Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18521
Title: การหาค่าความกว้างและความสูงของขากรรไกรจากผลรวมความกว้างของฟ้นหน้า
Other Titles: Prediction of arch width and arch height from sum of incisors
Authors: จันทร์ทิพย์ มีศีล
Advisors: วัฒนะ มธุราสัย
อำรุง จันทวานิช
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล
Subjects: ทันตกรรม
ขากรรไกร
Issue Date: 2524
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: สิ่งที่สำคัญอย่างหนึ่งในการวิเคราะห์ เพื่อการรักษาทางทันตกรรมจัดฟัน คือ ความสัมพันธ์ของขนาดของฟันและขนาดของขากรรไกร ฟันจะเรียงได้ดีและมีประสิทธิภาพในการบดเคี้ยว นอกจากจะขึ้นกับขนาด รูปร่างของขากรรไกรและฟันแล้ว ขนาดของฟันยังต้องสัมพันธ์กับขนาดของขากรรไกรด้วย ปัจจุบันการวิเคราะห์เพื่อการรักษาทางทันตกรรมจัดฟันในประเทศไทยยังใช้ค่ามาตรฐานของชาวต่างประเทศ เพื่อให้การวิเคราะห์เป็นที่ถูกต้องแน่นอนมีค่ามาตรฐานของคนไทย ดังนั้นการศึกษานี้จึงมุ่งศึกษาหาความสัมพันธ์ของขนาดของขากรรไกรล่างกับขากรรไกรบน อัตราส่วนผลรวมความกว้างฟันหน้าบนต่อความกว้างฟันหน้าล่าง พร้อมกับหาสมการแสดงความสัมพันธ์ของความกว้างและความสูงของขากรรไกรจากผลรวมความกว้างของฟันหน้าในรูป (Y ) ̂= a+bX วิธีดำเนินการวิจัยได้กลุ่มตัวอย่างจากเด็กไทยในกรุงเทพมหานคร อายุ 9-16 ปี ชาย 160 คน หญิง 160 คน ด้วยเหตุผลที่ว่ากรุงเทพมหานครเป็นที่รวมของคนทุกภาคในประเทศไทย เลือกจากตัวแทนหลายแหล่งในกรุงเทพ ได้แก่ โรงเรียนทุกประเภทในกรุงเทพมหานคร จากผู้ป่วยที่มาพบทันตแพทย์ในโรงพยาบาลของรัฐบาล และจากคลินิกเอกชน ตามข้อกำหนดที่ได้ตั้งไว้คือ เลือกเด็กที่มีฟันเรียงเรียบ มีฟันครบตั้งแต่กรามจากด้านหนึ่งไปยังอีกด้านหนึ่งในขากรรไกรล่างและขากรรไกรบน การสบฟันตามแบบปกติ มีรูปร่างและขนาดของฟันปกติ ทำการพิมพ์ปากหล่อแบบจำลองของฟันในขากรรไกรล่างและบนของกลุ่มตัวอย่าง วัดความกว้างและความสูงของขากรรไกรและผลรวมความกว้างของฟันหน้าทั้งขากรรไกรบนและล่าง จากนั้นนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ตามวิธีการทางสถิติ Two Way ANOVA, Product-Moment of Correlation, Simple Regression ตามลำดับ ผลการวิจัยพบว่า ความกว้างขากรรไกรล่างและขากรรไกรบนมีความแตกต่างกันในเพศชายและหญิง เพศชายมีค่าเฉลี่ยความกว้างของขากรรไกรมากกว่าเพศหญิงเล็กน้อย ความกว้างขากรรไกรบนมีความสัมพันธ์สูงกับขากรรไกรล่าง กล่าวคือความกว้างขากรรไกรส่วนหน้ามีค่าความสัมพันธ์ 0.9749 ส่วนหลังมีค่าความสัมพันธ์ 0.9324 มีค่านัยสำคัญที่ระดับ 0.01 อัตราส่วนผลรวมความกว้างฟันหน้าบนต่อผลรวมความกว้างฟันหน้าล่างมีค่าเฉลี่ย 1.3959 ได้สมการหาค่าความกว้างและความสูงของขากรรไกรจากผลรวมความกว้างฟันหน้าบนในรูป (Y ) ̂= a+bX สิ่งที่น่าจะศึกษาต่อไปคือแยกศึกษาในแต่ละแบบของขากรรไกร นอกจากนั้นควรศึกษาระยะยาวเพื่อดูผลของการเจริญเติบโตของขากรรไกรในแต่ละช่วงปี ปัญหาในการวิจัยครั้งนี้คือคัดเลือกหากลุ่มตัวอย่างได้ยากมากเพราะเด็กส่วนมากมีฟันผุ มีการถอนฟันบางซี่ มีฟันเกซ้อนกัน หรือมีฟันห่าง
Other Abstract: One of the most important things in Orthodontic diagnosis is the relationships between teeth and jaws size. The teeth will align well with effective occlusal relation according to not only the size and shape of the jaws or teeth but also the relation between teeth size and jaw size. Because of lacking of Thais’ Standard, today orthodontic diagnosis for Thai patients are forced to utilize the Caucasian’s, that is terrible. The objective of this study was to search for the relation of size between upper and lower arches, ratio of the sum of upper incisors to lower incisors and the equation that could predict the arch width and arch height from sum of incisors. A Sample whose age ranging from 9-16 years, was composed children, 160 males and 160 females. For the reason that Bangkok Metropolitan is the center of Thai people from all districts. Samples were selected from many populations in Bangkok such as school children, patients in Government hospitals and private dental clinics. The criteria was set to select the child that has not loss as any teeth from first molar of one side to first molar on the other side, well aligned teeth, normal teeth form and shape and Angle’s Class I occlusion. Selected sample had their jaws recorded by irreversible hydrocolloid impression material and casts were measured. Manipulations of the raw data are Two Way ANOVA, Pearson Product-Moment of Correlation, Simple Regression. The results reveal the difference of arch width between two sexes. Mean of male arch width slightly larger than that of female. Upper and lower arch width are highly correlated, correlation coefficients were 0.9749 in the anterior and 0.9324 in the posterior, and those values are statistically significant at .01 level. The ratio of the sum of upper incisors to lower incisors is 1.3959. The prediction of arch width and arch height equation are in the form (Y ) ̂= a+bX. Further study should be done on the different types of arches and longitudinal study of annually growth of the jaws more over. The problem in this study was to select the samples that meet the requirement.
Description: วิทยานิพนธ์ (ท.ม.) -- จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,2524
Degree Name: ทันตแพทยศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ทันตกรรมจัดฟัน
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18521
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Chantip_Me_front.pdf342.95 kBAdobe PDFView/Open
Chantip_Me_ch1.pdf294.19 kBAdobe PDFView/Open
Chantip_Me_ch2.pdf339.63 kBAdobe PDFView/Open
Chantip_Me_ch3.pdf377.8 kBAdobe PDFView/Open
Chantip_Me_ch4.pdf388.3 kBAdobe PDFView/Open
Chantip_Me_ch5.pdf240.02 kBAdobe PDFView/Open
Chantip_Me_back.pdf324.92 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.