Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19130
Title: ความคิดเห็นเกี่ยวกับสมรรถภาพในการสอนของนักศึกษาครู ระดับประกาศนียบัตรวิชาการศึกษาชั้นสูง
Other Titles: Opinions concerning teaching competency of student teachers at the higher certificate of education level
Authors: สุทธิ ประจงศักดิ์
Advisors: บุญมี เณรยอด
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: Boonmee.n@chula.ac.th
Subjects: การฝึกสอน
ครู
Issue Date: 2521
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วัตถุประสงค์ประสงค์ของการวิจัย การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะสำรวจความคิดเห็นเกี่ยวกับสมรรถภาพในการสอนของนักศึกษาครูระดับประกาศนียบัตรวิชาการศึกษาชั้นสูง ในสถาบันการฝึกหัดครูที่อยู่ในกลุ่มวิทยาลัยครูภาคกลาง โดยมีวัตถุประสงค์เฉพาะในการวิจัยดังนี้ 1. เพื่อสำรวจความคิดเห็นและสภาพที่เป็นจริงเกี่ยวกับสมรรถภาพทางวิชาการของนักศึกษาครูระดับประกาศนียบัตรวิชาการชั้นสูง 2. เพื่อสำรวจความคิดเห็นและสภาพที่เป็นจริงเกี่ยวกับสมรรถภาพในการถ่ายทอดความรู้ของนักศึกษาครูระดับประกาศนียบัตรวิชาการชั้นสูง 3. เพื่อสำรวจความคิดเห็นสภาพที่เป็นจริงเกี่ยวกับสมรรถภาพทางการบริหารที่เกี่ยวข้องกับการสอนของนักศึกษาครูระดับประกาศนียบัตรวิชาการศึกษาชั้นสูง วิธีดำเนินการวิจัย กลุ่มตัวอย่างประชากรที่ใช้ในการวิจัยนี้ ได้แก่นักศึกษาครูระดับประกาศนียบัตรวิชาการศึกษาชั้นสูงที่ผ่านการฝึกสอนมาแล้วในปีการศึกษา 2520 ครูพี่เลี้ยง ครูใหญ่ และอาจารย์นิเทศก์ ซึ่งปฏิบัติงานอยู่ในปีการศึกษา 2520 กลุ่มตัวอย่างประชากรทั้ง 4 กลุ่ม อยู่ในกลุ่มวิทยาลัยครูภาคกลาง ผู้วิจัยได้ส่งแบบสอบถามออกไปจำนวน 870 ฉบับ และได้รับแบบสอบถามคืนมาจากนักศึกษา 395 ฉบับ จากครูพี่เลี้ยง 156 ฉบับ จากครูใหญ่ 111 ฉบับ และอาจารย์นิเทศก์ 121 ฉบับ รวมเป็น 783 ฉบับ คิดเป็นร้อยละ 90.00 ผลของการวิจัย ผลของการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1.ความคิดเห็นเกี่ยวกับสมรรถภาพทางวิชาการ นักศึกษาครูควรมีความรู้ ความเข้าใจในเนื้อวิชาที่สอนเป็นอย่างยิ่ง การค้นคว้าหาความร้อยู่เสมอ การศึกษาเพิ่มเติมในวิชาที่สอน ความแม่นยำในเนื้อหาวิชา เป็นความสำคัญรองลงมา ในสภาพที่เป็นจริง นักสึกษาครูได้ใช้ตำราแบบเรียนมากที่สุด ความรู้ความเข้าใจในเนื้อหาวิชาที่สอน ความสามารถในการเขียนจุดมุ่งหมายเชิงพฤติกรรม เป็นสิ่งที่นักศึกษาครูมีความรู้และได้ปฏิบัติรองลงมา 2.ความคิดเห็นเกี่ยวกับสมรรถภาพในการถ่ายทอดความรู้ นักศึกษาครูควรมีความสามารถและทักษะในการจูงใจผู้เรียนมากที่สุด ความสามารถและทักษะในการสอนให้นักเรียนรู้จักแก้ปัญหา การใช้กระดานดำ การสอนเพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ การนำเข้าสู่บทเรียน การแสดงท่าทางประกอบการสอน การสรุปบทเรียน เป็นความสำคัญรองลงมา ในสภาพที่เป็นจริง สิ่งที่นักศึกษามีความสามารถและทักษะมากที่สุด ได้แก่ ความสามารถและทักษะในการใช้กระดานดำ รองลงมาคือความสามารถและทักษะในการนำเข้าสู่บทเรียน 3. ความคิดเห็นและสภาพที่เป็นจริงเกี่ยวกับการวางแผนการสอน นักศึกษาครูได้มีการกำหนดจุดประสงค์ของการสอนทุกครั้ง 4. ความคิดเห็นเกี่ยวกับการจัดการสอนและการจัดห้องเรียน นักศึกษาครูควรจะมีความสามารถในการสร้างบรรยากาศที่ดีในห้องเรียน ในสภาพที่เป็นจริงนักศึกษาครูมีความรู้ ความสามารถและการปฏิบัติในการทำโครงการสอน บันทึกการสอน และสามารถนำไปปฏิบัติได้มากที่สุด 5. ความคิดเห็นเกี่ยวกับการตัดสินใจในการสอน นักศึกษาครูครูควรกล้าแสดงความคิดเห็นและกระทำในสิ่งที่มีเหตุผลมากที่สุด ในสภาพที่เป็นจริง นักศึกษาครูมีอารมณ์มั่นคงและควบคุมอารมณ์ได้ 6. ความคิดเห็นเกี่ยวกับการประเมินผลการสอน นักศึกษาครูควรจะได้มีการนำผลการประเมินมาปรับปรุงการสอนใหม่ ในสภาพที่เป็นจริง นักศึกษาครูได้ใช้วิธีการต่างๆในการประเมินผลการสอนมากที่สุด
Other Abstract: Purposes of the Study ; Purposes of this study were to survey opinions and to collect background information concerning teaching competency of student teachers at the higher certificate of education level in teachers’ colleges in the Central Zone. The areas in which to be surveyed concerning teaching competency were as follow; subject –matter, presentation, and teaching administration. Procedure ; The sample of this study composed of 4 groups of people: students at the higher certificate of education level who had done their practice teaching in 1997, school teachers who acted as the student advisors, school principals and practice-teaching supervisors. The sample were collected from the area of the teachers ‘colleges in the Central Zone. Data were collected through the use of questionnaires. Of the total 870 questionnaires sent out, 783 or 90.00 percent were completed and returned. Of the total returned 395 were from students, 156 from the students advisors, 111 from the school principals, and 121 from the college practice-teaching supervisors. Findings ; 1. Opinions concerning subject-matter competency: The student teachers should have profound compression in the subject-matter of the lesson to be taught. Less important are regular acquisition of professional knowledge, gaining more understanding and precise understanding of the subject-matter of lessons to be taught. In actual performance concerning, the most frequently practice is the use of school textbooks. Less frequently practice is to write the behavioral objectives. 2. Opinions concerning the presentation competency: The most important is the ability and skills to motivate the learners. Ability and skills to enable learners to solve their problems, to use chalkboard, to use gestures, to summarize the lessons are respectively less important. In actual performance concerning, the use of chalkboard is the top ability and top skills which is the most frequently practice of the students. The less is the ability and skills to lead pupils into the lesson. 3. Opinions and actual performance concerning lesson planning competency: The student should lay out objectives of each lesson every time before teaching. 4. Opinions concerning teaching administration and classroom organization: The student should be able to made a good classroom atmosphere. In actual performance concerning, the student is satisfactorily capable of making course syllabuses and lesson plans, and he makes them most frequently. 5. Opinions concerning decision-making competency: The ability to express ideas freely and to do things on a reasonable bases should be of first priority. In actual performance concerning, the student emotion stability and he is able to control his temper well. 6. Opinions concerning assessment of teaching achievement competency: The student should improve his teaching efficiency through the use of the assessment feedback. In actual performance concerning, the student uses various techniques assess his teaching achievement.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2521
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: บริหารการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19130
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sutthi_Pr_front.pdf583.63 kBAdobe PDFView/Open
Sutthi_Pr_ch1.pdf527.23 kBAdobe PDFView/Open
Sutthi_Pr_ch2.pdf1.54 MBAdobe PDFView/Open
Sutthi_Pr_ch3.pdf363.78 kBAdobe PDFView/Open
Sutthi_Pr_ch4.pdf2.71 MBAdobe PDFView/Open
Sutthi_Pr_ch5.pdf728.14 kBAdobe PDFView/Open
Sutthi_Pr_back.pdf1.88 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.