Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/16668
Title: แนวทางในการนำมาตรการแก้ไขฟื้นฟูผู้กระทำความผิดในชุมชนมาใช้กับการกระทำความผิดโดยเด็กในประเทศไทย
Other Titles: The measures on community correction system application for juvenile delinquency in Thailand
Authors: กฤศ จิรภาสพงศา
Advisors: วีระพงษ์ บุญโญภาส
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์
Advisor's Email: Viraphong.B@Chula.ac.th
Subjects: ความผิดในคดีเด็กและเยาวชน
การแก้ไขผู้กระทำผิดแบบใช้ชุมชนเป็นฐาน
Issue Date: 2552
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: กระบวนการยุติธรรมสำหรับเด็กนั้นมีจุดมุ่งหมายในการแก้ไขฟื้นฟูเด็กที่กระทำผิดให้กลับตนเป็นพลเมืองดี และสามารถกลับคืนสู่สังคมได้อย่างปกติสุข มากกว่าที่จะมุ่งการลงโทษ ดังนั้น หากเด็กได้กระทำความผิดในคดีที่ไม่รุนแรง ได้กระทำความผิดเป็นครั้งแรก ได้กระทำความผิดโดยมีสาเหตุอันน่าเห็นใจ หรือกระทำความผิดไปด้วยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ เด็กเหล่านี้อาจยังสามารถแก้ไขฟื้นฟูให้เป็นกลับตัวเป็นพลเมืองดีในสังคมได้ การลงโทษด้วยการส่งเข้าสถานพินิจหรือสถานควบคุม อาจจะเกิดผลเสียที่กระทบทั้งตัวเด็กผู้กระทำผิดเองและสังคมมากกว่าผลดีที่จะได้รับ ในต่างประเทศ มาตรการแก้ไขฟื้นฟูผู้กระทำความผิดเป็นมาตรการหนึ่ง ซึ่งนำมาปรับใช้กับเด็กที่กระทำความผิดอย่างแพร่หลายและประสบผลสำเร็จที่น่าพอใจ ช่วยลดผลกระทบในทางลบรอยมลทินต่อตัวเด็ก และลดการกระทำความผิดซ้ำ จากการศึกษาพบว่า แนวทางในการนำมาตรการแก้ไขผู้กระทำความผิดมาใช้กับการกระทำความผิดโดยเด็กในประเทศไทย ในขั้นแรกสุด ควรส่งเสริมให้มีการบังคับใช้หรือประยุกต์ใช้กฎหมายที่มีอยู่แล้วในปัจจุบัน ให้มีประสิทธิภาพและจริงจังมากกว่าเดิม เพื่อนำเอามาตรการแก้ไขฟื้นฟูผู้กระทำผิดในชุมชนบางอย่าง เช่น การใช้ดุลยพินิจสั่งไม่ฟ้องของอัยการตามมาตรา 63 พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเด็กและเยาวชนและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2534 การให้รอการลงโทษโดยมีเงื่อนไขการคุมประพฤติแบบปกติ (Basic probation) การทำงานบริการสังคม (Community service) การฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดในระบบบังคับรักษา (Compulsory treatment) และการพักการลงโทษ (Parole) มาใช้กับการกระทำความผิดโดยเด็กไปพลางก่อน เนื่องจากสามารถกระทำได้ทันที ไม่ต้องใช้ระยะเวลาในการดำเนินการนานในการแก้ไขหรือร่างกฎหมายใหม่ และมีความเหมาะสมกับสภาพบริบทของสังคมไทย ส่วนในขั้นตอนต่อมา จึงค่อยพัฒนามาตรการแก้ไขฟื้นฟูผู้กระทำผิดในชุมชนรูปแบบอื่นๆ เช่น มาตรการกักขังในที่พักอาศัย (House arrest) การควบคุมด้วยเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ (Electronic monitoring) การคุมประพฤติแบบเข้มงวด (Intensive probation) การใช้ศูนย์เลี่ยงโทษจำคุก (Probation Diversion Center) การควบคุมในวันหยุดหรือควบคุมเป็นระยะๆ (Periodic detention) ศูนย์กักขังผู้ถูกคุมประพฤติ (Probation Detention Centre) การควบคุมประพฤติแบบฝึกค่ายทหาร (Boot camp program) ขึ้นมา ทั้งนี้เนื่องจากมาตรการเหล่านี้ถือว่าเป็นเรื่องใหม่สำหรับสังคมไทย และสภาพบริบทของสังคมไทยยังไม่พร้อมในการนำมาตรการเหล่านี้มาใช้ นอกจากนี้ยังไม่มีบทบัญญัติของกฎหมายที่รองรับหรือกำหนดรายละเอียดขั้นตอนต่างๆ ของมาตรการเหล่านี้อย่างชัดเจน ทำให้การดำเนินการอาจจะเกิดปัญหาในด้านต่างๆ
Other Abstract: The juvenile judicial process aims to restore a juvenile delinquent to be a decent citizen and return to live normally in the society rather than to punish him or her. Therefore, if children have committed misdemeanors or lesser offenses, found guilty for the first time, committed the offense out of a sympathetic cause or found benighted in the commission of the offense, these juvenile delinquents may be reversible to be good citizens of the society. Punishment of exclusion to observation institutes or detention facilities may result in negative effect against both the children who commit the crimes and the society rather than to be beneficial. In foreign countries, the offender’s rehabilitation measure is a measure that is widely applied to juvenile delinquents and satisfactorily successful, reducing the negative impact by moderating stigmatization against the children and minimizing risk of recidivism. The study found that approaches to introduce measures for rehabilitating offenders into the juvenile delinquents in Thailand, at the first step, should encourage enforcement or application of currently existing law in a more efficient and serious manner for provisionally introducing some rehabilitation and restoration measures, such as the Public Attorney’s discretion of not to prosecute under Section 63 of the Juvenile and Youth Court Establishment and Procedure for Juvenile and Family Case Act of 2534 B.E., Basic Probation, Community Service, Compulsory drug addicts Treatment and Parole to the juvenile delinquency because they can be implemented immediately with no need of time for a long process of amending an existing or drafting a new law and they are also suitable for the context of Thai society. At the next step, the approaches should gradually turn to development of other forms of rehabilitation and restoration measure for the delinquent in community, for example, House Arrest, Electronic Monitoring, Intensive Probation, Probation Diversion Center, Periodic Detention, Probation Detention Centre and Boot Camp Program. Thus, because these measures are considered new to Thai society and the context of Thai society is not ready to introduce these measures into use. In addition, there are no provisions of law that support or specify the details of processes of these measures expressly therefore the introduction may probably constitute problems in some aspects.
Description: วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552
Degree Name: นิติศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิติศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/16668
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2009.130
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2009.130
Type: Thesis
Appears in Collections:Law - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
krisa_ji.pdf2.44 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.