Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18176
Title: กิจกรรมการเรียนและการสอนภาษาไทยชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ของโรงเรียนสาธิตในกรุงเทพมหานคร
Other Titles: Thai language teaching and learning activities in Bangkok Metropolis lower secondary demonstration schools
Authors: จิตต์นิภา ภักดีชุมพล
Advisors: ประภาศรี สีหอำไพ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
Subjects: ภาษาไทย -- การศึกษาและการสอน
Issue Date: 2516
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วัตถุประสงค์ของการวิจัย 1. เพื่อติดตามความเคลื่อนไหวของโรงเรียนสาธิตที่กำลังก้าวหน้าทางการสอนภาษาไทย และเทคนิคการสอนภาษาไทยที่กำลังใช้และทดลองอยู่ ตลอดจนต้องการทราบผลสำเร็จทางการสอนภาษาไทย เพื่อเป็นแนวทางเป็นตัวอย่างแก่โรงเรียนอื่นๆ ในการปรับปรุงการสอน เช่น วิธีดำเนินการสอน การใช้อุปกรณ์การจัดกิจกรรมในห้องเรียน กิจกรรมเสริมหลักสูตรและการวัดผล เป็นต้น2. เพื่อศึกษาทัศนคติของครูและนักเรียนที่มีต่อภาษาไทย และต้องการทราบปัญหาที่ประสบในการเรียนการสอน 3. ต้องการทราบการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ปัญหาอุปสรรคในการจัดกิจกรรม วิธีสอนที่ได้ผลดี กิจกรรมที่ใช้บ่อยที่สุด และ กิจกรรมชนิดใดใช้น้อยที่สุด วิธีดำเนินงานวิจัย ใช้แบบสัมภาษณ์และแบบสอบถามซึ่งผู้วิจัยสร้างขึ้นเองเป็นเครื่องมือในการรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับกิจกรรม ทัศนคติ และปัญหาในการจัดกิจกรรมภาษาไทย โดยใช้สัมภาษณ์แบบมีแบบแผนประกอบเครื่องบันทึกเสียงครูภาษาไทย และแบบสอบถามนักเรียนโรงเรียนสาธิต ตัวอย่างประชากรที่ใช้ในการวิจัยนี้ได้แก่ สัมภาษณ์ครูภาษาไทยทั้งหมด จำนวน 21 คน และสุ่มตัวอย่าง นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น 5 โรงเรียนๆ ละ 60 จำนวนทั้งหมด 296 คน หญิง 169 คน ชาย 127 คน โรงเรียนที่เป็นตัวอย่างประชากรมี 5 โรงเรียน คือ โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โรงเรียนสาธิตวิทยาลัยวิชาการศึกษาปทุมวัน โรงเรียนสาธิตวิทยาลัยครูสวนสุนันทา และ โรงเรียนสาธิตวิทยาลัยครูบ้านสมเด็จ สรุปผลการวิจัย จากการวิเคราะห์ค่าทางสถิติจำนวนร้อยละของจำนวนครูและนักเรียนโรงเรียนสาธิตทั้งหมด และการคิดค่าเฉลี่ยของการจัดกิจกรรมของครูและนักเรียนพบว่าทั้งครูและนักเรียนมีทัศนคติที่ดีต่อวิชาภาษาไทย ตลอดจนเห็นประโยชน์ของการจัดกิจกรรมในหลักสูตรและกิจกรรมเสริมหลักสูตร ในด้านผลสำเร็จของการจัดกิจกรรมของครูอยู่ในระดับเฉลี่ยปานกลาง ด้านวิธีดำเนินการสอน ใช้สอนแบบค้นคว้า สอนภาษาไทยให้สัมพันธ์กับวิชาอื่น เปิดโอกาสให้แสดงความคิดเห็นและพิจารณาภาษาจากสื่อมวลชนมาใช้ในบทเรียนตลอดจนมีวิธีการสอนแบบใหม่ คือ การฝึกอัดเสียงลงเทปแล้วแก้ไขการพูดการอ่านและใช้ห้องปฏิบัติการทางภาษาบ้างเล็กน้อย สำหรับอุปกรณ์ที่ใช้ คือ หนังสือประกอบแผ่นเสียง สมุดภาพ และภาพซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่ครูใช้มากแต่นักเรียนเห็นว่าใช้ประโยชน์ได้น้อย ส่วนการวัดผลครูใช้เมื่อจบบทเรียนหนึ่งๆ เป็นข้อสอบแบบอัตนัยและปรนัย ในด้านกิจกรรมในห้องเรียน กิจกรรมที่นิยมจัดมากที่สุด คือ การฝึกอ่านในใจ อ่านทำนองเสนาะ การแสดงบทบาท รายงาน สัมภาษณ์ อภิปราย โต้วาที ส่วนกิจกรรมที่จัดน้อยที่สุด ได้แก่ เชิญวิทยากรมาบรรยาย สำหรับกิจกรรมเสริมหลักสูตรที่จัดมีทั้งกิจกรรมนอกชั้นเรียนและชุมนุมภาษาไทย กิจกรรมชุมชนภาษาไทยที่จัดมากได้แก่การฟังปาฐกถา อภิปราย โต้วาที และทัศนศึกษา ในด้านเทคนิคการสอนภาษาไทยจากโรงเรียนสาธิต 5 โรงเรียนนั้น มีโครงการและวิธีสอนใหม่ๆ 3 โรงเรียน คือ โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โรงเรียนสาธิตวิทยาลัยวิชาการศึกษาปทุมวัน และโรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ซึ่งโครงการใหม่ๆ มีทั้งหมด 18 โครงการ เป็นโครงการที่ประสบผลสำเร็จแล้ว 9 โครงการ เช่น โครงการสะกดคำ โครงการเสริมทักษะการฟังโครงการคัดลายมือ เป็นต้น และที่กำลังทดลองอยู่อีก 9 โครงการ เช่น โครงการทำแบบทดสอบมาตรฐาน และผลของการสัมภาษณ์วิธีสอนใหม่ๆ ในการจัดกิจกรรมที่ได้ผลดีและได้รับผลสำเร็จ มีทั้งหมด 21 กิจกรรม เช่น การเล่นเกมส์ในการสอนวรรณยุกต์การแข่งขันแต่งสักวาดดอกสร้อยประกอบการรำวง การทายปัญหาเชิงหลักทางภาษาไทยและการฟังเทปจากเพลงเพื่อฝึกจินตนาการ เป็นต้น เกี่ยวกับปัญหาต่างๆ มีนักเรียนสาธิตที่ทีปัญหาด้านตัวสะกดผิดมาก วางวรรณยุกต์ไม่ถูกต้อง ลายมือไม่สวยถึงร้อยละ 95.24 ในด้านปัญหาที่สำคัญในการจัดกิจกรรมของครู คือ ไม่ทราบว่าจะจัดกิจกรรมอะไรดี นอกจากนี้ยังมีปัญหาในด้านแบบเรียน เนื้อหาซ้ำซ้อน แบบเรียนวรรณคดีล้าสมัยในด้านสำนวนโวหาร และบางเรื่อง มุ่งสร้างทัศนคติทางหนึ่ง แต่ทำลายทัศนคติอีกทางหนึ่งแก่นักเรียนและชุมนุมภาษาไทยมีปัญหาทางด้านนักเรียน เวลาและการเงิน ข้อเสนอแนะของครู คือครูควรเพิ่มเติมความรู้อยู่เสมอ และนักเรียนเสนอแนะให้จัดกิจกรรมเกี่ยวกับบทเรียนให้มากๆ สำหรับผู้วิจัยมีความเห็นว่าในการจัดกิจกรรมการสอนให้มีประสิทธิภาพนั้น ครูนักเรียน ผู้บริหารต้องเข้าใจ และมีจุดมุ่งหมายที่แน่นอน ร่วมมือกันทุกฝ่ายในการจัดกิจกรรมโดยต้องวางแผนล่วงหน้า ครูมีความคิดสร้างสรรค์ในด้านกิจกรรมและนักเรียนควรช่วยเสนอความคิดเห็นในการปรับปรุงวิธีจัดกิจกรรมให้เหมาะสม และสอดคล้องกับความต้องการของนักเรียน เพื่อเป็นแนวทางปรับปรุงกิจกรรมภาษาไทยต่อไป
Other Abstract: Purposes of this research: 1. To follow up the improving techniques in teaching Thai at all demonstration schools and to find out it's success and failure in using techniques, i.e., teaching facilities; classroom arrangement, in order to set up certain guide-lines for further improvement. 2. To study both teachers' and students' attitude towards Thai language and problem in their teaching and learning. 3. To find out all types of teaching and learning activities and their frequent uses in all demonstration schools, including their success and failure in these activities. Process of this research: Facts were collected from questionnaires prepared by the researcher, and interviewed 21 teachers of Thai and 296 students, 127 boys and 169 girls of Primary School level. The random schools were Demonstration Schools of Chulalongkorn University, Kasotsart University, Patumvan College of Education, Suan Sunanta Teachers College and Ban Somdej Teacher College. Research Conclusion: The statistical analysis by percentage of the teachers and students of Demonstration schools and the average of the teaching learning activities engaged by teachers and students showed that both teachers and students had good attitude towards learning of the Thai Language. They also accepted the use of in-class activities and out-of-class activities. Teachers had succeeded to the mid-point in managing activities. Their teaching techniques based on requiring student to study by themselves, relating Thai to other subjects, opening discussion on Thai language used by mass media, taping to improve speaking and reading ability, and language laboratory. Teaching aids were the supplementary tools, such as records, picture books and pictures but students felt little use of Evaluation was done at the end of each lesson, using both subjective and objective test. In-class activities which were used the most were silent reading, poetic reading, role - playing, reporting, interviewing, discussing and debating. The activity used the least was having a lecture by consultants. Extra - curricular activities included out¬class activities and activities of Thai club. Activities which were mostly done at the Thai club were lectures discussion, debate and sightseeing trips. As of techniques in teaching Thai, three out of the five Demonstration Schools have established new programs and techniques. They were Demonstration Schools of Chulalonokurn University, Patumvan College of Education and Kasetsart University. There were 18 now programs; 9 of those programs have been successful such as spelling program, listening skill promotion program, and hand writing program. Nine programs were being experimented; one of them was standardized test program. From the interview, there were 21 activities which were successful in teaching, some of them were games on tone indicators, contest of poetry writing (Sakawa-Docsey) for dancing (ram-wong), problem solving about Thai language and listening to the tapes to create imagination. Students of Demonstration Schools had problems in spelling, misplacing the tone indicators, 95.24% of them had bad handwriting. Teachers had problems in arranging activities. Besides, there were problems concerning the textbooks such as repeated subject matter, not up to date expressions in literatures and the over stressing attitude which resulted in destroying some other attitudes of students. Thai clubs had problems of students, time and finance. A Suggestion from teachers was that teacher ought to always increase their knowldge. Students suggested more activities for lessons. The researcher thought that in order to arrange successful activities for teaching, teachers, students and administrator had to understand the specific purposes and to cooperate by planning ahead of time. Teachers should be creative about arranging the activities and students should try to help improve them by submitting ideas to make them suitable to the lessons and to the needs of students themselves. This would be helpful in improving activities for the teaching of Thai in the future.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2516
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: มัธยมศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18176
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Chittnipa_Pa_front.pdf421.58 kBAdobe PDFView/Open
Chittnipa_Pa_ch1.pdf631.73 kBAdobe PDFView/Open
Chittnipa_Pa_ch2.pdf395.19 kBAdobe PDFView/Open
Chittnipa_Pa_ch3.pdf320.89 kBAdobe PDFView/Open
Chittnipa_Pa_ch4.pdf1.65 MBAdobe PDFView/Open
Chittnipa_Pa_ch5.pdf729.94 kBAdobe PDFView/Open
Chittnipa_Pa_back.pdf316.31 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.