Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/15192
Title: ประสิทธิผลของยา 0.1 % เอสทริออลชนิดครีมในการรักษาริ้วรอยแห่งวัยในหญิงวัยหมดประจำเดือน, การศึกษาแบบสุ่ม เปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุมโดยปิดสองข้าง
Other Titles: The effectiveness of 0.1% estriol cream on aging skin in postmenopausal women, a randomized double-blind placebo control trial
Authors: บุณยพัต กฤษฎาธิวุฒิ
Advisors: นภดล นพคุณ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
Subjects: เอสโตรเจน
การชะลอวัย
Issue Date: 2550
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ความสำคัญและที่มาของงานวิจัย: เมื่ออายุมากขึ้นเข้าสู่วัยหมดประจำเดือน ระดับฮอร์โมน เอสโตรเจนจะลดลงอย่างมาก ฮอร์โมนทดแทนมีประโยชน์ในการรักษาอาการนี้ โดยเอสโตรเจนในรูปยาทาเฉพาะที่ มีประโยชน์ ปลอดภัยกว่ารูปรับประทาน และเอสทริออลเป็นรูปแบบที่ปลอดภัย เกิดผลข้างเคียงน้อยที่สุดวัตถุประสงค์: เพื่อประเมินประสิทธิภาพของยา 0.1% เอสทริออลชนิดครีม ในการรักษาริ้วรอยแห่งวัยบนใบหน้าในหญิงวัยหมดประจำเดือน เมื่อทายาต่อเนื่องเป็นเวลา 6 เดือน เปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุม วิธีทำการศึกษา: ศึกษาในผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน 34 คน นาน 6 เดือน แบ่งเป็น 2 กลุ่มโดยการสุ่ม กลุ่มละ 17 คน กลุ่มหนึ่งใช้เอสโตรเจนชนิดครีม อีกกลุ่มใช้ยาหลอก โดยทา 0.5 กรัม วันละ 2 ครั้ง และทำการวัดความลึกของริ้วรอยด้วยเครื่องวิซิโอมิเตอร์, วัดความชุ่มชื้นด้วยคอร์นิโอมิเตอร์, วัดความยืดหยุ่นด้วยคิวโตมิเตอร์ ประเมินเปรียบเทียบกัน 2 กลุ่ม ประเมินความพึงพอใจของผู้ป่วย, ผลข้างเคียงจากยาโดยใช้แบบสอบถาม และดูระดับฮอร์โมนในกระแสเลือดก่อนและหลังรักษาร่วมด้วย ผลการศึกษา: ผู้เข้าร่วมการศึกษา 34 คน เข้าร่วมการวิจัยครบ อายุระหว่าง 45 ถึง 63 ปี อายุเฉลี่ยเท่ากันทั้งสองกลุ่ม พบว่า 0.1% เอสทริออลชนิดครีมมีประสิทธิภาพในการรักษาริ้วรอยบนใบหน้าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p value = 0.012) เมื่อเปรียบเทียบกับยาหลอก ทายาต่อเนื่อง 6 เดือน ความชุ่มชื้นและความยืดหยุ่นของผิวหนังเพิ่มขึ้นอย่างมาก แตกต่างกับยาหลอกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p value= 0.002, p value< 0.001ตามลำดับ) ระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนในเลือดก่อนและหลังใช้ยาอยู่ในเกณฑ์ปกติทุกคน ในกลุ่มเอสทริออล พบมีผู้ป่วย 1 คน คัดตึงเต้านม,1 คนฝ้าบนใบหน้าเข้มมากขึ้น สรุปผล: ในการศึกษาวิจัยระยะเวลา 6 เดือน พบว่า 0.1% เอสทริออลชนิดครีม มีประสิทธิภาพในการรักษาริ้วรอย, เพิ่มความชุ่มชื้น และเพิ่มความยืดหยุ่นบนใบหน้าในหญิงวัยหมดประจำเดือน เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุม
Other Abstract: Background: Aging is associated with declining levels of estrogen. Hormonal replacement therapy is known to benefit this condition, but carries many side effects. Topical estrogen, especially in estriol form, is safer. Objective: To determine the efficacy of 0.1% estriol cream on aging skin in postmenopausal women. Materials and Methods: In 6 months trial, 34 postmenopausal women were divided randomly into 2 groups, 17 persons in each group, received 0.1% estriol cream or placebo cream twice per day. Efficacy was evaluated by visiometer for wrinkles, corneometer for humidity, cutometer for elasticity and patient satisfaction. Safety was assessed by clinical and serum estradiol level. Results: All participants completed the decided treatment Age between 45 to 63 years. Mean age was equally in both groups. Treatment with 0.1% estriol cream decreased wrinkle on aging faces at 6 months (p=0.012) VS placebo. Humidity and elasticity were increased, compared with placebo (p value= 0.002, p value< 0.001). In estriol group, one participant had breast tension, one complained aggravation of preexisting melasma. After treatment, both treated group and placebo group had normal estradiol level in serum. Conclusion: In postmenopausal women, 0.1% estriol cream has been shown to decrease wrinkles and increased humidity, elasticity when compared with placebo.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: อายุรศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/15192
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2007.1904
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2007.1904
Type: Thesis
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Boonyapat_Kr.pdf1.11 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.