Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/16806
Title: การพัฒนาพื้นที่รกร้างว่างเปล่าเพื่อประโยชนืด้านสิ่งแวดล้อมชุมชน : กรณีศึกษาย่านคลองตัน กรุงเทพมหานคร
Other Titles: The development of vacant land for community environment : a case study of Khlong Tan area Bangkok
Authors: รุจนัมพร เกษเกษมสุข
Advisors: อังสนา บุณโยภาส
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
Advisor's Email: angsana.b@chula.ac.th
Subjects: การพัฒนาชุมชนเมือง -- ไทย -- คลองตัน (กรุงเทพฯ)
ที่ดินปล่อยว่าง -- ไทย -- คลองตัน (กรุงเทพฯ)
การใช้ที่ดินในเมือง -- ไทย -- คลองตัน (กรุงเทพฯ)
Issue Date: 2552
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: หนึ่งในปัญหาที่มหานครหลายเมือง เช่น กรุงเทพมหานคร กำลังประสบอยู่ในปัจจุบันคือ การใช้พื้นที่เมืองชั้นในอย่างไม่มีประสิทธิภาพ หลายพื้นที่ถูกทิ้งร้าง เสื่อมโทรม นำไปสู่การเกิดปัญหาสิ่งแวดล้อมชุมชน และการใช้งานพื้นที่ที่ไม่เหมาะสมกับมูลค่าที่ดินและศักยภาพของทำเลที่ตั้ง เช่นเดียวกับพื้นที่ที่เป็นขอบของเมืองชั้นในอย่างย่านคลองตัน ซึ่งเป็นย่านที่พักอาศัยและเศรษฐกิจที่มีทำเลที่ตั้งที่ดีต่อเนื่องจากย่านทองหล่อและเอกมัย อยู่ระหว่างศูนย์ธุรกิจใจกลางเมือง ได้แก่ ย่านสุขุมวิท สีลม สาธร กับพื้นที่ชานเมืองฝั่งตะวันออกของกรุงเทพมหานครและสนามบินสุวรรณภูมิ ใกล้จุดขึ้นลงระบบขนส่งมวลชนสาธารณะรถไฟฟ้า BTS และแอร์พอร์ตลิงค์ แต่กลับพบว่ามีพื้นที่รกร้างว่างเปล่าทั้งขนาดเล็กและใหญ่ ทั้งที่เป็นที่ดินที่ถมแล้วรอการพัฒนา พื้นที่เกษตรกรรมที่ยังใช้งานและถูกทิ้งร้าง และพื้นที่รกร้างว่างเปล่าใต้ทางพิเศษฉลองรัช รวมเป็นพื้นที่กว่า 820 ไร่ พื้นที่ดังกล่าวบางส่วนทำหน้าที่เป็นพื้นที่สีเขียว ที่มีประโยชน์ทางด้านสิ่งแวดล้อมและเป็นที่พักผ่อนหย่อนใจของชุมชน แต่บางส่วนก็สร้างปัญหาให้ชุมชนโดยรอบคือ เป็นพื้นที่เสื่อมโทรม มีทัศนียภาพที่ไม่สวยงามและไม่ปลอดภัย จากการศึกษาพบว่า ชุมชนที่มีสิ่งแวดล้อมดีควรจะต้องมีลักษณะ 6 ประการด้วยกันคือ มีการวางแผนโครงสร้างพื้นฐานที่สอดคล้องกับการใช้ประโยชน์ที่ดิน มีโครงข่ายการสัญจรที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม มีความผสมผสานของที่อยู่ ที่ทำงาน สาธารณูปการ ที่พักผ่อนหย่อนใจ ที่หลากหลายและ มีความหนาแน่นที่เหมาะสม มีสมดุลย์ของพื้นที่สีเขียวกับพื้นที่พัฒนาลักษณะอื่นๆ รวมถึงมีการนำแนวความคิดการออกแบบอย่างยั่งยืน มาประยุกต์ใช้กับการออกแบบสถาปัตยกรรม องค์ประกอบทั้ง 6 นี้ถูกนำมาใช้ในการประเมินสภาพแวดล้อมชุนชนย่านคลองตัน และวิเคราะห์หาโปรแกรมในการออกแบบพื้นที่รกร้างที่อยู่ใกล้เคียง เพื่อให้สามารถสร้างประโยชน์ด้านสิ่งแวดล้อมแก่ชุมชนโดยรอบได้ ผลการสำรวจพบพื้นที่รกร้างขนาดใหญ่เรียงตัวไปตามแนวคลองพระโขนงและคลองตัน และพื้นที่ใต้ทางด่วน ส่วนพื้นที่ขนาดกลางและขนาดเล็กกระจายตัวอยู่ทั่วไปตามพื้นที่ชุมชน โดยมีข้อเสนอแนะในการพัฒนาพื้นที่รกร้างเหล่านี้คือ การปรับปรุงระบบการสัญจรที่ไม่มีประสิทธิภาพ ซึ่งทำได้โดยพัฒนาการเข้าถึง เชื่อมต่อโครงข่ายการสัญจรหลัก เสนอการสัญจรทางเลือก เช่น ทางเท้า ทางจักรยานและการสัญจรทางน้ำ เพื่อให้เกิดโครงข่ายการสัญจรที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม รวมทั้งการเปลี่ยนพื้นที่รกร้างว่างเปล่าเป็นพื้นที่สีเขียวเพื่อส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม รักษาระบบนิเวศ อนุรักษ์เกษตรกรรมชุมชน รองรับกิจกรรมของชุมชนโดยรอบ เพิ่มพื้นที่พักผ่อนหย่อนใจ และพื้นที่สาธารณูปการต่างๆ ที่ขาดแคลน เพื่อเสริมสร้างให้ชุมชนมีสภาพแวดล้อมที่ดีขึ้น นอกไปจากนี้ยังเป็นการเปิดโอกาส ในการสร้างศักยภาพการใช้ประโยชน์ที่ดินให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นเช่น การพัฒนาพื้นที่รกร้างให้เป็นพื้นที่พาณิชยกรรม และพื้นที่พักอาศัย เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของชุมชนที่จะเกิดขึ้นในอนาคตอีกด้วย
Other Abstract: The scatter of undeveloped lands within inner part of the metropolitan is one of the urban problems of any megacities including Bangkok. These vacant lands created environmental problems to the adjacent communities and inappropriate land use compared to their value and location’s potential. Khlong Tan District, a mixed-use between residential and commercial areas, is located at the periphery of the inner city next to Thonglor and Ekamai District. It is situated between central business areas of Sukhumvit, Sathorn, and Silom, and major city’s infrastructure such as Airport Link and Bangkok Mass Transit System (BTS). In contrast with its growth potential, Khlong tan has areas more than 820 rais still undeveloped. This area covered vacant lands, abandoned agriculture plots, and areas under Chalong Rat Expressway (Ramindra-At Narong). Although some of these lands become green areas for the surrounding communities, creating positive environment and recreation opportunity, but most of them are neglected and caused unhealthy, unsafe and unpleasant view to the local communities. The study finds that positive urban environment for any community should have 6 characteristics which are proper land use and infrastructure planning; eco-friendly transportation network; mixed land use between residential, business, and recreation areas; appropriated density, adequate amount of green areas, and applied sustainable concept for any architectural design. These six characters are used to evaluate the urban environment of communities within Khlong Tan area and figure out urban design programs to develop the nearby vacant lands for better communities’ conditions. The result from site survey indicates that the large lots of vacant lands are situated along Khlong Prakanong, Khlong Tan, and under the expressway, while the smaller plots spread around the communities. The recommendations to develop these vacant lands in this study are: to improve inefficient circulation system within the areas by providing better access, connecting main circulations network, proposing environmental friendly circulations such as walk ways, bike ways and boat ways as alternatives; and to develop green areas to improve communities’ environment, preserve ecology, protect agricultural lands, serve communities’ activities, increase area for recreation, and necessary infrastructure. These recommendations will also provide new opportunity for commercial and housing development which can support communities’ needs in the future.
Description: วิทยานิพนธ์ (สถ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552
Degree Name: สถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การออกแบบชุมชนเมือง
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/16806
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2009.876
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2009.876
Type: Thesis
Appears in Collections:Arch - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Rujnumporn_Ke.pdf11.87 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.