Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/16070
Title: ภาวะวิตกกังวล ภาวะซึมเศร้า และปัจจัยทางจิตสังคมในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังในแผนกอายุรกรรม โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์
Other Titles: Anxiety, depression, and psychosocial factors in patients with chronic kidney disease in Department of Medicine, King Chulalongkorn Memorial Hospital
Authors: รัศมี บัณณสิทธิ์รัตน์
Advisors: พีรพนธ์ ลือบุญธวัชชัย
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
Advisor's Email: Peeraphon.L@Chula.ac.th
Subjects: ไตวายเรื้อรัง
ไตวายเรื้อรัง -- ผู้ป่วย
ความวิตกกังวล
ความซึมเศร้า
Issue Date: 2552
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาความชุกของภาวะวิตกกังวล ภาวะซึมเศร้า และปัจจัยทางจิตสังคมในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง ในแผนกอายุรกรรม โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ วิธีการศึกษา: ศึกษาในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังจำนวน 105 ราย อายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป ที่คลินิกโรคไต แผนกอายุรกรรม โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2552 โดยการตอบแบบสอบถามทั้งหมด 4 ชุด ได้แก่ 1) แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล 2) แบบสอบถามอาการวิตกกังวลและอาการซึมเศร้าฉบับภาษาไทย 3) แบบสอบถาม ประเมินปัญหาสัมพันธภาพระหว่างบุคคล และ 4) แบบประเมินความสัมพันธ์และหน้าที่ของครอบครัว วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยต่างๆ กับภาวะวิตกกังวลและภาวะซึมเศร้า โดยใช้การทดสอบไคสแควร์ และวิเคราะห์ความถดถอยโลจิสติกเพื่อหาปัจจัยทำนายภาวะวิตกกังวล และภาวะซึมเศร้าของผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง ผลการศึกษา: ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังจำนวน 105 คน ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง (61%) มีอายุเฉลี่ย 50.77 ปี ส่วนใหญ่สถานภาพสมรสคู่ ระดับการศึกษาส่วนใหญ่ต่ำกว่าปริญญาตรี ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพและมีรายได้ตั้งแต่ 10,000 บาทขึ้นไป ส่วนใหญ่ป่วยเป็นโรคไตเรื้อรังมานานกว่า 5 ถึง10 ปี โดยส่วนใหญ่ (77.1%) ได้รับการรักษาด้วยยา 61% มีภาวะแทรกซ้อนคือโรคความดันโลหิตสูง ผลการศึกษาพบมีภาวะวิตกกังวล 9 ราย (8.6%) มีภาวะวิตกกังวลแต่ยังไม่ถือเป็นความผิดปกติทางจิตเวชที่ชัดเจน 16 ราย (15.2%) มีภาวะซึมเศร้า 11 ราย (10.5%) มีภาวะซึมเศร้าแต่ยังไม่ถือเป็นความผิดปกติทางจิตเวชที่ชัดเจน 17 ราย (16.2%) ปัจจัยที่สัมพันธ์กับภาวะวิตกกังวล ได้แก่ โรคหลอดเลือดหัวใจ ความบกพร่องทางสัมพันธภาพ (p<0.05) และปัจจัยที่สัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้า ได้แก่ อายุ สถานภาพ การประกอบอาชีพ รายได้ ระยะเวลาที่เป็นโรคไตเรื้อรัง โรคหลอดเลือดหัวใจ (p<0.05) ปัจจัยทำนายภาวะวิตกกังวล ได้แก่ โรคหลอดเลือดหัวใจ (p<0.05) ความบกพร่องทางสัมพันธภาพ (p<0.01) และปัจจัยทำนายภาวะซึมเศร้า ได้แก่ สถานภาพโสด หม้าย หย่าร้างและแยกกันอยู่ (p<0.05) สรุปผลการศึกษา: ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังมีความชุกของภาวะวิตกกังวล 8.6% มีความชุกของภาวะซึมเศร้า 10.5% ปัจจัยที่สัมพันธ์ต่อภาวะวิตกกังวลและเป็นปัจจัยที่ทำนายภาวะวิตกกังวล ได้แก่ โรคหลอดเลือดหัวใจ และความบกพร่องทางสัมพันธภาพ และปัจจัยที่สัมพันธ์ต่อภาวะซึมเศร้า และเป็นปัจจัยที่ทำนายภาวะซึมเศร้าในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังได้แก่ สถานภาพโสด หม้าย หย่าร้างและแยกกันอยู่
Other Abstract: Objectives: To identify the prevalence of anxiety, depression, and the associated factors in patients with chronic kidney disease in Department of Medicine, King Chulalongkorn Memorial Hospital Method: One hundred and five chronic kidney disease patients, aged above 18 years old, were recruited from Department of Medicine, King Chulalongkorn Memorial Hospital during October 2009. All the participants completed four questionnaires: 1) Socio-demographic Questionnaire, 2) Thai Hospital Anxiety and Depression Scale (Thai HADS), 3) Thai Interpersonal Questionnaire, and 4) Family Relationship and Functioning Questionnaire. The associated factors of anxiety and depression were analyzed by chisquare test. Logistic regression was used to identify the predictors of anxiety and depression in chronic kidney disease patients. Result: There were 105 participants with chronic kidney disease. Most of them (61%) were female. The average age was 50.77 years. Most of them were married and had lower than bachelor’s degree education. Most of them were employed and had income above 10,000 bath/month. The duration of their illness were 5-10 years. Most of them (77.1%) received the medical treatment. Sixty-one percent had hypertension as their complications. Nine participants (8.6%) had anxiety; 16 (15.2%) were doubtful case of anxiety. Eleven participants (10.5%) had depression; 17 (16.2%) were doubtful case of depressive. The associated factors of anxiety were interpersonal deficits, and coronary artery disease (p<0.05), while those of depression were age, marital status, occupation, income, duration of illness, and coronary artery disease (p<0.05). The predictors of anxiety were coronary artery disease (p<0.05) and interpersonal deficits (p<0.01), while those of depression were single/divorced or separated/widowed status (p<0.05). Conclusion; Chronic kidney disease patients had the prevalence of anxiety 8.6%, and depression 10.5%. The associated factors and predictors of anxiety were coronary artery disease and interpersonal deficits, while those of depression were single/divorced or separated/widowed status (p<0.05).
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: จิตเวชศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/16070
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2009.299
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2009.299
Type: Thesis
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Rahsamee_Ba.pdf945.03 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.