Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/16685
Title: | ผลของปฏิสัมพันธ์ทางการเรียนออนไลน์ในสถานการณ์จำลองที่มีต่อทักษะการสื่อสารระหว่างบุคคลของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 5 |
Other Titles: | Effects of online learning interactions in simulations upon interpersonal communication skills of eleventh grade students |
Authors: | ดวงธิดา รักษาแก้ว |
Advisors: | ใจทิพย์ ณ สงขลา |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ |
Advisor's Email: | Jaitip.N@Chula.ac.th |
Subjects: | การเรียนการสอนผ่านเว็บ สถานการณ์จำลอง (การสอน) การสื่อสารระหว่างบุคคล ทักษะชีวิต นักเรียนมัธยมศึกษา |
Issue Date: | 2552 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ผลของการเรียนด้วยกิจกรรมปฏิสัมพันธ์ทางการเรียน ออนไลน์ในสถานการณ์จำลอง ที่มีต่อทักษะการสื่อสารระหว่างบุคคลของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาปีที่ 5 2) ความคิดเห็นของผู้เรียนที่มีต่อการเรียนด้วยกิจกรรมปฏิสัมพันธ์ทางการเรียนออนไลน์ ในสถานการณ์จำลองของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาปีที่ 5 3) การสะท้อนการเรียนรู้ของผู้เรียนบนบล็อกที่เรียนด้วยกิจกรรมปฏิสัมพันธ์ทางการเรียนออนไลน์ ในสถานการณ์จำลองของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนท่าศาลาประสิทธิ์ศึกษาที่กำลังศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2552 จำนวน 70 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มทดลองใช้การจัดการเรียนรู้ด้วยกิจกรรมปฏิสัมพันธ์ทางการเรียนออนไลน์ในสถานการณ์จำลอง กลุ่มควบคุมใช้การจัดการเรียนรู้ตามโครงการก้าวอย่างเข้าใจขององค์การแพท (PATH) เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง คือ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ด้วยกิจกรรมปฏิสัมพันธ์ทางการเรียนออนไลน์ในสถานการณ์จำลอง 2) เว็บการเรียนโดยใช้ กิจกรรมปฏิสัมพันธ์ทางการเรียนออนไลน์ในสถานการณ์จำลอง 3) แบบวัดทักษะการสื่อสารระหว่างบุคคล 4) แบบสัมภาษณ์ความคิดเห็นของผู้เรียนที่มีต่อกิจกรรมปฏิสัมพันธ์ทางการเรียนออนไลน์ ในสถานการณ์จำลอง และ 5) แบบประเมินการสะท้อนการเรียนรู้ของผู้เรียนบนบล็อก วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วย การหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานด้วยสถิติทดสอบ t-test และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพจากเนื้อหาการสนทนาที่ได้จากการสัมภาษณ์ ผลการวิจัยพบว่า 1. นักเรียนที่เรียนด้วยปฏิสัมพันธ์ทางการเรียนออนไลน์ในสถานการณ์จำลอง มีทักษะการสื่อสารระหว่างบุคคลหลังเรียนสูงกว่านักเรียนที่ได้รับการสอนแบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 2. ผู้เรียนมีความคิดเห็นว่าการเรียนด้วยกิจกรรมปฏิสัมพันธ์ทางการเรียนออนไลน์ ในสถานการณ์จำลองช่วยให้ผู้เรียนได้รับความรู้ในวิธีการปฏิเสธที่เหมาะสม ส่งผลให้ผู้เรียนมีความมั่นใจในการปฏิเสธและกิจกรรมช่วยให้ผู้เรียนได้ลองผิดลองถูก มีอิสระในการเรียนและฝึกการสื่อสารและแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า 3. ผู้เรียนมีระดับการสะท้อนการเรียนรู้บนบล็อกในบล็อกในระดับสูงทุกประเด็นคือ 1) ผู้เรียนสามารถเชื่อมโยงความรู้เดิมของตนกับความรู้ใหม่ 2) ผู้เรียนสามารถประยุกต์ใช้สิ่งที่เรียนกับสถานการณ์อื่นได้อย่างเหมาะสม 3) ผู้เรียนสามารถสะท้อนการเรียนรู้และสามารถสื่อความหมายที่ต้องการได้อย่างชัดเจน และ 4) ผู้เรียนสามารถทบทวนความเข้าใจในสิ่งที่เรียนและสรุปความรู้ที่ได้เรียนมาอย่างชัดเจน |
Other Abstract: | To study 1. Effect of online learning interaction in simulation upon interpersonal communication skills of eleventh grade students 2. Students’ opinion on the online learning interaction activities in simulation learning 3. Student’s learning reflection blog. The samples were divided in two groups with 35 students in each group : an experimental group taught by the online learning interaction activities in simulation and a comparative group taught without online learning interaction activities in simulation. The research instrument were web-base instruction of online learning interaction in simulation, interpersonal communication skill test, study plan, interview form, assessment tool for learning reflection on blog . The data were analyzed by arithmetic mean, standard deviation and t-test. The result of the reach: 1. Student being taught by using the online learning interaction activities in simulation had higher scores in interpersonal communication skill than those of students being taught without online learning interaction activities in simulation at .05 level of significance 2. Student’s opinion were found that increasing suitable denying method affected on denying confidence in online learning interaction in simulation. Moreover learning activities increased independent, solving problem, trail and error, communication practice 3. Student showed the high lever for learning reflection in 3 issues 1) student can link prior knowledge with current knowledge. 2) student can apply in other situation. 3) student can reflect and communicate with others clearly. 4) students can review and summarize. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552 |
Degree Name: | ครุศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | โสตทัศนศึกษา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/16685 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2009.661 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2009.661 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Edu - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
duangtida_ru.pdf | 2.77 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.