Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18724
Title: การจัดกิจกรรมชุมชนของโครงการอาคารชุดพักอาศัย : กรณีศึกษาโครงการอาคารชุดพักอาศัยในเขตกรุงเทพมหานครชั้นใน จำนวน 20 โครงการ
Other Titles: Condominium community activities arrangement : case studies of 20 condominium projects in the inner Bangkok area
Authors: มนตรี ล้อเลิศสกุล
Advisors: เสริชย์ โชติพานิช
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Sarich.C@Chula.ac.th
Subjects: อาคารชุด
บริการสังคม
การพัฒนาที่อยู่อาศัย
Condominiums
Social service
Housing development
Issue Date: 2553
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: กิจกรรมชุมชนเป็นส่วนหนึ่งในงานบริหารจัดการชุมชนโครงการอาคารชุดพักอาศัย เป็นกิจกรรมด้านเสริมสร้างความเป็นชุมชนที่พบเห็นได้โดยทั่วไป การดำเนินการก่อให้เกิดต้นทุน การศึกษามีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวคิด วิธีการจัด ตลอดถึงผลที่ได้รับจากการจัดกิจกรรมชุมชนในโครงการอาคารชุดพักอาศัย ซึ่งยังไม่เคยมีรายงานการศึกษาในด้านนี้มาก่อน โดยศึกษาจากกรณีศึกษาจำนวน 20 โครงการอาคารชุดพักอาศัยในพื้นที่เขตชั้นในกรุงเทพมหานคร การศึกษานี้ใช้วิธีการรวบรวมข้อมูลทั้งจากเอกสาร การสัมภาษณ์ผู้จัดการนิติบุคคล ตลอดถึงการส่งแบบสอบถามแก่ผู้พักอาศัยของแต่ละโครงการ จากการศึกษานี้พบว่า โครงการอาคารชุดพักอาศัยสามารถจำแนกได้เป็น 2 กลุ่มตามลักษณะการจัด ได้แก่ 1) โครงการที่มีการจัดกิจกรรมชุมชน และ 2) โครงการที่ไม่มีการจัดกิจกรรมชุมชน โดยในโครงการที่มีการจัดกิจกรรมชุมชนมีเป้าหมายในการจัดกิจกรรมชุมชนเพื่อ 1) สร้างความสัมพันธ์แก่ผู้พักอาศัยในโครงการ 2) เป็นส่วนหนึ่งของการบริการผู้พักอาศัย จากการศึกษาพบประเภทกิจกรรมชุมชน 4 ประเภท ได้แก่ 1) กิจกรรมทางศาสนา 2) กิจกรรมด้านนันทนาการ 3) กิจกรรมตามเทศกาล และ 4) กิจกรรมเชิงพาณิชย์ ในส่วนของแนวคิดในการจัดกิจกรรมชุมชน จะพบว่านโยบายของนิติบุคคลด้านการสร้างความเป็นชุมชน และสร้างความสัมพันธ์ส่งผลต่อการจัดกิจกรรมชุมชน ซึ่งนโยบายมาจากแนวคิดและความต้องการของผู้พักอาศัย คณะกรรมการและผู้จัดการนิติบุคคล ในส่วนแผนการจัดกิจกรรมชุมชน แบ่งเป็น 2 ประเภทตามการปฏิบัติงานได้แก่ 1) ปฏิบัติตามแผนงานประจำปี และ 2) ปฏิบัติเฉพาะกิจ โดยมีแหล่งที่มาของค่าใช้จ่ายในการดำเนินการออกเป็น 3 ส่วน ได้แก่ 1) ตามงบประมาณค่าใช้จ่ายส่วนกลาง 2) จัดเก็บเฉพาะครั้ง 3) จากการบริจาค โดยผู้จัดการอาคารมีความเห็นว่า การจัดกิจกรรมชุมชนให้ผลดังนี้ 1) สร้างความสัมพันธ์ระหว่างผู้พักอาศัยกับผู้พักอาศัย 2) เป็นผลงานของนิติบุคคล 3) สร้างความสัมพันธ์ระหว่างผู้พักอาศัยกับนิติบุคคล 4) เป็นกลยุทธ์ในการสร้างให้ผู้พักอาศัยเข้าร่วมกิจกรรม ทั้งนี้พบว่าผู้ที่เข้าร่วมการจัดกิจกรรมชุมชนส่งผลให้เกิดความสัมพันธ์ระหว่างผู้พักอาศัยดีขึ้น จากการศึกษาในครั้งนี้สรุปได้ว่า งานบริหารจัดการชุมชนในส่วนชองการจัดกิจกรรมชุมชน จะพบว่าอยู่ในส่วนงานของการบริการเพื่อผู้พักอาศัย ทั้งนี้ผู้พักอาศัยในส่วนของผู้เช่า เจ้าของร่วม และคณะกรรมการอาคารชุด รวมไปถึงผู้จัดการนิติบุคคล มีส่วนสำคัญในการกำหนดการจัดและรูปแบบในการจัดกิจกรรมชุมชน ซึ่งผู้จัดการอาคารเป็นผู้รับแนวทางการจัดและรูปแบบการจัดกิจกรรมชุมชนนำไปปฏิบัติ ดังนั้นการจัดกิจกรรมชุมชนสำหรับผู้จัดการอาคารควรมีการศึกษาและวิเคราะห์ความต้องการของผู้พักอาศัย และใช้แหล่งเงินในการจัดกิจกรรมชุมชนตามความเหมาะสม
Other Abstract: Organizing community activities is one of responsibilities of the condominium administrative service. The activities are common and help build a sense of community. The study aims to investigate ideas, methods and results of the community activities arrangement. There have been no studies in community activities before. The case studies are twenty condominiums in inner Bangkok. Data collection includes documents, interviews with juristic managers, and questionnaires from residents. The condominiums can be divided into two groups according to community activities arrangement: one arranges community activities, the other does not. The objectives of the arrangement are to form social relations and to service the residents. There are four types of community activities: 1) religious activities, 2) recreational activities, 3) festive activities, and 4) business activities. It is found that the juristic policy, which comes from the residents, the juristic committee, and the juristic manager, determines the activities. Types of activities are usual activities, which are included in the year plan, and special occasion activities. The budget comes from an annual fee, an extra fee, and donations. One juristic manager suggested that the benefits of those activities were: 1) to form social relations between residents, 2) to promote the work of the juristic committee, 3) to create a bond between residents and the juristic committee, and 4) to encourage the residents to join other activities. In brief, the activities help foster relations between the residents. To conclude, organizing community activities is one of the responsibilities of the condominium administrative service. The renters, the co-owners, the juristic committee, and the juristic manager are the key persons who determine the activities and the types of those activities. The building manager then acts upon the policy and sets up activities. Therefore, the building’s manager should analyze the residents’ needs and use the appropriate budget to arrange the community activities.
Description: วิทยานิพนธ์ (คพ.ม.)—จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553
Degree Name: เคหพัฒนศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เคหการ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18724
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2010.2129
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2010.2129
Type: Thesis
Appears in Collections:Arch - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
montree_lo.pdf5.9 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.