Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/17982
Title: ความคิดเห็นของผู้บริหารและคณาจารย์เกี่ยวกับการติดต่อสื่อสารภายในโรงเรียนมัธยมศึกษา ในเขตการศึกษา 5
Other Titles: Opinions of administrators and teachers concerning organizational communication in secondary schools in the education region five
Authors: นคร ตังคะพิภพ
Advisors: วีระวัฒน์ อุทัยรัตน์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: weerawat.u@chula.ac.th
Subjects: การสื่อสารในองค์การ
Issue Date: 2525
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วัตถุประสงค์ของการวิจัย ๑. เพื่อศึกษาความคิดเห็นของผู้บริหารและคณาจารย์เกี่ยวกับการติดต่อสื่อสารภายในโรงเรียนมัธยมศึกษา ๒. เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นเกี่ยวกับการติดต่อสื่อสารภายในโรงเรียนมัธยมศึกษาระหว่างผู้บริหารและคณาจารย์ ๓. เพื่อศึกษาวิธีการที่ใช้ในการติดต่อสื่อสารภายในโรงเรียนมัธยมศึกษา ๔. เพื่อศึกษาระดับความสนใจในชนิดของข่าวสารในความคิดเห็นของผู้บริหารและคณาจารย์สมมติฐานในการวิจัย ความคิดเห็นของผู้บริหารและคณาจารย์เกี่ยวกับการติดต่อสื่อสารภายในโรงเรียนแตกต่างกัน การดำเนินการวิจัย การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบสำรวจ ตัวอย่างประชากรประกอบด้วย ผู้บริหารและ คณาจารย์ในโรงเรียนมัธยมศึกษา ในเขตการศึกษา ๕ จำนวน ๒๒ โรงเรียน โดยสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple Random Sampling) เฉพาะกลุ่มคณาจารย์ ส่วนกลุ่มบริหารใช้ประชากรทั้งหมด จำนวนผู้ตอบแบบสอบถามที่ได้รับคืนมาเพื่อใช้ในการวิจัยจริงจำนวน ๕๔๗ ฉบับคิดเป็นร้อยละ ๙๗.๑๖ เป็นของผู้บริหาร ๙๔ ฉบับ คิดเป็นร้อยละ ๙๒.๑๖ และคณาจารย์ ๔๕๓ ฉบับ คิดเป็นร้อยละ ๙๘.๒๗ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบสอบถาม ๓ ตอน ตอนที่ ๑ สอบถามสถานภาพของผู้ตอบแบบสอบถาม มีลักษณะเป็นแบบกาเครื่องหมาย (Check list) และแบบปลายเปิด (Open end) ตอนที่ ๒ สอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับการปฏิบัติการติดต่อสื่อสารภายในโรงเรียนมีลักษณะเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating : Scale) ตอนที่ ๓ มี ๓ ส่วน ส่วนที่ ๑ สอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับชนิดของข่าวสารที่มีการติดต่อสื่อสารภายในโรงเรียน มีลักษณะเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating : Scale) ส่วนที่ ๒ สอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับความสนใจในชนิดของข่าวสาร มีลักษณะเป็นการให้ลำดับความสนใจจากมากไปน้อย ส่วนที่ ๓ สอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับวิธีการติดต่อสื่อสารที่มีใช้ภายในโรงเรียน มีลักษณะเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating :Scale) การวิเคราะห์ข้อมูล ใช้ค่าร้อยละ ค่าคะแนนเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และคะแนนรวมของลำดับความสนใจ ส่วนการทดสอบสมมติฐาน ใช้การทดสอบแบบที (t-test) สรุปผลการวิจัย ๑. การปฏิบัติการติดต่อสื่อสารภายในโรงเรียน โดยสรุปแล้ว ผู้บริหารโรงเรียนเห็นว่ามีการปฏิบัติการในโรงเรียนอยู่ในเกณฑ์ เกิดขึ้นบ่อยๆ ส่วนคณาจารย์เห็นว่าอยู่ในเกณฑ์ เกิดขึ้นเป็นบางครั้ง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านทั้ง ๗ ด้าน คือ ความน่าเชื่อถือ ความเหมาะสมกับสภาวะแวดล้อม เนื้อหาสาระ ความต่อเนื่องและอยู่กับร่องกับรอย ช่องทางของข่าวสาร ความสามารถของผู้รับ และความแจ่มชัด ผู้บริหารมีความเห็นว่า ทุกๆ ด้านมีการปฏิบัติการอยู่ในเกณฑ์ เกิดขึ้นบ่อยๆ ส่วนคณาจารย์เห็นว่า ด้านความน่าเชื่อถือ เนื้อหาสาระ และช่องทางของข่าวสารมีการปฏิบัติการอยู่ในเกณฑ์ เกิดขึ้นบ่อยๆ แต่ด้านที่เหลือเห็นว่า มีการปฏิบัติการอยู่ในเกณฑ์ เกิดขึ้นเป็นบางครั้ง ๒. ความคิดเห็นของผู้บริหารและคณาจารย์เกี่ยวกับการปฏิบัติการติดต่อสื่อสารภายในโรงเรียน มีความแตกต่างกันทางสถิติ ที่ระดับนัยสำคัญ ๐.๐๑ ๓. ชนิดของข่าวสารที่มีการติดต่อสื่อสารภายในโรงเรียน ส่วนใหญ่ทั้งผู้บริหารและคณาจารย์ เห็นว่า มีการติดต่อสื่อสารอยู่ในระดับ ปานกลาง ชนิดของข่าวสารที่มีการติดต่อสื่อสารมากกว่าชนิดอื่นๆ คือ ข่าวเกี่ยวกับการร่วมการกุศล ๔. ชนิดของข่าวสารที่ผู้บริหารและคณาจารย์ สนใจอยากทราบมากที่สุดคือ ขข่าววิชาการ รองลงไปคือ ข่าวความเคลื่อนไหวในวงการศึกษาและข่าวการดำเนินงานภายในโรงเรียน ส่วนชนิดของข่าวสารที่มีความสนใจน้อยที่สุด คือ ข่าวเกี่ยวกับการร่วมการกุศล ๕. การประกาศ เป็นวิธีการติดต่อสื่อสารทางวาจา ที่มีใช้มากที่สุดในโรงเรียน ทั้งในความคิดเห็นของผู้บริหารและคณาจารย์ และการใช้หนังสือเวียนเป็นวิธีการติดต่อสื่อสารทางลายลักษณ์อักษรที่มีใช้มากที่สุดในโรงเรียน
Other Abstract: Objectives of the Research : The purposes of this study were to 1. Study the opinions of the administrators and the teachers concerning the organizational communication in the secondary schools. 2. Compare the opinions concerning the organizational communication in the secondary schools between the administrators and the teachers. 3. Study the methods of organizational communication used in the secondary schools. 4. Study the types of information which the administrators and the teachers would like to have. Hypothesis : The opinions of the school administrators and teachers concerning communication within the school are different. Research Procedures : The population involved in the study consisted of administrators and teachers in 22 secondary schools in educational region five by using simple random sampling for the teachers group and using all the people for the administrators group. Of the total of 563 papers, approximately 97.16 percent of these returned were usable questionnaires. The questionnaires received from the administrators and the teachers numbered 94 (92.16 percent) and 453 (98.27 percent) papers respectively. The instrument used in this study was the three-part questionnaires. Part I was a questionnaires with checklist and open-ended questions used to study the population’s status. Part II was a questionnaires with a rating scale used to study the opinions concerning the organizational communication practice in secondary schools. Part III was divided into three sections : section one was a questionnaires with raring scale used to study the opinions concerning types of information used in organizational communication in secondary schools ; section two was a questionnaires used to ask about the interest in types of information by letting the administrators and teachers range their interest from “ of most interest” to “of least interest,” and section three was a questionnaires with rating scale used to ask about the opinions concerning the methods of organizational communication used in secondary schools. In analyzing the data obtained from the questionnaires, percentages, mean, standard deviations, and the total scores of the ranged interests were employed. And for testing the hypothesis, the t-test was used. Findings and Conclusions : The findings of this investigation can be summarized as follow : 1. In administrators’ opinion, the organizational communication practice in secondary schools always took place, but in teachers’ opinions, it only sometimes took place. As for the 7 frames of communication : credibility, context, content, continuity and consistency, channels, capability of audience and clarity-administrators perceived that every frame always took place in schools. But teachers perceived that the credibility, content, and channels frames always took place, while the others only sometimes took place in schools. 2. Opinions of administrators and teachers concerning organizational communication in secondary schools are statistically different at the 0.01 level. 3. Most of both administrators and teachers perceived that all types of information used in organizational communication in secondary schools were communicated at the medium level expect information about charity which was communicated the most. 4. The type of information which administrators and teachers were most interested to know was academic information. Others were educational movements and school administration. And the least interesting information was charity information. 5. In both administrators’s and teachers’ opinions, announcement through the oral medium was used the most frequently. And the most frequent written medium that was used in schools was the internal memorandum.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2525
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: บริหารการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/17982
ISBN: 9745610763
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Nakorn_Tu_front.pdf526.63 kBAdobe PDFView/Open
Nakorn_Tu_ch1.pdf400.69 kBAdobe PDFView/Open
Nakorn_Tu_ch2.pdf597.35 kBAdobe PDFView/Open
Nakorn_Tu_ch3.pdf438.18 kBAdobe PDFView/Open
Nakorn_Tu_ch4.pdf646.62 kBAdobe PDFView/Open
Nakorn_Tu_ch5.pdf516.06 kBAdobe PDFView/Open
Nakorn_Tu_back.pdf643.22 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.