Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19511
Title: ผลของระยะเวลาตั้งแต่เริ่มมีอาการจนกระทั่งได้รับการรักษา ด้วยวิธีการทำให้หลอดเลือดแดงโคโรนารีที่อุดตันเปิดออก ต่ออัตราตายระยะยาว ของผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันชนิดส่วนของเอสทียกขึ้น ในโครงการทะเบียนผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันในประเทศไทย
Other Titles: The effect of time-to-treatment on long-term mortality in patients with ST-elevation myocardial infarction in Thai acute coronary syndrome registry
Authors: พลพรรธน์ อยู่สวัสดิ์
Advisors: สุพจน์ ศรีมหาโชตะ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
Advisor's Email: Suphot.S@chula.ac.th
Subjects: หลอดเลือดโคโรนารีย์ -- โรค
หัวใจ -- โรค
Issue Date: 2551
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ที่มา: ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันชนิดส่วนของเอสทียกขึ้น เป็นภาวะจำเป็นที่ต้องได้รับการวินิจฉัยและรักษาที่ถูกต้องด้วยความรวดเร็ว แต่พบว่า ในประเทศไทยยังมีข้อมูลของระหว่างระยะเวลาตั้งแต่เริ่มมีอาการจนกระทั่งได้รับการรักษา ด้วยวิธีการทำให้หลอดเลือดแดงโคโรนารีที่อุดตันเปิดออก กับการตายระยะยาวยังมีน้อย วิธีการศึกษา: จากการศึกษาในโครงการทะเบียนผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันในประเทศไทยเก็บข้อมูลตั้งแต่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2545 ถึง 31 ตุลาคม พ.ศ. 2548 มีจำนวนผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันชนิดส่วนของเอสทียกขึ้นที่มีชีวิตออกจากโรงพยาบาลจำนวน 3,184 คน การสืบค้นข้อมูลการตายใช้ข้อมูลเลขบัตรประจำตัวประชาชน 13 หลัก หรือชื่อและนามสกุล ผลการศึกษา: จำนวนผู้ป่วยในการศึกษา 2,698 คน (อายุเฉลี่ย 61 ± 13 ปี เพศชาย 68%) ระยะเวลาในการติดตาม 4.26 ± 1.75 ปี พบอัตราการตายรวมทั้งสิ้น 23% พบว่าในกลุ่มที่ได้รับยาละลายลิ่มเลือด ผู้ป่วยที่มีระยะเวลาตั้งแต่เริ่มมีอาการจนกระทั่งได้รับการรักษา ด้วยวิธีการทำให้หลอดเลือดแดงโคโรนารีที่อุดตันเปิดออก น้อยกว่าหรือเท่ากับ 4 ชั่วโมงมีอัตราการตายน้อยกว่ากลุ่มที่ระยะเวลามากกว่า 4 ชั่วโมง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (13.8% และ 19.4% ค่านัยสำคัญทางสถิติ 0.035) แต่ไม่พบความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติของอัตราการตายในกลุ่มที่ได้รับการขยายหลอดเลือดหัวใจ (15.8% และ 20.8% ค่านัยสำคัญทางสถิติ 0.183) จากการศึกษา Multivariate Cox Proportional Hazard พบปัจจัยเสี่ยงของการตายในระยะยาว ได้แก่ อายุมากกว่า 65 ปี โรคเบาหวาน ภาวะหัวใจล้มเหลว ระยะเวลาตั้งแต่เริ่มมีอาการจนกระทั่งได้รับการรักษาด้วยวิธีการทำให้หลอดเลือดแดงโคโรนารีที่อุดตันเปิดออกมากกว่า 4 ชั่วโมง และมีภาวะแทรกซ้อนเลือดออก ปัจจัยป้องกันการตายในระยะยาว ได้แก่ มีอาการแน่นหน้าอกเป็นอาการนำ ได้รับยาเบต้าบล็อกเกอร์และยาสเตติน สรุป: อัตราการตายของผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันชนิดส่วนของเอสทียกขึ้นในระยะยาวยังอยู่ในระดับสูง ระยะเวลาตั้งแต่เริ่มมีอาการจนกระทั่งได้รับการรักษา ด้วยวิธีการทำให้หลอดเลือดแดงโคโรนารีที่อุดตันเปิดออก มีความสำคัญต่อการตายในระยะยาวของผุ้ป่วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มที่ได้รับยาละลายลิ่มเลือด
Other Abstract: Background: Previous studies have demonstrated that early reperfusion or revascularization significantly reduced morbidity and mortality in patients with acute ST-elevation myocardial infarction (STEMI). However, there has been paucity of data regarding the effect of time-to-treatment on long-term mortality in patients with acute STEMI. Objective: To compare long-term all-cause mortality among acute STEMI with different time-to-treatment and to determine the clinical predictors of long-term mortality in these patients. Material and method: Patients with STEMI who were alive at hospital discharge between August 1, 2002 and October 31, 2005 were identified from Thai Acute Coronary Syndrome Registry. From 3,184 patients. A total of 2,698 patients were included in the study. The time-to-treatment and all cause mortality were assessed from the Bureau of Registration at Ministration Department of Provincial Administration, Ministry of Interior of Thailand, on December 1, 2008. Results: Of 2,698 patients (age 61 ± 13 years, 68% male) were follow up (median follow up time 4.26 years). Total mortality was 23.4%. The patients who received thrombolytic and primary PCI were selected for further analysis. In thrombolytic group, long-term mortality was significantly reduced in patients who had time-to-treatment ≤4 hours compared with > 4 hours (13.8% vs. 19.4%, p value = 0.035). But no signification was shown in primary PCI group (15.8% vs. 20.8%, p value = 0.183). Using multivariate Cox proportional-hazard analysis of predictors for long-term mortality, the long-term mortality risk factors were age more than 65 years, diabetes, heart failure within 48 hours and bleeding complication. The preventive factors for long-term mortality were chest pain at presentation, received beta-blocker and statin therapy. Conclusions: Despite the advance in STEMI management, long-term mortality of Thai-STEMI patients remains high. Early time-to-treatment, especially time-to-thrombolytic therapy ≤ 4 hours has significant impact on long-term mortality especially the thrombolytic group
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: อายุรศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19511
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2008.515
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2008.515
Type: Thesis
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Polpat_eu.pdf2.22 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.