Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19467
Title: ปัญหากฎหมายเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจให้บริการดูแลผู้สูงอายุ
Other Titles: Legal problems relating to business of elderly care service
Authors: พิชาณี สำเภาเงิน
Advisors: สุษม ศุภนิตย์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์
Advisor's Email: Susom.S@Chula.ac.th
Subjects: ผู้สูงอายุ -- การดูแล -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ
กฎหมายธุรกิจ -- ไทย
กฎหมายธุรกิจ -- สิงคโปร์
Issue Date: 2553
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การประกอบธุรกิจให้บริการดูแลผู้สูงอายุเป็นธุรกิจที่มีบทบาทสำคัญในระบบสุขภาพผู้สูงอายุและมีแนวโน้มว่าจะมีความสำคัญมากขึ้นในอนาคต รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 กำหนดแนวนโยบายแห่งรัฐในการส่งเสริม สนับสนุนการให้บริการด้านสุขภาพ ซึ่งควรหมายรวมถึงการบริการดูแลผู้สูงอายุด้วย โดยสภาพของการประกอบธุรกิจให้บริการดูแลผู้สูงอายุต้องอาศัยความรู้ความเชี่ยวชาญเกี่ยวกับการดูแลผู้สูงอายุเป็นการเฉพาะ และเป็นกิจการที่อาจก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพของผู้สูงอายุซึ่งรับบริการได้ กฎหมายที่ใช้กำหนดมาตรฐานของการประกอบธุรกิจจึงเป็นสิ่งสำคัญเพื่อประโยชน์ในการจัดระเบียบการประกอบกิจการและการคุ้มครองผู้รับบริการตามรัฐธรรมนูญ จากการศึกษาวิจัยพบว่ากฎหมายไทยในปัจจุบันไม่สามารถปรับใช้กับการประกอบธุรกิจให้บริการดูแลผู้สูงอายุได้อย่างเหมาะสมและไม่สามารถคุ้มครองผู้รับบริการได้อย่างเพียงพอ กล่าวคือ 1) หลักเกณฑ์ที่ใช้กำกับดูแลการประกอบธุรกิจให้บริการดูแลผู้สูงอายุในสถานบริการ ทั้งสถานบริการที่ให้การดูแลระดับพื้นฐานและระดับสูงไม่เหมาะสมในการดูแลผู้สูงอายุ 2) หลักเกณฑ์ที่ใช้กำกับดูแลการให้บริการดูแลผู้สูงอายุที่บ้านในแต่ละท้องถิ่นแตกต่างกัน 3) การให้บริการแนะนำผู้ดูแลให้แก่ผู้รับบริการไม่ชัดเจนว่าเป็นกิจการที่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของกฎหมายหรือไม่ 4) การไม่มีบทบังคับเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคเกี่ยวกับธุรกิจบริการ 5) มาตรการในทางกฎหมายสัญญาและข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม ซึ่งต้องอาศัยกระบวนการทางศาล ไม่สามารถให้ความเป็นธรรมแก่ผู้รับบริการจากการกำหนดข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรมของผู้ประกอบการได้ในเวลาอันสมควร 6) มาตรการตามกฎหมายละเมิดเป็นเพียงมาตรการในเชิงรับ เพื่อชดใช้เยียวยาความเสียหายที่เกิดขึ้นแล้ว มิใช่มาตรการเชิงป้องกัน มิให้ความเสียหายเกิดขึ้น ดังนั้น ผู้วิจัยจึงเห็นควรให้กำกับดูแลการประกอบธุรกิจให้บริการดูแลผู้สูงอายุทุกประเภท และกำหนดมาตรฐานในการประกอบธุรกิจ ตั้งแต่การเริ่มประกอบการ การประกอบการ และการเลิกประกอบการ โดยแบ่งการดำเนินการด้านกฎหมายเป็น 2 มาตรการ คือ 1) มาตรการระยะสั้น โดยแก้ไขพระราชบัญญัติสถานพยาบาล พ.ศ. 2541 ให้สถานพยาบาลรวมถึงสถานบริการที่ให้การดูแลระดับพื้นฐานด้วย และให้ออกประกาศกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์การบริการผู้สูงอายุในสถานพยาบาล และอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535 ออกกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์การประกอบธุรกิจให้บริการดูแลผู้สูงอายุที่บ้าน เพื่อเป็นหลักเกณฑ์กลางให้ราชการส่วนท้องถิ่นต้องปฏิบัติตาม และ 2) มาตรการระยะยาว โดยบัญญัติกฎหมายขึ้นใหม่เพื่อกำกับดูแลและส่งเสริมการประกอบธุรกิจให้บริการดูแลผู้สูงอายุโดยเฉพาะ และควรมีหน่วยงานที่กำกับดูแลธุรกิจนี้ขึ้นโดยเฉพาะด้วย ซึ่งประกอบด้วยผู้แทนจากภาครัฐและเอกชน เพื่อความมีประสิทธิภาพและเอกภาพในการกำกับดูแลและการส่งเสริมการประกอบธุรกิจให้บริการดูแลผู้สูงอายุ
Other Abstract: The business of elderly care service plays a vital role in elderly care system and trends to increase in the future. According to the Thai Constitution B.E. 2550, it is the state policy to supervise and support the sustainability in good health for all and the elderly care service is unquestionable fall within this policy. Since the nature of elderly care service business may harm elder’s health and needs special knowledge and skills of service providers, thus under the Constitution, legislations stipulating standards of this business are the essential mechanism to regulate such business and protect service consumers accordingly. This research revealed that the existing laws are not suitable enough to regulate service providers and to protect service consumers. 1) Regulations applied to care homes with nursing and care home without nursing are inappropriate. 2) Regulations regulating home health care service are varied in each area. 3) The introductory agency service is not fully clarified whether it is a regulated business. 4) There is no measure under consumer protection law to control service business. 5) Measures under law on contract and unfair contract term which depend on the court procedure cannot provide service consumers fairness in due course. 6) Measure under the tort law is to remedy and indemnify occurred loss and damage, not a preventive measure. The recommendations are that the business of elderly care service both in form of residential care and home health care should be regulated and standardized. The legislations must set standards regarding commencement, operation and termination of such business. Legal measures are separated into 2 steps: 1) in a short term, the definition of “sanatorium” under the Sanatorium Act B.E. 2541 should be amended to include care home without nursing. In addition, the ministerial notification regarding standards of elderly service in a sanatorium under the Sanatorium Act B.E. 2541 and the ministerial regulation specifying rules of home health care service under the Public Health Act B.E. 2535 should be announced; and 2) in a long term, to serve the state policy under the Constitution and to supervise and promote the business sector efficiently and integrally, the Elderly Care Service Business Act should be drafted and enacted. Moreover, the specific committee should be set up as a responsible authority.
Description: วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553
Degree Name: นิติศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิติศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19467
Type: Thesis
Appears in Collections:Law - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Pichanee_sa.pdf3.73 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.