Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/15593
Title: ปัญหาและแนวทางแก้ไขการเรียกให้เจ้าหน้าที่ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามมาตรา 12 แห่งพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.2539
Other Titles: Problems and solution of compensation claim from officer according to sextion 12 of Act on Liability for Wrongful Act of Officials B.E. 2539
Authors: รักไท เทพปัญญา
Advisors: เกรียงไกร เจริญธนาวัฒน์
วรรณชัย บุญบำรุง
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล
Subjects: กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ -- ละเมิด
ค่าสินไหมทดแทน
พระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.2539
Issue Date: 2551
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: พระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 เป็นกฎหมายที่กำหนดหลักเกณฑ์อันเป็นการคุ้มครองเจ้าหน้าที่ผู้ทำละเมิดในการปฏิบัติหน้าที่ให้ไม่ต้องถูกผู้เสียหายฟ้องคดีต่อศาลเพื่อให้รับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทน โดยผู้เสียหายจะต้องฟ้องคดีหน่วยงานของรัฐและหน่วยงานของรัฐจะต้องรับผิดในค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้เสียหาย ทั้งนี้ เมื่อหน่วยงานของรัฐได้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้เสียหายแล้ว หรือกรณีหน่วยงานของรัฐได้รับความเสียหายจากการละเมิดของเจ้าหน้าที่โดยตรง หน่วยงานของรัฐก็สามารถไล่เบี้ยหรือเรียกค่าสินไหมทดแทนจากเจ้าหน้าที่ได้หากการละเมิดนั้นเจ้าหน้าที่กระทำลงโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง โดยหน่วยงานของรัฐสามารถอาศัยอำนาจตามมาตรา 12 แห่งพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 ออกคำสั่งทางปกครองเรียกให้เจ้าหน้าที่ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนได้ อย่างไรก็ดี การเรียกให้เจ้าหน้าที่ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนดังกล่าวกลับไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควรเนื่องจากการบังคับให้เป็นไปตามคำสั่งเรียกให้เจ้าหน้าที่ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนดังกล่าวนั้น หากเจ้าหน้าที่ไม่ยอมชำระหน่วยงานของรัฐก็จะต้องอาศัยมาตรการบังคับทางปกครองโดยวิธีการยึด หรืออายัดทรัพย์สิน และนำมาขายทอดตลาดเพื่อชำระเงินให้ครบถ้วน ตามมาตรา 57 แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 แต่มาตรการดังกล่าวก็ยังมีปัญหาทั้งในทางปฏิบัติและข้อกฎหมาย ประกอบกับการนำการออกคำสั่งทางปกครองมาใช้เป็นวิธีการในเรียกให้ชำระค่าสินไหมทดแทนก็ยังมีปัญหาบางประการ ทั้งนี้ แนวทางแก้ไขปัญหาดังกล่าวนั้นอาจทำได้หลายแนวทางด้วยกัน เช่น การปรับปรุงการใช้มาตรการบังคับทางปกครองให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น การกำหนดให้ให้หน่วยงานของรัฐสามารถฟ้องเจ้าหน้าที่ต่อศาลได้ควบคู่ไปกับการออกคำสั่งทางปกครอง รวมทั้งการยกเลิกอำนาจในการออกคำสั่งทางปกครองเรียกให้เจ้าหน้าที่ชำระเงินเพื่อให้หน่วยงานของรัฐใช้สิทธิเรียกร้องได้แต่เพียงโดยการฟ้องคดีต่อศาลเท่านั้น
Other Abstract: The Act on liability for wrongful act of officials B.E. 2539 is the law provided protection for an official who acts wrongfully while performing duty not to be prosecuted for compensation claimed by an injured person but an injured person has to file a lawsuit against the state agency instead. When the state agency pay the compensation for damage to the injured person or the state agency are directly damaged by the official, the state agency could request exhaustively or inquire for the compensation from the official if the wrongful act is considered as an intentionally or severely negligence. In this case, the state agency could employ section 12 of the Act on liability for wrongful act of officials B.E. 2539 to issue an administrative act for requiring the official to pay the compensation. However, this means to require the official to pay the compensation mentioned above is not successful because the administrative act according to section 12 of the Act on liability for wrongful act of officials B.E. 2539 shall be regarded as administrative act under section 57 of the Administrative procedure Act B.E. 2539. That means if the official whom the order is made fails to comply with such order, the state agency are entitle to take the measure of enforcement of administrative act by means of seizing or attaching of property for selling by auction but this measure has both practical and legal problem, also the administrative act requiring official to give compensation itself. Therefore, the state agency is unable to enforce the official to pay an indemnity for damage occurs. The solution of this problem could be considered in several ways, for example, improve the measure of enforcement of administrative act according to section 57 of administrative procedure act B.E. 2539, amend the law to allow the state agency to file a lawsuit against an official for indemnity or abrogate the state agency’s authority in issuing an administrative act requiring an official to give compensation and the state agency shall bring the case to the court which is in its jurisdiction claiming for such compensation.
Description: วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,2551
Degree Name: นิติศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิติศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/15593
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2008.237
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2008.237
Type: Thesis
Appears in Collections:Law - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Raktai_dh.pdf2.37 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.