Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19139
Title: | ปัจจัยคัดสรรที่เกี่ยวข้องกับการบัณฑิตศึกษาสาขาสังคมศาสตร์ ในทัศนะของนิสิตนักศึกษามหาบัณฑิต |
Other Titles: | Selected factors relating to graduate study in social sciences as perceived by graduate students |
Authors: | สุนีย์ ช่างเจริญ |
Advisors: | พรชุลี อาชวอำรุง |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Advisor's Email: | Pornchulee.A@Chul.ac.th |
Subjects: | สังคมศาสตร์ -- การศึกษาและการสอน (อุดมศึกษา) การศึกษาขั้นอุดมศึกษา -- หลักสูตร นักศึกษามหาบัณฑิต -- ทัศนคติ |
Issue Date: | 2527 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | วัตถุประสงค์ 1.เพื่อศึกษาถึงปัจจัยคัดสรรที่เกี่ยวข้องกับการบัณฑิตศึกษาสาขาสังคมศาสตร์ในทัศนะของนิสิตนักศึกษามหาบัณฑิตรวม 4 ด้าน คือด้านหลักสูตร ด้านการเรียนการสอน ด้านการบริการทางวิชาการ ด้านความสัมพันธ์ทางวิชาการระหว่างอาจารย์กับนิสิตนักศึกษาและระหว่างนิสิตนักศึกษาด้วยกันเอง 2. เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของนิสิตนักศึกษา มหาบัณฑิตที่มีต่อปัจจัยคัดสรรที่เกี่ยวข้องกับการบัณฑิตศึกษาสาขาสังคมศาสตร์ จำแนกตามเพศ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและประสบการณ์ในการทำงาน วิธีดำเนินการวิจัยตัวอย่างประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ประกอบด้วนนิสิตระดับบัณฑิตศึกษาสาขาสังคมศาสตร์ ในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ จำนวน 658 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มตัวอย่างตามวัตถุประสงค์ (purposive sampling) และการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย ( simple random sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นแบบสำรวจที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นเอง โดยอาศัยความคิดเห็นของผู้ทรงคุณวุฒิและทำการทดลองขั้นต้นกับนิสิตนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาจำนวน 30 คน และนำข้อมูลมาวิเคราะห์หาค่าความเที่ยง โดยวิธีสัมประสิทธิอัลฟา ( coefficient alpha) ซึ่งได้ค่าความเที่ยงเท่ากับ .96 แล้วจึงนำไปใช้กับกลุ่มตัวอย่างจริงในการเก็บรวบข้อมูลนั้นผู้วิจัยได้ส่งแบบสำรวจไปยังกลุ่มตัวอย่างจำนวน 658 ฉบับ และได้รับคืนมาในสภาพที่สมบูรณ์ 489 ฉบับ คิดเป็นร้อยละ 74.32 หบัวจากนั้นนำมาวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้วิธีหาค่าคะแนนเฉลี่ยหรือค่ามัชณิมเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานที-เทสต์ การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว ผลการวิจัย 1. นิสิตนักศึกษามีความเห็นว่าหลักสูตรและการสอนการศึกษาระดับบัณฑิตสาขาสังคมศาสตร์ช่วยให้นิสิตนักศึกษามีคุณลักษณะตามข้อกระทงในแบบสำรวจโดยรวมๆ อยู่ในเกณฑ์มาก ส่วนด้านการเรียนการสอนและการบริการทางวิชาการที่ปฏิบัติอยู่ในปัจจุบัน นิสิตนักศึกษาเห็นว่ามีการปฏิบัติตามข้อกระทงในแบบสำรวจพอสมควร และความสัมพันธ์ทางวิชาการระหว่างอาจารย์กับนิสิตนักศึกษาระหว่างนิสิตนักศึกษาด้วยกันเอง นิสิตนักศึกษาเป็นยังอยู่ในระดับต่ำ 2. การเปรียบเทียบค่าคะแนนเฉลี่ยของคะแนนความคิดเห็นพบว่า นิสิตนักศึกษาชายและหญิงมีความคิดเห็นต่อปัจจัยคัดสรรที่เกี่ยวข้อกับการบัณฑิตสาขาสังคมศาสตร์ทุกด้านไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ นิสิตนักศึกษาที่มีผลสัมฤทธิทางการเรียนแตกต่างกันมีความคิดเห็นต่อด้านหลักสูตรแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และด้านความสัมพันธ์ทางววิชาการระหว่างอาจารย์กับนิสิตนักศึกษาแตดต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 นอกนั้นไท่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ นิสิตนักศึกษาที่มีประสบการณ์ต่างกันมีความคิดเห็นแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ในด้านหลักสูตรและด้านการเรียนการสอน นอกนั้นไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 1. ความต้องการของนิสิตนักศึกษาเกี่ยวกับปัจจัยคัดสรร 1.1 ต้องการเนื้อหาวิชาที่เกี่ยวข้องกับปัญหาของสังคมและสามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้ 1.2 ต้องการให้อาจารย์ใช้วิธีการสอนหลายรูปแบบเน้นการอภิปราย สัมมนา และต้องการให้อาจารย์เป็นกันเองกับนิสิตนักศึกษาและยอมรับฟังความคิดเห็นของนิสิตนักศึกษา 1.3 ต้องการให้มีหนังสือ วารสาร เอกสารในห้องสมุดที่ทันสมัยและมากกว่านี้ 1.4 ต้องการให้เพื่อนมีความร่วมมือกันในการศึกษาให้มากขึ้น |
Other Abstract: | Purpose of the Study 1. To investigate graduate student’s opinions regarding curriculum, teaching and learning activities, academic service, relation between faculties and graduate students and among the students themselves. 2. To compare the opinions of graduate students regarding selected factors relating to graduate study in social sciences by sex, different levels of academic achievements and different occupations. Procedures The sample in this study comprised of 658 graduate students in social sciences from Chulalongkorn University, Kasetsart University, Thammasat University, and the National Institute of Development Administration. They were dram from these institutions by means of a purposive sampling technique and simple random sampling. The instruments employed in this study were opinionative constructed by researcher relying on the suggestions of authorities. They were tried out with 30 graduate students. A coefficient alpha approach was used to calculate the reliability of the instruments which yielded a value of 0.96 Subsequently, they were tested out with real sample groups. Research Findings 1. The data analysis indicated that the opinion of graduate students were in “strongly agree” level regarding curriculum. However, in learning and teaching activities and academic service were in graduate students and among the students themselves opinions were in “little agree” level. 2. There were no significant difference among male and female graduate students for the selected factors relating to graduated study in social sciences. 3. High academic achievement students ranked significantly higher than middle academic in curriculum at the .01 level and in relation between faculties and graduate students at the .05 level. 4.Significant difference among those with different occupations were noted in curriculum and learning factors at the .01 level. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2527 |
Degree Name: | ครุศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | อุดมศึกษา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19139 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Sunee_Ch_front.pdf | 576.5 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Sunee_Ch_ch1.pdf | 768.11 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Sunee_Ch_ch2.pdf | 1.62 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Sunee_Ch_ch3.pdf | 499.92 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Sunee_Ch_ch4.pdf | 2.12 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Sunee_Ch_ch5.pdf | 1.26 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Sunee_Ch_back.pdf | 1.09 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.