Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/17415
Title: | การวิเคราะห์งานส่งเสริมการผลิตตำราในมหาวิทยาลัย |
Other Titles: | An analysis of textbook promotion projects in the universities |
Authors: | พวงปราง เพ็ญศรี |
Advisors: | สุกัญญา โฆวิไลกูล |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Advisor's Email: | Sukanya.K@Chula.ac.th |
Subjects: | ตำราเรียน สถาบันอุดมศึกษา |
Issue Date: | 2528 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์งานส่งเสริมการผลิตตำราภาษาไทยในระดับอุดมศึกษาของสถาบันศึกษา 4 แห่ง คือ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง และมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช 2) ศึกษาเปรียบเทียบงานส่งเสริมการผลิตตำราภาษาไทยในระดับอุดมศึกษาระหว่างมหาวิทยาลัยปิดกับมหาวิทยาลัยเปิด 3) ศึกษาปัญหาและอุปสรรคในการสร้างตำราภาษาไทยในระดับอุดมศึกษา 4) เสนอเกณฑ์มาตรฐานการผลิตตำราภาษาไทยในระดับอุดมศึกษา ตัวอย่างประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งที่ แบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ ผู้ให้การสัมภาษณ์และผู้ตอบแบบสอบถามของมหาวิทยาลัย 4 แห่ง คือ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ผู้ให้การสัมภาษณ์ได้แก่ผู้บริหารและบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับโครงการส่งเสริมการผลิตตำราของมหาวิทยาลัยจำนวน 12 คน ผู้ตอบแบบสอบถาม ได้แก่ อาจารย์ที่ปฏิบัติงานอยู่ในมหาวิทยาลัยทั้ง 4 แห่ง โดยการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย ได้ตัวอย่างประชากรทั้งสิ้น 575 คน ได้รับแบบสอบถามคืนจำนวน 334 ชุด คิดเป็นร้อยละ 58.09 เครื่องมือและวิธีการรวบรวมข้อมูลในการวิจัยครั้งนี้มี 3 แบบ คือ การศึกษาจากเอกสาร การสัมภาษณ์ และแบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูล ในการศึกษาจากเอกสารและการสัมภาษณ์ได้ใช้วิธีวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) ส่วนข้อมูลจากแบบสอบถามใช้วิธีหาค่าร้อยละ จากการศึกษาพบว่าโครงการส่งเสริมการผลิตตำราภาษาไทยของมหาวิทยาลัยต่างๆ ยังมีปัญหาและอุปสรรคอยู่อีกหลายประการ เช่น โครงสร้างการบริหารงาน การให้ค่าตอบแทนงบประมาณ ลิขสิทธิ์ ตลอดจนความเที่ยงธรรมในการพิจารณาคัดเลือกเพื่อจัดพิมพ์ ทั้งนี้เนื่องจากแต่ละมหาวิทยาลัยต่างก็พยายามหารูปแบบของโครงสร้างของโครงการส่งเสริมการผลิตตำราฯ ที่คิดว่าเหมาะสมกับกิจการของตนเอง แต่เนื่องจากโครงการฯ นี้ค่อนข้างใหม่สำหรับมหาวิทยาลัยทั่วไป เพราะฉะนั้นด้วยความไม่พร้อมและไม่มีประสบการณ์มาก่อนทำให้มีปัญหาต่าง ๆ ในแง่ของหลักการและการปฏิบัติ ในการวิจัยครั้งนี้ได้เสนอแนะรูปแบบของโครงการส่งเสริมการผลิตตำราภาษาไทยของมหาวิทยาลัยขึ้นเป็นรูปแบบใหม่โดยมุ่งเน้นที่ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันในการบริหารงานของหน่วยงานต่างๆ ที่มีหน้าที่รับผิดชอบในการผลิตตำราให้มหาวิทยาลัยสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินการเพื่อลดราคาขายของตำราลง ทั้งนี่โดยเป็นหน่วยงานที่มีวัตถุประสงค์ไม่ค้ากำไรแต่ให้เลี้ยงตัวได้ที่กำไรขั้นต่ำสุด และให้จ่ายค่าตอบแทนในการเขียนในลักษณะของการจ่ายเป็นรายครั้งที่พิมพ์ตามระยะเวลาที่กำหนด และยังได้เน้นถึงความมีอิสระในการบริหารงานโดยได้เสนอให้หน่วยงานเหล่านี้ไม่อยู่ในระบบราชการเพื่อให้การดำเนินงานคล่องตัวมากยิ่งขึ้น โดยให้หน่วยงานนี้มีชื่อเป็นกลางว่า “สำนักพิมพ์” อันประกอบด้วยหน่วยงาน 3 หน่วยงาน คือ ฝ่ายวิชาการ โรงพิมพ์และศูนย์หนังสือ ซึ่งจะทำให้การดำเนินการผลิตตำราครบวงจร และมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น |
Other Abstract: | The purpose of this research was to analyse the Textbook Promotion Projects of four Universities : Chulalongkorn University, Thammasat University, Ramkhamhaeng University and Sukhothai Thammathirat Open University, the administrative elements of the projects were compared and analysed. The new model was proposed. Sample for this study were selected from four Universities : Chulalongkorn University, Thammasat University, Ramkhamhaeng University and Sukhothai Thammathirat Open University. They were divided into two groups : 1. Those who were interviewed, were twelve administrators and personnels of Textbook Promotion Projects in the four studied universities. 2. Those who were asked to answer questionnaires were instructors in four studied universities, selected by simple random sampling method. Five hundred and seventy-five questionnaires were distributed but only 58.09 percent (or 334) were completed and returned. The method of study based on the analysis of data gathered from three sources : documents, interviews and questionnaires. Documents and interviews were analyzed by using the method of content analysis, data from questionnaires were analyzed by means of percentages. Researcher had found that Textbook Promotion Projects of the four studied university from still had some problems that should be reviewed. The problems were organization structure, chain of command, budgeting, selecting of text contents, royalty and fairness in selecting books to be published. In order to solve these problems, the new model of Textbook Promotion Projects had been proposed. In the proposed model, the Publishing Office will compose of three department : academic affaire department, printing department and bookstore. These three departments must be under the administration of the Director of the Publishing Office and the Director will be under the rector or designated vice-rector. The budget should be supported by the university in order to make this office being a non-profit organization but self-supporting at a minimum profit margin. The royalty should be paid to the writer at each printing during the period of contract with the office of publishing. To avoid the red-tape, the proposed organization should not be in the bureaucracy system. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2528 |
Degree Name: | ครุศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | อุดมศึกษา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/17415 |
ISBN: | 9745644641 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Paungprang_Pe_front.pdf | 291.16 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Paungprang_Pe_ch1.pdf | 248.99 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Paungprang_Pe_ch2.pdf | 728.95 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Paungprang_Pe_ch3.pdf | 237.16 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Paungprang_Pe_ch4.pdf | 714.93 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Paungprang_Pe_ch5.pdf | 517.74 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Paungprang_Pe_back.pdf | 326.58 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.