Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/15209
Title: สภาพและปัญหาการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาในโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาใน 10 จังหวัดภาคใต้
Other Titles: The state and problems of school-based curriculum development of small-sized elementary schools under educational service area offices in ten Southern provinces
Authors: วรรณวิษา เภาวิเศษ
Advisors: สำลี ทองธิว
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: Sumlee.t@chula.ac.th
Subjects: โรงเรียนประถมศึกษา -- ไทย (ภาคใต้)
การศึกษา -- หลักสูตร
การศึกษา -- การมีส่วนร่วมของประชาชน
Issue Date: 2549
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพและปัญหาการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาในโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาใน 10 จังหวัดภาคใต้ ตัวอย่างประชากร คือ โรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาใน 10 จังหวัดภาคใต้ จำนวน 234 โรงเรียน ผู้ให้ข้อมูล คือ ครูฝ่ายวิชาการที่รับผิดชอบเป็นหัวหน้าคณะกรรมการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาช่วงชั้นที่ 1 และช่วงชั้นที่ 2 ของแต่ละโรงเรียน รวมทั้งหมด 468 คน เครื่องมือที่ใช้มี 4 ฉบับ คือ แบบสอบถามสำหรับครูฝ่ายวิชาการที่รับผิดชอบเป็นหัวหน้าคณะกรรมการการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา ช่วงชั้นที่ 1 จำนวน 1 ฉบับ และแบบสอบถามสำหรับครูฝ่ายวิชาการที่รับผิดชอบเป็นหัวหน้าคณะกรรมการการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา ช่วงชั้นที่ 2 จำนวน 1 ฉบับ แบบศึกษาเอกสารจำนวน 1 ฉบับ และแบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้างจำนวน 1 ฉบับ ได้รับแบบสอบถามเป็นฉบับสมบูรณ์ 392 ฉบับ คิดเป็นร้อยละ 83.76 วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าร้อยละและวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) คณะกรรมการตามที่กำหนดในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 เป็นผู้กำหนดวิสัยทัศน์ ภารกิจ เป้าหมายของหลักสูตรสถานศึกษา ตลอดจนกำหนดคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียน ชุมชนที่มีส่วนร่วมกับคณะกรรมการในการทำภารกิจนี้มากที่สุดเป็นตัวแทนผู้ปกครอง ส่วนปัญหาที่พบ คือ ชุมชนและคณะกรรมการยังขาดความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาและไม่มีเวลาเข้าร่วมกิจกรรม และครูยังขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการกำหนดวิสัยทัศน์ ภารกิจ เป้าหมาย และคุณลักษณะที่พึงประสงค์ 2) ในการจัดโครงสร้างของหลักสูตรสถานศึกษา พบว่า ครูได้จัดโครงสร้างของเวลาและสาระให้สอดคล้องตามที่กำหนดไว้ในหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 ส่วนปัญหาที่พบ คือ ครูไม่สามารถสอนทันตามเวลาและสาระที่มีอยู่ในโครงสร้าง เนื่องจากสาระการเรียนรู้มีจำนวนมาก 3) ในการจัดสาระการเรียนรู้ของหลักสูตรสถานศึกษา ครูได้กำหนดผลการเรียนรู้ที่คาดหวังและสาระการเรียนรู้โดยให้มีความสอดคล้องกับมาตรฐานการเรียนรู้ช่วงชั้น สอดคล้องกับความต้องการของชุมชนและท้องถิ่น และสอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียน ครูจัดทำหน่วยการเรียนรู้และแผนการเรียนรู้แบบบูรณาการ ส่วนปัญหาที่พบ คือ ครูมีจำนวนไม่เพียงพอ ขาดครูที่มีความรู้ความสามารถเฉพาะสาขา ครูยังไม่เข้าใจเกี่ยวกับการจัดสาระการเรียนรู้ของหลักสูตรสถานศึกษา ครูไม่มีเวลาทำแผนการเรียนรู้ และขาดงบประมาณในการดำเนินงานจัดทำสาระการเรียนรู้ 4) ในการออกแบบการเรียนรู้ ครูใช้จัดการเรียนรู้แบบบูรณาการแบบผู้สอนคนเดียว และเน้นการจัดการเรียนการสอนตามสภาพจริง มุ่งให้ผู้เรียนเกิดความสนุกสนานและความเพลิดเพลินในการเรียนรู้ ด้านสื่อการเรียนรู้ ส่วนใหญ่เลือกซื้อสื่อการเรียนรู้ที่จัดจำหน่าย ส่วนสื่อ อุปกรณ์เทคโนโลยีทางการศึกษา เช่น คอมพิวเตอร์ ส่วนใหญ่โรงเรียนได้มาจากการบริจาคจากเอกชน/มูลนิธิ ด้านการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ ครูได้ดำเนินการตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 โดยเน้นการประเมินผลการเรียนรู้ตามสภาพจริง ส่วนปัญหาที่พบ คือ ครูยังขาดความรู้ ความเข้าใจในการจัดการเรียนรู้และการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ที่หลากหลาย ครูมีจำนวนไม่เพียงพอในการจัดการเรียนการสอน ขาดงบประมาณในการจัดหาสื่อการเรียนรู้ที่มีคุณภาพและมีจำนวนเพียงพอกับนักเรียน 5) ในการออกแบบกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ครูได้จัดกิจกรรมแนะแนวโดยยึดหลักให้ผู้เรียนได้รู้และเข้าใจเกี่ยวกับตนเองและเข้าใจถึงความสัมพันธ์ของตนเองกับสังคมรอบข้าง ส่วนการจัดกิจกรรมนักเรียน เน้นการจัดกิจกรรมลูกเสือ เนตรนารี ยุวกาชาดและผู้บำเพ็ญประโยชน์ ส่วนปัญหาที่พบ คือ ครูยังขาดความรู้ ความเข้าใจในการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนทั้งการจัดกิจกรรมแนะแนว และกิจกรรมนักเรียน
Other Abstract: The purpose of this research was to study the state and problems of school-based curriculum development of small-sized elementary schools under the supervision of educational service area offices in ten southern provinces. The samples of the study were 234 small-sized elementary schools under educational service area offices in ten southern provinces. The data were collected through the 468 teachers who were responsible for developing the first and second key stages of school-based curriculum. The research instruments used in the study were questionnaires, semi-structured interview form and analysis form. The 392 copies of questionnaires, which were accounted for 83.76%, were returned. Means, standard deviation, percentage and content analysis were methodologies used for the analyzing the data. The research findings were as follows: 1) The curriculum committees as stipulated in Education Act B.E. 2542 were the ones who determined vision, missions, goals and learners’ desirable characteristics for the school-based curriculum. The representatives of parents were the participant communities and committees who devoted most to the mission. It was also found that the communities and curriculum committees lacked of the understanding on school-based curriculum development and did not have time for the curriculum development activities. Moreover, the teachers lacked of the understanding on the stipulation of vision, missions, goals and desirable characteristics. 2) The arrangement of school curriculum structure: Teachers set up the structure on time and learning substance aligned with the Basic Education Curriculum B.E. 2544. It was found that teachers could not arrange the balance of time on teaching and learning substances that stipulated in the school curriculum because of the exceeded numbers of learning substances. 3) The arrangement of curriculum substances: Teachers formulated the expected learning outcomes and learning substance aligned with the benchmarks, community, local as well as the students’ needs. Teachers set up learning units and lesson plans based on integrated learning. It was found that there were not enough teachers as well as those lacked of competency on curriculum substances. There was not plenty of time for teachers to prepare their lesson plans, along with the insufficient budget for the development of curriculum substances. 4) Learning design: Teachers integrated teachings through one teacher and focused on authentic instructions that helped promote happy learning. The curriculum materials and instructional media were bought whereas the audio-visual media such as computers were donated through private sectors and foundations. On the evaluation process, teachers followed the principles from the Basic Education Curriculum B.E. 2544 and they also used authentic assessment. It was also found that some teachers lacked knowledge and understanding of various methods of instructions and evaluations, inadequate of teachers and budget for qualified instructional materials development. 5) Learners’ development activities planning: Teachers used guidance activities based on the learners’ self development; students learned and understood about themselves, understand about the relationship about themselves and their communities. Students’ activities included boy and girl scouts, and it was found that some teachers lacked understanding when designing learners’ development activities, guidance and student activities.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ประถมศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/15209
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2006.173
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2006.173
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
wanvisa.pdf2 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.