CI เท่ากับ 1.31-4.51, P=0.01) สรุปผลการวิจัย : การเริ่มรักษาด้วยยาต้านไวรัสเอชไอวีในผู้ป่วยติดเชื้อเอชไอวีที่ระดับซีดี4 ระหว่าง 200-250 เซลล์/มม[superscript 3] ให้ผลการตอบสนองต่อการรักษาที่ดีเทียบเท่ากับการเริ่มรักษาที่ระดับซีดี4มากกว่า 250 เซลล์/มม[superscript 3] และมีแนวโน้มดีกว่าการเริ่มรักษาที่ระดับซีดี4 ต่ำกว่า 200 เซลล์/มม[superscript 3] ในแง่การติดเชื้อฉวยโอกาสแทรกซ้อนหรือการเสียชีวิต ปัจจัยอื่น ๆ ที่มีผลต่อการรักษาได้แก่ อายุ น้ำหนัก และระยะของโรค ดังนั้นจึงแนะนำให้เริ่มยารักษาที่ระดับซีดี4 200-250 เซลล์/มม[superscript 3] อย่างไรก็ตามคงต้องมีการศึกษาไปข้างหน้าเพื่อยืนยันผลการศึกษานี้ต่อไป |
Other Abstract: | Background : Antiretroviral therapy (ART) given in combination are important in treatment of HIV infection.There has been no comparative study of treatment responses among HIV-infected patients with CD4+ cell counts between 200-250 cells/mm[superscript 3] and CD4+ cell counts below 200 cells/mm[superscript 3] and above 250 cells/mm[superscript 3] in Thailand. Objective: To compare clinical progression in a cohort of adult HIV infected patients treated with HAART via a clinical research network in Thailand. Methods: Retrospective cohort study in 788 adult HIV infected patients treated with HAART in the HIV Netherlands ,Australia ,Thailand Research Collaboration (HIV-NAT) between 1998 and June 2007. Main outcome measures was progression to combined endpoint of AIDS defining illness or death according to baseline characteristics, ART used, immunological and virological responses. Results: During 3983 person years of follow-up. Compared to patients with baseline CD4+ cell counts > 250 cells/mm[superscript 3], the adjusted hazard ratio for progression was 1.28 (95%CI, 0.25 - 6.60) for patients with CD4+ cell counts 200-250 cells/mm[superscript 3] and 2.83 (95%CI, 1.00 - 8.02 P=0.05) for patients with CD4+ cell counts below 200 cells/mm[superscript 3].The significant predictors of clinical progression in multivariate models were weight, age and whether the patient was CDC Category C at baseline. Conclusion : There are no difference in clinical progression among HIV infected patients with CD4+ cell counts 200-250 cells/mm[superscript 3] and above 250 cells/mm[superscript 3] after treatment with HAART. However both baseline CD4+ strata have a trend toward a better outcomes than patients with CD4+cell counts below 200cells/mm[superscript 3]. Age, weight and clinical stage are predictors of treatment outcomes. Thus, this study suggests to consider to commence HAART when a patient has CD4+ cell counts 200-250 cells/mm[superscript 3].Nontheless, a prospective study to confirm and to assess its cost-effective is warranted. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550 |
Degree Name: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | อายุรศาสตร์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/15191 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2007.1903 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2007.1903 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Med - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Benjawan_Na.pdf | 1.38 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.