Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18003
Title: มาตรการป้องกันการหลีกเลี่ยงภาษีอากรโดยการจัดตั้งเป็นห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล
Other Titles: Anti-tax evasion measures related with establishment of an ordinary partnership or a non-jouristic body of persons
Authors: สุเทพ ชาญณรงค์
Advisors: ศุภลักษณ์ พินิจภูวดล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์
Advisor's Email: Supalak.P@Chula.ac.th
Issue Date: 2552
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ศึกษาแนวความคิดและเจตนารมณ์ของกฎหมายภาษีอากรเกี่ยวกับการกำหนดให้มีหน่วยภาษีในชื่อห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคลมีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ตลอดจนความแตกต่างกันของห้างหุ้นส่วนสามัญและคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคลที่บัญญัติไว้ในประมวลรัษฎากร สภาพปัญหาการบังคับใช้กฎหมายและมาตรการต่างๆในการบริหารจัดเก็บภาษีอากรให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย จากการศึกษาพบว่าการที่ประมวลรัษฎากรกำหนดให้มีหน่วยภาษีห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล มักจะถูกผู้เสียภาษีบิดเบือนเจตนารมณ์ของกฎหมายเพื่อแสวงหาผลประโยชน์จากบทบัญญัติดังกล่าว โดยวิธีการกระจายเงินได้ของตนและของกลุ่มบุคคลไปยังหน่วยภาษีในชื่อห้างหุ้นส่วนสามัญและคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล เพื่อให้มีภาระภาษีต่ำลงอันนำไปสู่การกระทำที่เป็นการหลีกเลี่ยงภาษีอากรทำให้รัฐขาดรายได้ยิ่งไปกว่านั้นในทางปฏิบัติของเจ้าหน้าที่ฝ่ายบริหารจัดเก็บภาษีอากรยังขาดมาตรการควบคุมและบางมาตรการยังไม่เหมาะสม จึงควรศึกษาเพื่อกำหนดขอบเขตความหมาย ลักษณะของห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคลให้ชัดเจนและควรมีมาตรการป้องกันการหลีกเลี่ยงภาษีอากร ดังนี้ ก) ประมวลรัษฎากรควรให้อำนาจอธิบดีในการกำหนดหลักเกณฑ์ เงื่อนไขการจัดตั้งห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล โดยควรแก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 39 เป็น "อนึ่งการจัดตั้งห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล ต้องเป็นการรวมกลุ่มโดยมีเจตนาดำเนินกิจการร่วมกันทั้งนี้ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกำหนด" ข) ควรแยกหน่วยภาษีระหว่างห้างหุ้นส่วนสามัญกับคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคลเพื่อให้เสียภาษีเงินได้ต่างกัน โดยกำหนดคำนิยามของคำว่า "คณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล" ให้หมายถึงเฉพาะกิจการหรือการดำเนินกิจการที่ไม่ได้มุ่งค้าหรือหากำไรแต่เพื่อประโยชน์สาธารณะหรือเพื่อการกุศล โดยกำหนดเพิ่มไว้ในมาตรา 39 ค) ควรแก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 47(6) เป็น "ในกรณีผู้มีเงินได้เป็นห้างหุ้นส่วนสามัญหรือ คณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล ให้หักลดหย่อนสำหรับผู้เป็นหุ้นส่วนหรือบุคคลในคณะบุคคลซึ่งอยู่ในประเทศไทยได้คนละ 30,000 บาท แต่รวมกันต้องไม่เกิน 60,000 บาท เว้นแต่ผู้เป็นหุ้นส่วนหรือบุคคลในคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคลได้ใช้สิทธิตาม (1)(ก) แล้วจะใช้สิทธิลดหย่อนอีกไม่ได้" ง) ควรให้เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรของห้างหุ้นส่วนสามัญกับคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล แตกต่างกัน จ) ควรยกเว้นภาษีหรือเก็บภาษีในอัตราคงที่เฉพาะหน่วยภาษีในชื่อคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล ฉ) ควรบังคับใช้กฎหมายในส่วนที่เกี่ยวกับความผิดทางอาญาอย่างจริงจัง ช) ควรมีมาตรการส่งเสริมการเสียภาษีอากร
Other Abstract: This research study the conceptual ideas and legal intent of the revenue law particularly in the area concerns a tax unit called "an ordinary partnership or a non-juristic body of persons". Moreover, the study comparatively explores the relationship and differences between the ordinary partnership and a non-juristic body of persons under the provisions of the Revenue Code. At the letter part of this work focuses on several tax issues arise out of either tax unit. The views from both taxpayers and tax collectors are fully covered. From the study, it shows that the ordinary partnership or a non-juristic body of persons has often been abused by taxpayers primarily with an aim to manipulate tax burden. Such a manipulation affair certainly has serious repercussion to the amount of tax collection and consequently distorts the tax system as a whole as not only because it goes against the intent of tax law - abusing the tax unit to minimize tax burden, but also because it is obviously tax evasion. Although the Revenue Code has several anti-abusive measures to deal with such cases, they are in fact insufficient and inefficient. Accordingly, this research proposes that the Revenue Department shall redefine the term and characteristic of the ordinary partnership and a non-juristic body of persons so as to close any possible loopholes which is. Therefore, the study proposes the following anti-abusive measures. 1) 1) The Revenue Code should grant to the Director General the power to regulate the terms and characteristics of an ordinary partnership or a non-juristic body of persons by way of amendment Article 39, An establishment of an ordinary partnership or a non-juristic body of persons shall comply with the intention of corporate and follow the terms, procedures and conditions provided by the Director General" 2)The Revenue Code should clearly separate an ordinary partnership or a non-juristic body of persons and should provide about tax liability differently. 3)An amendment should be made to section 47(6) that "a Thai residency who is an individual person partner in the ordinary partnership or an individual person in the group of persons shall be entitled to tax allowance of 30,000 baht and not more than 60,000 baht , unless such individual has already enjoyed the right under (1)(a). In this case, he shall no longer be entitled to this allowance 4)An ordinary partnership or a non-juristic body of persons shall be provided with tax identification number different from that of a non-juristic body of persons. 5)Non-juristic body of persons exclusively exempted from tax or shall be liable to a flat tax rate. 6)The competent authority shall apply the laws and enforcing them rigorously those with criminal charges. 7)The law shall provide with ware tax incentive.
Description: วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552
Degree Name: นิติศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิติศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18003
Type: Thesis
Appears in Collections:Law - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Suthep_Ch.pdf10.63 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.