Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/17645
Title: การนำเสนอโปรแกรมการจัดกิจกรรมการสอนทักษะการพูด ในการเรียนการสอนวิชาภาษาไทย ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย
Other Titles: A proposed program on speaking skill activities in Thai language instruction at the upper secondary education level
Authors: ลมโชย เจริญวงศ์
Advisors: สายใจ อินทรัมพรรย์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
Subjects: ภาษาไทย -- การศึกษาและการสอน (มัธยมศึกษา)
การพูด
กิจกรรมเสริมหลักสูตร
Issue Date: 2528
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วัตถุประสงค์ของการวิจัย การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาและวิเคราะห์การจัดกิจกรรมการสอนทักษะการพูด ในการเรียนการสอน วิชาภาษาไทย ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ด้านความมุ่งหมาย วิธีการจัดกิจกรรมและการเข้าร่วม กิจกรรมของนักเรียน ประเภทของกิจกรรม ประโยชน์และความต้องการที่มีต่อกิจกรรมแต่ระประเภทการประเมินผล ปัญหาหรืออุปสรรคในการจัดกิจกรรมการสอนทักษะการพูด 2. สร้างและเสนอโปรแกรมการจัดกิจกรรมการสอนทักษะการพูด ในการเรียนการสอนวิชาภาษาไทยระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย วิธีดำเนินการวิจัย ผู้วิจัยสร้างแบบสอบถาม 1 ชุด สำหรับตัวอย่างประชากรที่เป็นครูภาษาไทย 112 คน และนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย 352 คน ในเขตการศึกษา 10 ซึ่งกลุ่มตัวอย่างประชากรได้มาจากการสุ่มอย่างง่าย จากนั้นผู้วิจัยนำข้อมูลมาหาค่าร้อยละ ค่ามัชฌิมเลขคณิตและค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เสนอในรูปตารางประกอบความเรียง แล้วนำผลที่วิเคราะห์ได้มาสร้างโปรแกรม นำโปรแกรมที่สร้างขึ้นไปให้ผู้ทรงคุณวุฒิ 5 ท่านพิจารณา จากนั้นนำโปรแกรมมาปรับปรุงแล้วแก้ไขให้สมบูรณ์ เพื่อนำเสนอเป็นแนวทางในการจัดกิจกรรมการสอนทักษะการพูดในการเรียนการสอนวิชาภาษาไทย ระดับมัธยมศึกษาตอนปลายต่อไป ผลการวิจัย ผลการวิจัยพบว่า 1. การจัดกิจกรรมการสอนทักษะการพูด 1.1 ด้านความมุ่งหมาย วิธีการจัดและการเข้าร่วมกิจกรรม ในด้านความมุ่งหมายในการจัดกิจกรรมการสอนทักษะการพูดนั้น ทั้งครูและนักเรียนต่างมีความเห็นว่ามีการกำหนดจุดมุ่งหมายโดยผู้กำหนดจุดมุ่งหมายคืออาจารย์ผู้สอนวิชาภาษาไทยส่วนผู้ริเริ่มในการจัดกิจกรรมนั้น ครูส่วนใหญ่มีความเห็นว่า อาจารย์ผู้สอนทักษะการพูดเป็นผู้ริเริ่มในการจัดกิจกรรม ส่วนนักเรียนเห็นว่าผู้ริเริ่มคือผู้บริหารและอาจารย์ผู้สอนวิชาภาษาไทย การกำหนดจุดมุ่งหมายในการจัดกิจกรรมการสอนทักษะการพูดนั้น ทั้งครูและนักเรียนต่างมีความเห็นว่ามุ่งให้นักเรียนนำไปใช้ในชีวิตประจำวันเป็นประการสำคัญ ในการจัดกิจกรรมแต่ละครั้ง ครูส่วนใหญ่มีความคิดเห็นว่า ได้รับทราบจุดประสงค์ในการดำเนินการและวิธีการจัดกิจกรรมทุกครั้ง ส่วนนักเรียนมีความเห็นว่า ได้รับทราบเป็นบางครั้งในการจัดเตรียมดำเนินงานกิจกรรมการฝึกทักษะการพูดนั้น ครูส่วนใหญ่มีความเห็นว่ามีการวางแผนและกำหนดโครงการก่อนที่จะมีกิจกรรมเป็นคราวๆ ไป ส่วนนักเรียนส่วนใหญ่เห็นว่าในการจัดเตรียมดำเนินการจัดกิจกรรมนั้น มีการประชุมนักเรียนชี้แจงวัตถุประสงค์การดำเนินงานและขอความร่วมมือจากนักเรียน ส่วนการดำเนินการจัดกิจกรรมนั้น ทั้งครูและนักเรียนต่างมีความเห็นสอดคล้องกันว่า ครูและนักเรียนร่วมกันวางแผนและจัดกิจกรรม ส่วนเวลาที่เหมาะสมในการจัดกิจกรรมนั้น ทั้งครูและนักเรียนต่างมีความเห็นสอดคล้องกันว่า ควรจัดในเวลาเรียน (วันที่มีการสอนตามปกติ) ส่วนสถานที่ในการจัดกิจกรรมนั้น ทั้งครูและนักเรียนต่างมีความเห็นสอดคล้องกันว่ากว้างขวาง เหมาะสมในการจัดกิจกรรม ส่วนการฝึกทักษะการพูด ทั้งครูและนักเรียนต่างมีความเห็นว่ามีการฝึกการพูดให้นักเรียนเดือนละครั้ง ส่วนวิธีการที่ครูใช้ในการสอนทักษะการพูดนั้น ครูส่วนใหญ่มีความเห็นว่า ครูใช้วิธีกำหนดหัวข้อให้นักเรียนพูดตามใจ ส่วนความเห็นของนักเรียนเกี่ยวกับวิธีการที่ครูใช้ในการสอนทักษะการพูดคือ การเสนอปัญหาให้นักเรียนโต้วาทีตามกฎเกณฑ์หรืออภิปราย แหล่งศึกษาเพิ่มเติมในการสอนทักษะการพูดของครูคือ หนังสือ เอกสาร วารสารต่างๆ ส่วนแหล่งศึกษาเพิ่มเติมของนักเรียนคือ วิทยุและโทรทัศน์ ในด้านสื่อการสอนที่ใช้ในการเรียนการสอนทักษะการพูดนั้น ทั้งครูและนักเรียนต่างมีความเห็นสอดคล้องกันว่า มีพร้อมทุกอย่างและสะดวกในการใช้ ส่วนการเข้าร่วมกิจกรรมของนักเรียนนั้น ครูส่วนใหญ่มีความเห็นว่า นักเรียนเข้าร่วมกิจกรรมที่คะแนนและมีการวัดผลเป็นส่วนใหญ่ส่วนนักเรียนมีความเห็นว่า นักเรียนเข้าร่วมกิจกรรมบันเทิงเป็นส่วนใหญ่ อย่างไรก็ตามทั้งครูและนักเรียนต่างมีความเห็นสอดคล้องกันว่า นักเรียนกระตือรือร้นในการเข้าร่วมกิจกรรมเป็นอย่างดี 1.2 ประโยชน์และความต้องการที่มีต่อกิจกรรมแต่ละประเภท ในด้านประโยชน์และความต้องการที่มีต่อกิจกรรมและละประเภทนั้น ทั้งครูและนักเรียนมีความเห็นว่า กิจกรรมแต่ละประเภทมีประโยชน์อยู่ในระดับมาก ประโยชน์ของกิจกรรมการเรียนการสอนทักษะการพูดตามความเห็นของครูคือ กิจกรรมการเรียนการสอนทักษะการพูดทำให้นักเรียนมีโอกาสแสดงความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ส่วนนักเรียนมีความเห็นว่า กิจกรรมการเรียนทักษะการพูดทำให้ได้รับประสบการณ์กว้างขวางขึ้น ส่วนความต้องการของครูและนักเรียนส่วนใหญ่ที่มีต่อกิจกรรมแต่ละประเภทอยู่ในระดับปานกลาง 1.3 การประเมินผล ในด้านการประเมินผล ทั้งครูและนักเรียนมีความเห็นสอดคล้องกันว่า การจัดกิจกรรมการฝึกทักษะการพูดนั้น มีการประเมินผลเป็นบางครั้ง วิธีการส่วนใหญ่ที่ครูใช้ในการประเมินผลคือ การสังเกตการเข้าร่วมกิจกรรมของนักเรียน ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนทักษะการพูดนั้น ทั้งครูและนักเรียนต่างมีความเห็นสอดคล้องกันว่ายังต้องมีการปรับปรุง 1.4 ปัญหาหรืออุปสรรคปัญหาหรืออุปสรรคที่สำคัญในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนทักษะการพูดคือ การขาดการประสานงานที่ดีระหว่างผู้ที่เกี่ยวข้อง เช่นครู นักเรียน หรือเจ้าหน้าที่ฝ่ายโสตทัศนศึกษา เป็นต้น 2. การนำเสนอโปรแกรมจากผลการวิจัย ผู้วิจัยได้เสนอโปรแกรมการจัดกิจกรรมการสอนทักษะการพูดขึ้นประกอบด้วยหลักการและเหตุผล วัตถุประสงค์ วิธีดำเนินการ ระยะเวลาในการดำเนินการสถานที่ งบประมาณ กิจกรรมการพูดที่อาจจัดทำได้ การประเมินผล ผลที่คาดว่าจะได้รับและตัวอย่างการจัดกิจกรรม โปรแกรมนี้ผ่านการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 ท่าน แล้วนำมาปรับปรุงแก้ไขให้สมบูรณ์ นำเสนอเป็นแนวทางในการจัดกิจกรรมการสอนทักษะการพูดในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายต่อไป
Other Abstract: Purposes The purposes of this study were : 1. To study and analyze the organization of speaking skill activities in Thai language instruction at the upper secondary education level with regard to: objectives, procedures, students' participation, types of available activities, usefulness and needs for each activity, evaluation techniques and confronted problems. 2. To propose a program for the organization of speaking skill activities in Thai language instruction at the upper secondary education level. Procedure One set of questionnaires constructed by the researcher was sent to 112 Thai language teachers and 352 upper secondary school students in Educational Region 10 which were selected by means of simple random sampling method. The obtained data were analyzed by means of percentage, arithmetic mean and standard deviation then presented in tables and description. The researcher then constructed a program based on such findings. Five experts were asked to consider the program and it was then corrected and proposed to be used for the speaking skill activities in Thai language instruction at the upper secondary education level. Findings The findings were : 1. The organization of speaking skill activities 1.1 Concerning the objectives, procedures and students' participation, both teachers and students agreed that the objectives of speaking skill activities were set up by Thai language teachers. However, the teachers indicated that the one who initiated the speaking activities were the teachers who taught speaking language skill, whereas the students indicated that the one who initiated the activities were the administrators and Thai language teachers. The main purpose of organization for speaking skill activities aimed to be benificial for students' daily life. In organizing each activity, most of the teachers agreed that they knew its objectives and its plans in advance but the students indicated that they knew only some of them. Concerning the planning of speaking skill activities, teachers indicated that planning and projects had been periodically set up, most students indicated that they were told about the objectives, procedures and asked for cooperation. Both teachers and students agreed that teachers and students worked together in planning and in organizing the activities. Both teachers and students agreed that the appropriate time for organizing the activities was during the school day. The place for organizing the activities were wide and suitable. Both teachers and students agreed that the speaking skill activities were practised once a month. Concerning the method of teaching, most teachers agreed that they usually assigned various topics for students to select to practise their oral language skill; however, the students indicated that must teachers preferred to assign students topics for debate and discussion. Concerning the additional sources for speaking skill instruction, the teachers indicated that books, documents and periodicals were the main sources for teachers in preparing students' speaking skill activities. The students indicated that radio and television were their additional sources. Concerning teaching or audio-visual materials, both teachers and students agreed that they had adequates facilities. Concerning the students' participation, most teachers agreed that students participated in the activities that resulted in term of evaluation or grades, but students indicated that they participated in most entertaining activities. However, both teachers and students agreed that students enthusiastically participated in speaking skill activities. 1.2 The utilization and needs for each activity. The utilization and needs for each activity, both teachers and students indicated that the utilization of each activity was at the high level. While the teachers indicated that speaking skill activities provided students with adequate opportunity to initiate students' creative thinking, the students indicated that those activities provided them with worthwhile experiences. Both teachers' and students' needs for those activities at the moderate level. 1.3 The evaluation techniques. Both teachers and students agreed that only some activities were evaluated. The technique that most teachers used was the observation of students' participation. Both teachers and students indicated that the organization of speaking skill activities still needed to be improved. 1.4 The confronted problem. The main problem in organizing activities of speaking skill was the lack of good cooperation among the personnel concerned : such as teachers, students and education visual aid teachers. 2. Proposed program. The researcher constructed a program based on the above findings. The proposed program consisted of rationale, objective, procedure, duration of time, place, budget, topics of speaking skill activities, evaluation, expected outcomes and examples of proposed activities. Five experts were asked to consider the program, and it was then corrected and proposed to be used for the organization of speaking skill activities at the upper secondary education level.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2528
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: มัธยมศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/17645
ISBN: 9745643998
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Lomchoy_Ja_front.pdf416.15 kBAdobe PDFView/Open
Lomchoy_Ja_ch1.pdf316.34 kBAdobe PDFView/Open
Lomchoy_Ja_ch2.pdf489.29 kBAdobe PDFView/Open
Lomchoy_Ja_ch3.pdf272.55 kBAdobe PDFView/Open
Lomchoy_Ja_ch4.pdf712.18 kBAdobe PDFView/Open
Lomchoy_Ja_ch5.pdf357.14 kBAdobe PDFView/Open
Lomchoy_Ja_ch6.pdf385.49 kBAdobe PDFView/Open
Lomchoy_Ja_back.pdf1.2 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.