Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/17601
Title: ปัญหาการจัดการเรียนการสอนภาษาไทยตามหลักสูตรปริญญาตรี ของสภาการฝึกหัดครู
Other Titles: Problems in organizing Thai language instruction based upon the teacher training council's undergraduate curriculum
Authors: พัฒนา ธิติเสรี
Advisors: สุจริต เพียรชอบ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
Subjects: ภาษาไทย -- การศึกษาและการสอน
Issue Date: 2522
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วัตถุประสงค์ของการวิจัย การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายที่จะศึกษาปัญหาการจัดการเรียนการสอนภาษาไทยตามหลักสูตรปริญญาตรีของสภาการฝึกหัดครู เพื่อปรับปรุงการเรียนการสอนภาษาไทยในสถาบันฝึกหัดครูให้มีคุณภาพดียิ่งขึ้น วิธีดำเนินการ ผู้วิจัยได้สร้างแบบสอบถาม 3 ชุด สำหรับผู้บริหาร, อาจารย์ และนักศึกษา เป็นคำถาม 3 แบบคือ แบบเลือกตอบ แบบมาตราส่วนประเมินค่า และแบบให้ตอบโดยเสรี แล้วส่งแบบสอบถามไปยังผู้บริหาร 30 คน อาจารย์ 50 คน นักศึกษา 151 คน ในวิทยาลัยครูที่เปิดสอนภาษาไทยระดับปริญญาตรีมาแล้วอย่างน้อย 2 ปี ในปีการศึกษา 2521 ผู้วิจัยได้วิเคราะห์ข้อมูลโดย คำนวณหาค่าร้อยละ ค่ามัชฌิมเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบภาวะความแปรปรวนของตัวอย่าง และทดสอบค่าที ผลการวิจัย 1. จำนวนหน่วยกิตของกลุ่มวิชาต่างๆมีปริมาณพอดี ยกเว้นกลุ่มวิชาเอกที่น้อยไป ควรจะเพิ่มเป็น 24 หน่วยกิต สัดส่วนของวิชาหลักภาษาและภาษาศาสตร์ต่อการใช้ภาษา ต่อวรรณคดีไม่เหมาะสม เพราะเน้นหนักทางวรรณคดี แต่ได้เรียนหลักภาษาและภาษาศาสตร์น้อย นอกจากนี้นักศึกษายังไม่มีโอกาสเลือกเรียนวิชาเลือกได้อย่างเสรี 2. วิชาที่มีเนื้อหาซ้ำซ้อนกันคือวิชาการศึกษาแบบเรียนภาษาไทย กับวิชาการพัฒนาแบบเรียนภาษาไทย และวิชาภาษาบาลีและสันสกฤตในภาษาไทย กับวิชาภาษาต่างประเทศในภาษาไทย 3. กิจกรรมการเรียนการสอนที่ใช้มากที่สุดคือการบรรยายและวิธีการวัดและประเมินผลที่ใช้บ่อยที่สุดคือการให้ค้นคว้าทำรายงาน 4. สื่อการสอนที่ใช้มากที่สุดคือเทปบันทึกเสียง รูปภาพ หุ่นจำลอง ของจริง 5. ปัญหาที่อาจารย์ประสบอยู่คือไม่สามารถสอนได้คลุมเนื้อหาทั้งหมด การขาดงบประมาณเป็นปัญหาที่สำคัญในการปรับปรุงการเรียนการสอน ปัญหาการเรียนการสอนที่เกิดจากอาจารย์ คืออาจารย์ขาดความกระตือรือร้น และปัญหาที่เกิดจากนักศึกษาคือ นักศึกษาเคยชินกับการสอนแบบบรรยาย 6. ปัญหาที่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 คือ การเปิดสอนวิชาเลือก, การไม่มีหลักสูตรให้ศึกษาอย่างเพียงพอ เนื้อหาล้าสมัยและไม่น่าสนใจ ความร่วมมือของนักศึกษาในการจัดกิจกรรม การมอบหมายงานให้นักศึกษาทำ ความสามารถในการจูงใจผู้เรียน ความสามารถในการอธิบาย การเป็นตัวอย่างในการใช้สื่อการสอนให้กับนักศึกษา ความสม่ำเสมอในการวัดผล ระเบียบการวัดผลที่ปฏิบัติอยู่ และจำนวนอาจารย์ที่พอดีกับรายวิชาในหลักสูตร
Other Abstract: Purpose: The purpose of this study was to find out the problems of organizing Thai Language instruction based upon the Teacher Training Council’ s Undergraduate Curriculum in order to improve Thai Language instruction in Teaching Training institutions. Procedures: The researcher constructed three sets of questionnaires for 30 administrators, 50 instructors, and 151 students from 10 teachers colleges in which Thai major area have been offered at the undergraduate level for at least 2 years in the academic year 1978. The questionnaires were consisted of multiple choices, rating scale and open end. The obtained data were analyzed by means of percentage, means, standard deviation, F-test and t-test. Findings: 1. The number of credits offered in each area was appropriate except the Thai major area which should be added up to 24 credits. The proportion of credits among grammar and linguistics, language usage and literature were not well distributed because it emphasized too much on literature. The students had less opportunity to study grammar and linguistics. Moreover, the students had no free choice in elective courses. 2. The course content which overlapped each other were A Study of Thai Textbook and Thai Textbook Development, Bali Sanskrit in Thai and Foreign Languages in Thai. 3. Lecture method was most frequently used and report writing was a popular means of evaluation. 4. Teaching aids which were often used were tape recorders, pictures, models and real objects. 5. Problems confronted the instructors were that the subject matter was not completely covered. Lack of budget was the most important barrier in improving Thai language instruction. Moreover the instructors were not energetic. Students’ major problem was that they got used to lecture method. 6. Problems which were significantly different at the level of .05 were elective courses and curriculum available, out-of-date and boring content, student’s cooperation, giving students assignments, ability to motivate students, ability to explain, ability to be a good teaching model in using teaching aids, consistency in evaluation, evaluation technique in practice and number of instructors available.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2522
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: มัธยมศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/17601
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Patana_Th_front.pdf408.08 kBAdobe PDFView/Open
Patana_Th_ch1.pdf528.34 kBAdobe PDFView/Open
Patana_Th_ch2.pdf644.61 kBAdobe PDFView/Open
Patana_Th_ch3.pdf347.24 kBAdobe PDFView/Open
Patana_Th_ch4.pdf1.42 MBAdobe PDFView/Open
Patana_Th_ch5.pdf526.07 kBAdobe PDFView/Open
Patana_Th_back.pdf741.94 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.