Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/17384
Title: การศึกษาเจตคติของครูวิทยาศาสตร์และครูสาขาอื่น ที่มีต่อการใช้มาตรการทางสังคมในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมตามธรรมชาติ
Other Titles: A study of attitudes of science and non-science teachers towards the use of social measures in natural environmental conservation
Authors: นวลศรี รัตนสุวรรณ
Advisors: จันทร์เพ็ญ เชื้อพานิช
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: Chanpen.C@Chula.ac.th
Subjects: การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ
มนุษย์กับสิ่งแวดล้อม
ทัศนคติ
Issue Date: 2529
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาเจตคติของครูวิทยาศาสตร์ และครูสาขาอื่นที่มีต่อการใช้มาตรการทางสังคมในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมตามธรรมชาติ 2. เปรียบเทียบเจตคติของครูวิทยาศาสตร์ และครูสาขาอื่นที่มีต่อการใช้มาตรการทางสังคมในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมตามธรรมชาติ ตัวอย่างประชากร คือครูวิทยาศาสตร์จำนวน 130 คน และครูสาขาอื่นจำนวน 276 คน ซึ่งได้จากการสุ่มแบบแบ่งขั้นตามสัดส่วนจากโรงเรียนมัธยมศึกษาในเขตการศึกษา 5 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบวัดเจตคติต่อการใช้มาตรการทางสังคมในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมตามธรรมชาติ ซึ่งผู้วิจัยสร้างขึ้นเอง มีค่าความเที่ยง 0.9468 วิเคราะห์ข้อมูลโดยคำนวณค่ามัชฌิมเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและค่าที (t-test) ผลการวิจัยปรากฏว่า 1. ครูวิทยาศาสตร์ และครูสาขาอื่นมีเจตคติเชิงนิมานต่อการใช้มาตรการทางสังคมในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมตามธรรมชาติ 2. เจตคติของครูวิทยาศาสตร์ และครูสาขาอื่นที่มีต่อการใช้มาตรการทางสังคมในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมตามธรรมชาติ ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. เจตคติของครูวิทยาศาสตร์ และครูสาขาอื่นที่มีต่อการใช้มาตรการทางสังคมในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมตามธรรมชาติ ในด้านการทำให้เกิดความร่วมมือในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4. เจตคติของครูวิทยาศาสตร์ และครูสาขาอื่นที่มีต่อการใช้มาตรการทางสังคมในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมตามธรรมชาติ ในด้านการให้ความรู้เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมแก่ประชาชน ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 5. เจตคติของครูวิทยาศาสตร์ และครูสาขาอื่นที่มีต่อการใช้มาตรการทางสังคมในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมตามธรรมชาติ ในด้านการควบคุมปริมาณประชากรไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 6. เจตคติของครูวิทยาศาสตร์ และครูสาขาอื่นที่มีต่อการใช้มาตรการทางสังคมในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมตามธรรมชาติ ในด้านการปรับปรุงคุณภาพของประชากรไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 7. เจตคติของครูวิทยาศาสตร์ และครูสาขาอื่นที่มีต่อการใช้มาตรการทางสังคมในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมตามธรรมชาติ ในด้านการทำให้กฎหมายเกี่ยวกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมมีประสิทธิภาพแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Other Abstract: The purposes of this research were as follows: 1. To study the attitudes of science and non-science teachers towards the use of social measures in natural environmental conservation. 2. To compare the attitudes of science and non-science teachers towards the use of social measures in natural environmental conservation. The subjects were 130 science teachers and 276 non-science teachers who were proportional stratified random sampled from secondary schools in the educational region five. The instrument for data collecting was The Attitudes Towards the Use of Social Measures in Natural Environmental Conservation Test constructed by the researcher herself. The reliability of the instrument was 0.9468. The obtained data were analyzed by means of arithmetic mean, standard deviation and t-test. The research findings were as follows: 1. Science and non-science teachers had positive attitudes towards the use of social measures in natural environmental conservation. 2. The attitudes of science and non-science teachers towards the use of social measures in natural environmental conservation were not different at the .05 level of significance. 3. The attitudes of science and non-science teachers towards the use of social measures in natural environmental conservation in the aspect of enhancing for cooperation environmental conservation were different at the .05 level of significance. 4. The attitudes of science and non-science teachers towards the use of social measures in natural environmental conservation in the aspect of giving knowledge of environmental conservation to the people were not different at the .05 level of significance. 5. The attitudes of science and non-science teachers towards the use of social measures in natural environmental conservation in the aspect of controlling the population quantity were not different at the .05 level of significance. 6. The attitudes of science and non-science teachers towards the use of social measures in natural environmental conservation in the aspect of improving the population quality were not different at the .05 level of significance. 7. The attitudes of science and non-science teachers towards the use of social measures in natural environmental conservation in the aspect of enforcing the environmental conservation law were different at the .05 level of significance.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2529
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: มัธยมศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/17384
ISBN: 9745665207
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Nuansri_Ra_front.pdf335.02 kBAdobe PDFView/Open
Nuansri_Ra_ch1.pdf347.74 kBAdobe PDFView/Open
Nuansri_Ra_ch2.pdf575.64 kBAdobe PDFView/Open
Nuansri_Ra_ch3.pdf315.71 kBAdobe PDFView/Open
Nuansri_Ra_ch4.pdf493.01 kBAdobe PDFView/Open
Nuansri_Ra_ch5.pdf339.16 kBAdobe PDFView/Open
Nuansri_Ra_back.pdf514.55 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.