Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19221
Title: | การรักษาผู้ป่วยโรคกรดไหลย้อนด้วยพริกแดงป่น |
Other Titles: | Treament of nerd (nonerosive reflux disease) with red chili powder (capsicum) |
Authors: | สุขประเสริฐ จุฑากอเกียรติ |
Advisors: | สุเทพ กลชาญวิทย์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์ |
Advisor's Email: | Sutep.G@Chula.ac.th |
Subjects: | โรคกรดไหลย้อน -- การรักษา |
Issue Date: | 2551 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | ความสำคัญและที่มาของปัญหางานวิจัย กลไกการเกิดโรคกรดไหลย้อนเกิดจากหลายปัจจัยร่วมกันทั้งพันธุกรรม และปัจจัยภายนอก อาการต่างๆที่เกิดขึ้นเป็นผลรวมที่เกิดจากการไหลย้อนขึ้นมาของน้ำย่อยจากกระเพาะอาหาร และการที่หลอดอาหารตอบสนองไวขึ้นต่อน้ำย่อยที่ไหลย้อนขึ้นมา มีการศึกษาพบว่า capsaicin receptors ชึ่งเป็นเมื่อถูกกระตุ้นโดยพริกแดงป่นหรือกรดทำให้มีอาการแสบร้อนหน้าอกในหลอดอาหารของผู้ป่วยโรคกรดไหลย้อนที่ไม่มีการอักเสบของหลอดอาหาร (NERD) มีจำนวนเพิ่มมากขึ้น การกระตุ้น capsaicin receptors อย่างต่อเนื่องสามารถทำให้การรับรู้ความรู้สึกลดลง (desensitization) แต่ยังไม่มีการศึกษาผลของการรับประทานพริกแดงป่นอย่างต่อเนื่องต่ออาการของโรคกรดไหลย้อน วัตถุประสงค์ของการวิจัย เพื่อศึกษาว่าการให้ผู้ป่วยที่มีอาการโรคกรดไหลย้อนรับประทานพริกแดงป่นต่อเนื่อง สามารถทำให้อาการของโรคกรดไหลย้อนดีขึ้นหรือไม่ ระเบียบวิธีการวิจัย ผู้ป่วยโรคกรดไหลย้อนที่ไม่มีการอักเสบของหลอดอาหาร (NERD)ที่มีผลการตรวจใส่สายวัดกรดในหลอดอาหารเป็นบวก 8 คนเข้าร่วมการศึกษา โดยแต่ละคนจะถูกสุ่มให้ได้รับยาหลอก หรือพริกแดงป่น 1 กรัมบรรจุในแคปซูลทานก่อนอาหาร 3 เวลาต่อเนื่องเป็นเวลา 6 สัปดาห์ ผู้ป่วยจะได้รับการใส่สายวัดกรดในหลอดอาหาร (MII-pH monitoring) เป็นเวลา 2 ชั่วโมงหลังทานอาหารมาตรฐานผสมพริกแดงป่น (บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ไข่ไก่หนึ่งฟอง และพริกป่นแดงปริมาณสองกรัม )ในครั้งแรก และสัปดาห์ที่ 6 ประเมินความรุนแรงของอาการโรคกรดไหลย้อน (แสบร้อนหน้าอก กรดไหลย้อน อาหารไหลย้อน แสบร้อนลิ้นปี่ ปวดลิ้นปี่ แน่นท้อง คลื่นไส้ เจ็บหน้าอก อิ่มง่าย) ที่สัปดาห์ที่ 1, 2, 4, 6 โดยใช้แบบสอบถาม (100 mm VAS) เมื่อครบ 6 สัปดาห์ ให้ผู้ป่วยพัก 6 สัปดาห์ และนัดผู้ป่วยมาทำการศึกษาดังข้างต้นอีกครั้งแต่เปลี่ยนยาเป็นคนละชนิดกับในครั้งแรก ผลการวิจัย การรับประทานพริกแดงป่นอย่างต่อเนื่องสามรถลดอาการโดยรวมของโรคกรดไหลย้อน อาการที่เกิดจากกรดไหลย้อน โดยเฉพาะอาการแสบร้อนหน้าอก และความรู้สึกอาหารไหลย้อน ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05) โดยไม่มีผลต่อการเกิดกรด หรือน้ำย่อยไหลย้อนในหลอดอาหารหลังทานอาหาร สรุป การรับประทานพริกแดงป่นต่อเนื่องในผู้ป่วยที่มีอาการโรคกรดไหลย้อน สามารถลดอาการแสบร้อนหน้าอก และความรู้สึกอาหารย้อนขึ้นมาในหน้าอก โดยไม่มีผลต่อการเกิดกรดไหลย้อนหลังทานอาหาร |
Other Abstract: | Background Capsiacin receptors are increased in the esophagus of NERD patients. Heartburn may develop by acid stimulation of these receptors during gastroesophageal refluxes (GER) and may be improved by desensitization by capsaicin containing chili. Objective To determine the effects of chronic chili ingestion on GER symptoms in NERD patients. Methods 8 NERD patients with positive 24 hr pH tests were included. All patients received placebo or 1 gm chili powder in 2 capsules orally before meals 3 times/day (capsaicin 2.7 mg/day) for 6 weeks in a randomized double-blinded crossover fashion with a 6-week washout period. Heartburn, food regurgitation, epigastrium burning, epigastrium pain, abdominal fullness, nausea, chest discomfort, and early satiety symptom scores were assessed and compared between placebo and chili treatment by 10 cm long visual analog scales (VAS) at week 0, 1, 2, 4, and 6 of the studies. Two hours post-prandial acid and non-acid refluxes were evaluated in all patients at baseline and the end of treatment using the MII-pH monitoring after ingestion of a cup of noodle soup with 2 gm red chili. Results All patients completed the studies without serious adverse events. Red chili significantly decreased total symptom scores(10±9 vs 20±14), GERD symptom (sum of heartburn, acid regurgitation and food regurgitation) scores (0.9±1.2 vs 4.9±2.4), heartburn symptom scores (0.4±0.6 vs 3.7±1.6), and food regurgitation symptom scores (0.5±0.8 vs 1.3±1.6)in NERD patient at the end of treatments compared to placebo (p<0.05). Other symptoms were not significantly improved by red chili (p>0.05). Although the number of gastroesophageal refluxes was decreased, the 2 hr postprandial acid and non-acid refluxes, both numbers and durations were not significantly different comparing between placebo and chili treatment at both before and the end of treatments(p>0.05). Conclusions Chronic chili ingestion improves heartburn and food regurgitation symptom in NERD patients compared to placebo without significant effect on postprandial gastroesophageal acid/non-acid refluxes. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551 |
Degree Name: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | อายุรศาสตร์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19221 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2008.203 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2008.203 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Med - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
sukprasert_ju.pdf | 1.16 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.