Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18025
Title: ผลของระดับมาตราการประเมิน แบบอักษร และขนาดของตัวชี้ตำแหน่งต่ออัตราการตอบกลับและระยะเวลาในการตอบแบบสอบถามออนไลน์ทางธุรกิจ
Other Titles: Effect of level of rating scales, font types and pointer sizes on response rates of, and time to complete, business online questionnaires
Authors: อาทิมา มาสิริ
Advisors: ชัชพงศ์ ตั้งมณี
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี
Advisor's Email: Chatpong.T@Chula.ac.th
Subjects: แบบสอบถาม -- วิจัย
Questionnaires -- Research
Issue Date: 2552
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การเก็บรวบรวมข้อมูลสามารถกระทำได้หลายวิธี เช่น การเก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถาม เป็นรูปแบบหนึ่งในการเก็บข้อมูลที่มีความสำคัญ นักวิจัยจำนวนมากได้ศึกษาเกี่ยวกับอัตราการการตอบกลับของแบบสอบถามว่ามีผลมาจากสิ่งใด เพื่อนำไปสู่การเพิ่มอัตราการตอบกลับให้มากขึ้น หรือใช้ระยะเวลาในการตอบแบบสอบถามให้น้อยที่สุด การศึกษานี้มุ่งเน้นวิเคราะห์ผลกระทบของ (1) ระดับมาตราการประเมิน (2) แบบอักษร และ (3) ขนาดของตัวชี้ตำแหน่ง ที่มีต่ออัตราการตอบกลับ และ ระยะเวลาในการตอบแบบสอบถามออนไลน์ทางธุรกิจ การทดลองในสภาพแวดล้อมจริง (Quasi Experiment) พบว่า แบบอักษรและขนาดของตัวชี้ตำแหน่งมีผลต่ออัตราการตอบกลับอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ทว่าระดับมาตราการประเมินกลับไม่พบผลกระทบต่ออัตราการตอบกลับ ส่วนขนาดของตัวชี้ตำแหน่งมีผลต่อระยะเวลาในการตอบแบบสอบถามออนไลน์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ทว่าระดับมาตราการประเมินและแบบอักษรไม่พบผลกระทบต่อระยะเวลาในการตอบแบบสอบถามออนไลน์ ข้อสรุปที่ได้จากการศึกษานี้เป็นการต่อยอดองค์ความรู้ทางการวิจัยในเรื่องแบบสอบถามออนไลน์ และยังเป็นประโยชน์สำหรับนักวิจัยในการออกแบบเครื่องมือในการเก็บข้อมูลให้เหมาะสมกับงานวิจัยนั้นๆ ต่อไปในอนาคต
Other Abstract: It has been common that a questionnaire is the most important tool to collect data, and numerous researchers have attempted to examine what contributes to high response rate or quick completing time. This thesis examined the effect of (1) levels of rating scales (2) font types and (3) pointer sizes on (1) response rates of, and (2) time to complete, online business questionnaires. Based on a quasi experiment, the analysis reveals that (1) both font types and pointer sizes do have statistically significant effects on response rates at the 0.05 level but the effect of levels of rating scales is not significant and (2) pointer sizes have statistically significant on the completing time yet neither level of rating scales nor font types have significant effects on this complete time.In addition to extending insight into research methodology in the content of business online questionnaires, the study’s findings do have practical contribution.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การพัฒนาซอฟต์แวร์ด้านธุรกิจ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18025
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2009.486
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2009.486
Type: Thesis
Appears in Collections:Acctn - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
artima_ma.pdf5.83 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.