Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/17727
Title: การศึกษาการบริหารงานบุคคลของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
Other Titles: A study on personnel administration of Tourism Authority of Thailand
Authors: ศิระ น้ามังคละกุล
Advisors: วนิดา สถิตานนท์
พรหมพิไล คุณาพันธุ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล
Subjects: การบริหารงานบุคคล
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
Issue Date: 2528
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยเป็นแหล่งที่มาของเงินตราต่างประเทศที่สำคัญยิ่ง เป็นปัจจัยมีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ และเป็นกลไกอันสำคัญของรัฐในตลาดลดดุลย์การค้าและนำรายได้เข้าประเทศ หน่วยงานที่พัฒนาและส่งเสริมอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวให้เจริญก้าวหน้ายิ่งขึ้นคือ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) แต่ความสำเร็จของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยนั้นส่วนหนึ่งขึ้นอยู่การบริหารส่วนบุคคลเพราะคนเป็นปัจจัยสำคัญที่จะทำให้องค์การประสบความสำเร็จและความเจริญก้าวหน้าและเป็นทรัพยากรที่จำเป็นต้องได้รับการเอาใจใส่ดูแลอย่างใกล้ชิด ดังนั้นจึงต้องศึกษาการบริหารงานบุคคลถึงปัญหาและอุปสรรค ตลอดจนแนวทางปรับปรุงแก้ไขต่อไปวิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะวิธีการและขั้นตอนในการบริหารงานบุคคลของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย อันเป็นรัฐวิสาหกิจที่ขยายตัวและช่วยให้ประเทศเกิดรายได้เป็นอย่างมาก การวิจัยได้ศึกษาข้อมูลปฐมภูมิโดยการสัมภาษณ์และใช้แบบสอบถาม เพื่อสำรวจความคิดเห็นของบุคลากร และข้อมูลทุติยภูมิโดยการค้นคว้าและรวบรวมจากตำรา หนังสือ วารสาร เอกสารต่างๆ ได้แก่ กฎระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ และคำสั่งต่างๆ ของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย และของหน่วยราชการที่เกี่ยวข้องผลการวิจัยสรุปได้ว่าในเรื่องการสรรหาและคัดเลือกพนักงาน ยึดหลักคุณธรรม เน้นความรู้ความสามารถเป็นสำคัญ ตลอดจนบรรจุเป็นพนักงานได้เหมาะสมตรงกับตำแหน่งหน้าที่พนักส่วนใหญ่เห็นว่าควรได้รับการฝึกอบรมเพิ่มเติมอย่างยิ่ง แต่ไม่ได้ประเมินผลหลังการฝึกอบรมทุกครั้ง การบริหารค่าจ้างและเงินเดือนมิได้เป็นไปตามหลักการบริหารค่าจ้างและเงินเดือนจะต้องเป็นไปตามที่กระทรวงการคลังกำหนดโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี ด้านการประเมินผลการปฏิบัติงานมีหลักเกณฑ์และแบบฟอร์ม แต่ไม่ได้ปฏิบัติอย่างจริงจังและสม่ำเสมอทำให้พนักงานไม่เห็นด้วยเป็นส่วนใหญ่ ส่วนการเลื่อนตำแหน่งและการโอนย้ายใช้หลักเกณฑ์ความรู้ ความสามารถ ระบบอาวุโส ประสบการณ์ และมีความยุติธรรม สวัสดิการที่มีอยู่ยังไม่เพียงพอในด้านระเบียบวินัยควรเคร่งคัด และสม่ำเสมอผลการศึกษาและวิเคราะห์ตามสมมติฐานปรากฏว่า 1. พนักงานต้องการให้เพิ่มสวัสดิการให้มากขึ้น และปรับปรุงแก้ไขสวัสดิการบางประเภท เนื่องจากสวัสดิการที่ ททท. จัดให้นั้น ยังมีประเภทสวัสดิการน้อยไม่เพียงพอกับความต้องการของพนักงาน และสวัสดิการบางประเภทยังมีข้อบกพร่องในหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการจัดให้กับพนักงาน ตลอดจนความไม่เพียงพอของอุปกรณ์ สถานที่ และบุคลากร ในการจัดสวัสดิการประเภทนั้นๆ 2. ผู้ที่ได้รับการบรรจุเป็นพนักงาน ททท. มีคุณสมบัติเหมาะสมตรงกับตำแหน่งหน้าที่ ทั้งนี้เพราะพนักงานมีคุณสมบัติทั่วไปและคุณสมบัติเฉพาะตำแหน่งทางคุณวุฒิหรือประสบการณ์ตามที่ ททท. กำหนด จากการวิจัยสามารถสรุปข้อเสนอแนะในการแก้ปัญหาได้ดังนี้ 1. รัฐควรสนับสนุนด้านงบประมาณให้สอดคล้องกับปริมาณงานและภารกิจที่เพิ่มสูงขึ้น รวมทั้งกรอบอัตรากำลังที่กำหนดไว้ เพื่อให้ได้อัตรากำลังที่เพียงพอและมีประสิทธิภาพ ส่วนในด้านการสรรหาพนักงานควรกระจายข่าวประกาศรับสมัครงานให้ทราบกันอย่างทั่วถึงและดึงดูดความสนใจ 2. การคัดเลือกบุคคล ควรจัดมีมาตรฐานในการคัดเลือกที่มีความถูกต้องและยุติธรรมเพื่อหลีกเลี่ยงการใช้ระบบอุปถัมภ์ 3. การบรรจุแต่งตั้งควรจัดให้มีการคำประกันด้วยบุคคลโดยไม่จำเป็นต้องวางหลักทรัพย์ในตำแหน่งที่ต้องรับผิดชอบเกี่ยวกับการเงิน 4. การฝึกอบรม ควรจัดให้มีการอบรมที่จำเป็นและตรงตามความต้องการของผู้เข้ารับการฝึกอบรม 5. การประเมินผลการปฏิบัติงาน ควรแจ้งให้พนักงานทราบหลักการและวิธีการตลอดจนฝึกอบรมผู้ประเมิน โดยมีการบันทึกผลงานอย่างสม่ำเสมอ และนำไปใช้ประโยชน์ในการบริหารงานบุคคลอื่นๆ 6. สวัสดิการ ควรจัดสวัสดิการให้สนองความต้องการของพนักงานได้อย่างทั่วถึงและปรับปรุงเงื่อนไข วิธีการ ตลอดจนบุคลากรในการจัดสวัสดิการบางประเภท 7. ระเบียบวินัย ให้มีมาตรฐานการลงโทษพนักงานผู้กระทำความผิดทางวินัยอย่างจริงจัง และควบคุมให้ปฏิบัติตามระเบียบวินัยในแนวทางเดียวกันทุกคน
Other Abstract: The tourist industry in Thailand is a vital source of foreign exchange, a factor that plays a significant role in national economic development, and an important means in the government's efforts to reduce the balance of trade deficit and increase revenues. The agency which can develop and promote the further advancement of the tourist industry is the Tourism Authority of Thailand (TAT). However, the success of the Tourism Authority in part depends on personnel administration since people are a critical factor in an organization's success and advancement and a resource that must be given close attention. Thus, there is a need for study of personnel administration to identify problems and difficulties as well as to suggest guidelines for corrections and improvements. The purpose of this thesis is to study the features of the methods and procedures of personnel administration used by the Tourism. Authority of Thailand, an expanding state enterprise which contributes greatly to government revenues. Primary data for this research were obtained by means of interviews and questionnaires used to make a survey of the ideas and opinions of TAT personnel. Secondary data were researched and collected from textbooks, journals, and various documents pertaining to the rules, regulations, announcements and directives of TAT and related government agencies. in summary, the results of the research show that staff recruitment and selection are based on principles of personal morality, with major emphasis placed on knowledge and ability, and that staff are appropriately assigned to the right jobs. Most personnel strongly feel that they should receive more training but follow-up evaluation is not always made after each training course. The administration of wages and salary do not follow the principles of wages and salary but they are determined by the Ministry of Finance, with the approval of the Cabinet. Evaluation of staff performance is based on sound criteria and structure but is not carried out seriously and consistently, resulting in opposition among most personnel. Promotion and transfer are based on the criteria of level of knowledge and ability, seniority, experience, and are fairly administered. Employee welfare and benefits are inadequate. The system of discipline should be strict and consistent. Based on two hypotheses, study and analysis revealed the following: 1. Personnel want an increase in welfare and benefits and various improvements in some categories due to the fact that the welfare and benefits provided by TAT have not enough categories for the needs of personnel. Some categories still contain flaws in the criteria and conditions by which welfare and benefits are provided for personnel as well as a lack of adequate equipment, facilities and staff in those categories. 2. Persons appointed to the staff of TAT have qualifications commensurate with their positions and duties because personnels have general qualifications and those qualifications or experiences established by TAT for those positions. From this research, suggestions for solutions to various problems can be summarized as follows: 1. The government should provide budget support commensurate with TAT's increasing volume of work and responsibilities as well as the scope of manpower levels so as ensure sufficient and efficient manpower. In staff recruitment there should be wider publicity of announcements of job openings so that more people are informed and more attention is attracted. 2. Standards should be set for staff selection so as to ensure correctness and fairness and to avoid favoritism. 3. The assignment 'of personnel to positions that involve flying responsibilities should require only a guarantor instead of also requiring a financial guarantee. 4. Training should be provided as necessary and in accordance with the needs of the participants. 5. Personnel should be informed of the criteria and methods used in performance evaluation and evaluators should receive training; also, personnel performance should be recorded on a regular basis and made use of in other areas of personnel administration. 6. The provision of welfare and benefits should meet the needs of all personnel; in some categories improvements should be made in the criteria and methods used in providing welfare and benefits as well as in the staff responsible. 7. Punitive measures against disciplinary offenders should be seriously applied and disciplinary controls should be applied to all personnel on a uniform basis.
Description: วิทยานิพนธ์ (บช.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2528
Degree Name: บัญชีมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การบัญชี
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/17727
ISBN: 9745646482
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sira_Na_front.pdf369.64 kBAdobe PDFView/Open
Sira_Na_ch1.pdf259.31 kBAdobe PDFView/Open
Sira_Na_ch2.pdf433.8 kBAdobe PDFView/Open
Sira_Na_ch3.pdf1.06 MBAdobe PDFView/Open
Sira_Na_ch4.pdf936.63 kBAdobe PDFView/Open
Sira_Na_ch5.pdf328.59 kBAdobe PDFView/Open
Sira_Na_back.pdf652.3 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.