Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18809
Title: ปฏิกิริยาจริยธรรมของนักเรียน ครู และผู้ปกครองต่อพฤติกรรมทางการเมืองของผู้อื่น
Other Titles: Moral reactions of pupils teachers and parents to political behaviors of others
Authors: นิตยาพร สารีบุตร
Advisors: ธีระพร อุวรรณโณ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: Theeraporn.U@chula.ac.th
Subjects: จริยศาสตร์
พฤติกรรมมนุษย์
การเมือง -- แง่ศีลธรรมจรรยา
Issue Date: 2528
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจปฏิกิริยาจริยธรรมของนักเรียน ครูและผู้ปกครองต่อพฤติกรรมทางการเมืองของผู้อื่น ตามสภาพที่เป็นจริงในสังคมไทยปัจจุบัน และเพื่อเปรียบเทียบปฏิกิริยาจริยธรรมต่อพฤติกรรมทางการเมืองของบุคคลอื่นตามตัวแปรต้น 6 ตัวได้แก่ เพศ ศาสนา สถานภาพ อาชีพหลักของครอบครัว สภาพความเป็นเมือง และภูมิภาค กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 นักเรียนมัธยมปีที่ 3 นักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 5 ครู และผู้ปกครอง จากกรุงเทพมหานคร ภาคกลาง ภาคเหนือ ภาคใต้ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 2835 คน กลุ่มตัวอย่างได้มาโดยการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน ( Multi-stage sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบสอบถามเกี่ยวกับภูมิหลังของกลุ่มตัวอย่างและมาตรวัดปฏิกิริยาจริยธรรมต่อพฤติกรรมทางการเมือง ซึ่งคณะวิจัยภาควิชาจิตวิทยา สร้างขึ้นโดยอาศัยแนวการสร้างมาตรจำแนกความหมายของออสกูดและคณะ และมาตรจำแนกพฤติกรรมของทรัยแอนดิส สถิติที่ใช้ในการวิจัยคือ การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการทดสอบความแตกต่างโดยการเปรียบเทียบพหุคูณด้วยวิธีของเชฟเฟ ผลการวิจัยพบว่า 1. นักเรียน ครู และผู้ปกครองจะมีปฏิกิริยาจริยธรรมทางบวกแน่ๆ และจะไม่มีปฏิกิริยาจริยธรรมทางลบแน่ๆ ต่อพฤติกรรมทางการเมือง 2 พฤติกรรมคือ การสละเพื่อส่วนรวมและการจัดสวัสดิการแก่ผู้ด้อยโอกาส 2. นักเรียน ครู และผู้ปกครองจะมีปฏิกิริยาจริยธรรมทางบวกแน่ๆ และอาจจะไม่มีปฏิกิริยาจริยธรรมทางลบต่อพฤติกรรมทางการเมือง 1 พฤติกรรมคือ การปฏิบัติตามระเบียบแบบแผนอย่างเคร่งครัด 3. นักเรียน ครู และผู้ปกครองจะมีปฏิกิริยาจริยธรรมทางบวก และอาจจะไม่มีปฏิกิริยาจริยธรรมทางลบต่อพฤติกรรมทางการเมือง 3 พฤติกรรมคือ การเป็นหูเป็นตาให้เจ้าหน้าที่บ้านเมือง การสละสิทธิเสรีภาพส่วนบุคคล และการมีส่วนร่วมทางการเมือง 4. นักเรียน ครู และผู้ปกครองอาจจะไม่มีปฏิกิริยาจริยธรรมทางลบ และตัดสินใจไม่ได้ว่าจะมีหรือไม่มีปฏิกิริยาจริยธรรมทางบวกต่อพฤติกรรมทางการเมือง 1 พฤติกรรมคือ การลดหย่อนและการให้อภัยโทษ 5. นักเรียน ครู และผู้ปกครองตัดสินใจไม่ได้ว่าจะมีหรือไม่มีปฏิกิริยาจริยธรรมทางบวกและตัดสินใจไม่ได้ว่าจะมีหรือไม่มีปฏิกิริยาจริยธรรมทางลบต่อพฤติกรรมทางการเมือง 3 พฤติกรรมคือ การยอมปฏิบัติตามกฎหมายบ้านเมือง การต่อต้าน และการปกครองด้วยความรุนแรง 6. นักเรียน ครู และผู้ปกครองตัดสินใจไม่ได้ว่าจะมีหรือไม่มีปฏิกิริยาจริยธรรมทางลบและอาจจะไม่มีปฏิกิริยาจริยธรรมทางบวกต่อพฤติกรรมทางการเมือง 1 พฤติกรรมคือ อคติในการปฏิบัติต่อบุคคลต่างๆ 7. นักเรียน ครู และผู้ปกครองอาจจะไม่มีปฏิกิริยาจริยธรรมทางบวก และอาจจะมีปฏิกิริยาจริยธรรมทางลบต่อพฤติกรรมทางการเมือง 6 พฤติกรรมการให้และการใช้อภิสิทธิ์ การใช้ตำแหน่งหน้าที่หาผลประโยชน์ การทุจริตในการเลือกตั้ง การปิดบังผู้กระทำความผิดกฎหมาย การรับสินบนและการให้สินบน 8. นักเรียน ครู และผู้ปกครอง อาจจะมีปฏิกิริยาจริยธรรมทางลบ และจะไม่มีปฏิกิริยาจริยธรรมทางบวกแน่ๆ ต่อพฤติกรรมทางการเมือง 1 พฤติกรรมคือ การแจ้งความเท็จ 9. ตัวแปรต้นทั้ง 6 ตัวแปร มีผลต่อปฏิกิริยาจริยธรรมทั้งทางบวกและทางลบต่อพฤติกรรมทางการเมืองของกลุ่มตัวอย่างในระดับมีนัยสำคัญทางสถิติ (P  .05) ดังรายละเอียดต่อไปนี้ 9.1 เพศชายและเพศหญิง มีปฏิกิริยาจริยธรรมต่อพฤติกรรมทางการเมืองแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P  .05) จำนวน 3 พฤติกรรม 9.2 บุคคลที่นับถือศาสนา พุทธ คริสต์ และอิสลาม มีปฏิกิริยาจริยธรรมต่อพฤติกรรมทางการเมืองแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P  .05) จำนวน 4 พฤติกรรม 9.3 นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 นักเรียนชั้นมัธยมปีที่ 3 และนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ครู และผู้ปกครองมีปฏิกิริยาจริยธรรมต่อพฤติกรรมทางการเมืองแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P  .05) จำนวน 13 พฤติกรรม 9.4 บุคคลจากครอบครัวที่มีอาชีพเป็นผู้รับราชการ ผู้ใช้แรงงาน ธุรกิจการค้าและลูกจ้างเอกชนมีปฏิกิริยาจริยธรรมต่อพฤติกรรมทางการเมืองแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P  .05) จำนวน 4 พฤติกรรม 9.5 บุคคลจากใจกลางมหานคร ชานมหานคร อำเภอเมือง และอำเภอชนบท มีปฏิกิริยาจริยธรรมต่อพฤติกรรมทางการเมืองแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P  .05) จำนวน 3 พฤติกรรม 9.6 บุคคลจากกรุงเทพมหานคร ภาคกลาง ภาคเหนือ ภาคใต้ และภาคตะวันออกเฉียงหเนือ มีปฏิกิริยาจริยธรรมต่อพฤติกรรมทางการเมืองแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P  .05) จำนวน 12 พฤติกรรม
Other Abstract: The purposes of this research were: (1) to survey existing moral reactions of pupils, teachers and parents to political behaviors of others; (2) to compare moral reactions according to the following six independent variables ; sex, religion, status, family occupation subjects, selected through a Multi-stage sampling method, were pupils in Pratomsuksa 6, Matayom 3, Matayomsuksa 5, teachers and parents in the Bangkok Metropolis and the Central, Northern, Southern and northeastern regions. The research instruments were questionnaires for biographical data and moral reaction scale. The scale was constructed by the researchers in the Psychology Department, following the techniques of semantics differential scale and Triandis’ behavioral differential scale. The data were analyzed through one-way analysis of variance and multiple comparisons using Scheffe method. The results indicated that 1. Pupils, teachers and parents definitely showed positive moral reactions and did not definitely show negative moral reactions to two behaviors ; contributing to the common good and arranging welfare for the disadvantaged. 2. Pupils, teachers and parents definitely showed positive moral reactions and might not show negative moral reactions to one behaviors ; obeying the rules strictly. 3. Pupils, teachers and parents might not show positive moral reactions and might not show negative moral reactions to three behaviors ; watching and reporting wrong doing or alerting circumstances to the government officers, forgoing personal rights and participating in politics. 4. Pupils, teachers and parents might not show negative moral reactions and could not make decision to show positive moral reactions to one behaviors ; decreasing punishment for persons doing wrong through negligence. 5. Pupils, teachers and parents could not make decision to show positive moral reactions and could not make decision to show negative moral reactions to three behaviors : obeying the law, protesting and governing through the use of violence. 6. Pupils, teachers and parents could not make decision to show negative moral reactions and might not show positive moral reactions to one behaviors : behaving with prejudice towards others. 7. Pupils, teachers and parents might not show positive moral reactions and might not show negative moral reactions to six behaviors ; giving and taking privileges, using duty to gain benefit, being dishonest in election, concealing law offenders, giving bribe and taking bribe. 8. Pupils, teachers and parents might show negative moral reactions and did not definitely show positive moral reactions to one behaviors ; making false statements. 9. The six independent variables significantly affected the subjects moral reactions to political behaviors (P  .05) as follows : 9.1 There were significant differences in moral reactions to political behaviors for three behaviors between male and female subjects (P  .05). 9.2 There were significant differences in moral reactions to political behaviors for four behaviors among Buddhist, Christian and Moslem subjects (P  .05). 9.3 There were significant differences in moral reactions to political behaviors for thirteen behaviors, among the pupils from Pratomsuksa 6, Matayom 3 and Matayomsuksa 5, teacher and parents (P  .05). 9.4 There were significant differences in moral reactions to political behaviors for four behaviors among the subjects from families with various occupations : Civil service, manual labor, business and white collar worker (P  .05). 9.5 There were significant differences in moral reactions to political behaviors for three behaviors among the subjects from Bangkok, the suburbs, the Amphoe Muang, and Amphoes in rural areas (P  .05). 9.6 There were significant differences in moral reactions to political behaviors for twelve behaviors among the subjects from Bangkok metropolis, the central, Northern, Southern and Northeasthern regions (P  .05)
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2528
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: จิตวิทยา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18809
ISBN: 9745645451
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Nitayaporn_Sa_front.pdf405.63 kBAdobe PDFView/Open
Nitayaporn_Sa_ch1.pdf868.21 kBAdobe PDFView/Open
Nitayaporn_Sa_ch2.pdf626.39 kBAdobe PDFView/Open
Nitayaporn_Sa_ch3.pdf1.1 MBAdobe PDFView/Open
Nitayaporn_Sa_ch4.pdf471.77 kBAdobe PDFView/Open
Nitayaporn_Sa_ch5.pdf274.65 kBAdobe PDFView/Open
Nitayaporn_Sa_back.pdf550.5 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.