Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/17971
Title: | พฤติกรรมความเป็นผู้นำของหวัหน้าหน่วยศึกษานิเทศก์จังหวัด ในประเทศไทย |
Other Titles: | Leadership behavior of head of changwad supervisors in Thailand |
Authors: | กล้าหาญ สุดแสน |
Advisors: | นพพงษ์ บุญจิตราดุลย์ วไลรัตน์ บุญสวัสดิ์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Advisor's Email: | Noppong.b@chula.ac.th Valairat.b@chula.ac.th |
Subjects: | ผู้นำ ศึกษานิเทศก์ |
Issue Date: | 2521 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | วัตถุประสงค์ของการวิจัย 1. เพื่อศึกษาพฤติกรรมความเป็นผู้นำของหัวหน้าหน่วยศึกษานิเทศก์จังหวัด 2. เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของหัวหน้าหน่วยศึกษานิเทศก์จังหวัดกับศึกษานิเทศก์จังหวัด เกี่ยวกับ พฤติกรรมความเป็นผู้นำของหัวหน้าหน่วยศึกษานิเทศก์จังหวัด 3. เพื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมความเป็นผู้นำของหัวหน้าหน่วยศึกษานิเทศก์จังหวัดที่ควรจะเป็นกับที่เป็นอยู่จริง สมมติฐาน 1. พฤติกรรมความเป็นผู้นำของหัวหน้าหน่วยศึกษานิเทศก์จังหวัด ด้านมุ่งงาน และด้านมุ่งสัมพันธ์ ไม่แตกต่างกัน 2. พฤติกรรมความเป็นผู้นำของหัวหน้าหน่วยศึกษานิเทศก์จังหวัด ตามความคิดเห็นของหัวหน้าหน่วยศึกษานิเทศก์จังหวัดกับศึกษานิเทศก์จังหวัด ไม่แตกต่างกัน 3. พฤติกรรมความเป็นผู้นำของหัวหน้าหน่วยศึกษานิเทศก์จังหวัดที่ควรจะเป็นกับที่เป็นอยู่จริง ไม่แตกต่างกัน วิธีดำเนินการวิจัย กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาเป็นหัวหน้าหน่วยศึกษานิเทศก์จังหวัดหรือผู้รักษาการในตำแหน่งหัวหน้าหน่วยศึกษานิเทศก์ และศึกษานิเทศก์จังหวัดในประเทศไทย จำนวน ๓๑๙ คน เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลได้แก่ เครื่องมือวัดพฤติกรรมความเป็นผู้นำที่สร้างขึ้น โดยอาศัยแนวจากแบบสอบถาม LBDQ (Leader Behavior Description Questionnaire ) ซึ่งแยกพฤติกรรมความเป็นผู้นำเป็นสองด้าน คือ ด้านมุ่งงาน กับด้านมุ่งสัมพันธ์ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้วิธีการ ห่าค่าร้อยละ ค่ามัชฌิมเลขคณิต ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าที – เทสต์ ( t- test ) ผลการวิจัย ผลการศึกษาพบว่า พฤติกรรมความเป็นผู้นำของหัวหน้าหน่วยศึกษานิเทศก์จังหวัดที่ควรจะเป็นควรจะสูงทั้งด้านมุ่งงานและด้านมุ่งสัมพันธ์ แต่พฤติกรรมความเป็นผู้นำของหัวหน้าหน่วยศึกษานิเทศก์จังหวัดที่เป็นอยู่จริง กลุ่มหัวหน้าหน่วยศึกษานิเทศก์จังหวัดมีความคิดเห็นว่าตนเองมีพฤติกรรมความเป็นผู้นำค่อนข้างสูงอยู่แล้ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งพฤติกรรมความเป็นผู้นำด้านมุ่งสัมพันธ์สูงกว่าด้านมุ่งงาน แต่กลุ่มศึกษานิเทศก์จังหวัดมีความคิดเห็นว่าพฤติกรรมความเป็นผู้นำของหัวหน้าหน่วยศึกษานิเทศก์จังหวัดที่เป็นอยู่จริงอยู่ในระดับปานกลางทั้งพฤติกรรมความเป็นผู้นำด้านมุ่งงานและด้านมุ่งสัมพันธ์ ในการเปรียบเทียบความคิดเห็นของหัวหน้าหน่วยศึกษานิเทศก์จังหวัดกับศึกษานิเทศก์จังหวัด ปรากฏว่าพฤติกรรมความเป็นผู้นำที่ควรจะเป็นทั้งด้านมุ่งงานด้านและด้านมุ่งสัมพันธ์ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ แต่พฤติกรรมความเป็นผู้นำที่เป็นอยู่จริงทั้งสองด้านแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ในการเปรียบเทียบพฤติกรรมความเป็นผู้นำของหัวหน้าหน่วยศึกษานิเทศก์จังหวัดที่ควรจะเป็นกับที่เป็นอยู่จริง กลุ่มหัวหน้าหน่วยศึกษานิเทศก์จังหวัดมีความคิดเห็นว่า พฤติกรรมความเป็นผู้นำด้านมุ่งงานที่เป็นอยู่จริงต่ำกว่าที่ควรจะเป็น แต่พฤติกรรมความเป็นผู้นำด้านมุ่งสัมพันธ์ที่ควรจะเป็นกับที่เป็นอยู่จริง ไม่แตกต่างกัน แต่กลุ่มศึกษานิเทศก์จังหวัดมีความคิดเห็นว่าพฤติกรรมความเป็นผู้นำของหัวหน้าหน่วยศึกษานิเทศก์จังหวัดที่เป็นอยู่จริงแตกต่างกับที่ควรจะเป็นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติทั้งพฤติกรรมความเป็นผู้นำด้านมุ่งงานและด้านมุ่งสัมพันธ์ ผลการวิจัยนี้ได้เสนอแนะการคัดเลือกหัวหน้าหน่วยศึกษานิเทศก์จังหวัดว่า ควรพิจารณาบุคคลที่มีพฤติกรรมความเป็นผู้นำด้านมุ่งงานและด้านมุ่งสัมพันธ์อยู่ในระดับสูง และหัวหน้าหน่วยศึกษานิเทศก์จังหวัดควรจะตรวจสอบพฤติกรรมความเป็นผู้นำของตนเองเพื่อปรับปรุงพฤติกรรมความเป็นผู้นำของหัวหน้าหน่วยศึกษานิเทศก์จังหวัดให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นจะทำให้เป็นผู้นำทางการศึกษาได้ดียิ่งตามที่คาดหวังไว้ |
Other Abstract: | Purposes : 1. To study the leadership behavior of head of changwad supervisors. 2. To compare the head of changwad supervisors’ opinions on their leadership behavior with those of changwad supervisors. 3. To compare the leadership behavior of head of changwad supervisors’ expected and actual leadership behavior. Hypothesises : 1. The leadership behavior of head of changwad supervisors in the initiating structure and consideration behavior are not different. 2. The head of changwad supervisors’ opinions on their leadership behavior with those of changwad supervisors are not different. 3. The expected leadership behavior of head of changwad supervisors and the actual one are not different. Procedures : The sample of the study were comprised of 319 head if changwad supervisors or the acting head of chandwad supervisors and changwad supervisors in Thailand. Instruments used in collecting data were adapted from Leader Behavior Description Questionnaire (LBDQ) which concerned the initiating structure and consideration behavior of the leadership behavior. The data were then analyzed by using percentage, mean, standard deviation and t-test. Findings : The study revealed that the leadership behavior of head of changwad supervisors should be high in both the initiating structure and consideration behavior. But in case of the actual behavior of head of changwad supervisors ; the head of changwad supervisors thought that they had performed the leadership behavior rather high especially the consideration behavior was higher than the initiating structure behavior. The changwad supervisors thought that leadership behavior of head of changwad supervisors was actually in medium both of the initiating structure and consideration behavior. In comparison between the head of changwad supervisors’ opinions and changwad supervisors’ opinion per raining to the expected behavior of both the initiating structure and consideration, were not significantly different. But, however, according to the actual behavior, they were significantly different. In comparison between the expected and actual behavior ; the head of changewad supervisors thought that they had performed the initiating structure lower than they had expected but the head of changwad supervisors thought that their actual and expected consideration behavior were not significantly different. The changwad supervisors though that the head of changwad supervisor actual leadership behavior were significantly different from the expected leadership behavior in both the initiating structure and consideration behavior. The research suggested that the selection of head of changwad supervisors should concentrate more on leadership behavior in both initiating structure and consideration behavior as well. The head of changwad supervisors themselves should be more anxious about the evaluation and improvement of his leadership behavior in order that he would be an expected educational leader. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2521 |
Degree Name: | ครุศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | บริหารการศึกษา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/17971 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Klaharn_Su_front.pdf | 399.14 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Klaharn_Su_ch1.pdf | 466.81 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Klaharn_Su_ch2.pdf | 1.06 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Klaharn_Su_ch3.pdf | 443.24 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Klaharn_Su_ch4.pdf | 1.1 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Klaharn_Su_ch5.pdf | 657.58 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Klaharn_Su_back.pdf | 609.92 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.