Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1558
Title: การสร้างลำคลื่นปรับตัวได้โดยใช้การทำให้อัตราส่วนสัญญาณต่อสัญญาณแทรกสอด และสัญญาณรบกวนมีค่ามากที่สุดสำหรับระบบมัลติแคเรียร์ซีดีเอ็มเอ ในช่องสัญญาณเชื่อมโยงขาขึ้น
Other Titles: Maximum signal to interference and noise ratio adaptive beamforming for multicarrier CDMA system in uplink channel
Authors: เกียรติศักดิ์ ใหม่เจริญนุกูล, 2524-
Advisors: สมชาย จิตะพันธ์กุล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Somchai.J@chula.ac.th
Subjects: ระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่
ระบบสื่อสารไร้สาย
สายอากาศ
การเข้าถึงแบบหลายทางด้วยการแบ่งรหัส
Issue Date: 2547
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: นำระบบสายอากาศที่ใช้การสร้างลำคลื่น โดยใช้การทำให้อัตราส่วนสัญญาณต่อสัญญาณแทรกสอด และสัญญาณรบกวนมีค่ามากที่สุดมาประยุกต์ใช้ กับเครื่องรับที่สถานีฐานในระบบมัลติแคเรียร์ซีดีเอ็มเอ เพื่อเพิ่มสมรรถนะอัตราการผิดพลาด ของบิตข้อมูลที่รับได้ในช่องสัญญาณเชื่อมโยงขาขึ้น การสร้างลำคลื่นนี้ให้ผลเป็นปัญหาค่าเจาะจงที่วางนัยทั่วไปแล้ว ซึ่งสามารถแก้ได้หลายวิธี แต่ละวิธีที่นำมาประยุกต์ใช้ในระบบมัลติแคเรียร์ซีดีเอ็มเอเชื่อมโยงขาขึ้นจะถูกหาขึ้น อัลกอริทึมแบบบอดใหม่ชื่อว่า RGLM (Recursive Generalized Lagrange Multiplier) ซึ่งมีความซับซ้อนน้อยกว่าอัลกอริทึม GLM (Generalized Lagrange Multiplier) และสามารถติดตามทิศทางการมาถึงของผู้ใช้ที่ต้องการซึ่งเคลื่อนที่ได้ถูกเสนอขึ้น อย่างไรก็ตาม สมรรถนะของเครื่องรับที่ใช้ระบบสายอากาศฉลาดโดยปกติจะเลวลง เนื่องจากสัญญาณแทรกสอดที่อยู่ในคลื่นพูหลัก โดยเฉพาะเมื่อของสัญญาณแทรกสอดเป็นมุมเดียวกับสัญญาณที่ต้องการ และในปัญหาใกล้-ไกล เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว โครงสร้างของเครื่องรับจะถูกปรับเปลี่ยน เพื่อรวมการสร้างลำคลื่นโดยใช้การทำให้อัตราส่วนสัญญาณต่อสัญญาณแทรกสอด และสัญญาณรบกวนมีค่ามากที่สุดเข้ากับการขจัดสัญญาณแทรกสอด สำหรับการดีเทกต์ผู้ใช้หลายคนแบบร่วมกัน ผลการจำลองแสดงให้เห็นว่า เครื่องรับที่ใช้อัลกอริทึม RGLM ได้สมรรถนะอัตราผิดพลาดบิตข้อมูลที่ดีกว่าและมีเสถียรภาพมากกว่า เทียบกับเครื่องรับที่ใช้อัลกอริทึม GLM เมื่อทิศทางการมาถึงของผู้ใช้ที่ต้องการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง และในสภาวะที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาใกล้-ไกล ตามลำดับ นอกจากนี้ ผลการจำลองได้ยืนยันว่า สัญญาณแทรกสอดที่อยู่ในคลื่นพูหลักและปัญหาใกล้-ไกล สามารถแก้ได้โดยเครื่องรับสำหรับผู้ใช้หลายคนที่ได้นำเสนอ
Other Abstract: To apply a smart antenna system that use a maximum signal to interference and noise ratio (MSINR) beamforming to the receiver at base station in multicarrier CDMA system for BER performance improvement in uplink channel. This beramforming results in a generalized eigenvalue problem that can be solved by several methods. Each method applied to multicarrier CDMA uplink system is derived. A new blind algorithm namely RGLM (Recursive Generalized Lagrange Multiplier) that has lower complexity than GLM (Generalized Lagrange Multiplier) algorithm and can be able to track the arrival angle of moving desired user by choosing optimal forgetting factor is proposed. However, the performance of the receiver with the smart antenna system is always degraded due to in-beam interference especially whose arrival angle is the same as that of the desired user and in near-far problem. To solve these problems, the structure of the receiver is modified to combine MSINR beamforming with interference cancellation for joint multiuser detection. The simulation results show that the receiver using the RGLM algorithm can achieve the better BER performance and stability cmpared to the receiver using the GLM algorithm when the arrival angle of the desired user changes continuously and in near-far effect environment, respectively. In addition, the results verify that the in-beam interference and the near-far problem can be solvable by the proposed joint multiuser detection receiver.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมไฟฟ้า
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1558
ISBN: 9741760922
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Kiattisak.pdf1.52 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.