Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19717
Title: ปัจจัยที่ส่งผลต่อการมีเจตคติที่ดีต่อวิชาพลศึกษา ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายในกรุงเทพมหานคร
Other Titles: Factors influencing positive attitude towards physical education subjects of upper secondary school students in Bangkok Metropolis
Authors: สุรเชษฐ์ โชติวรานนท์
Advisors: สมบูรณ์ อินทร์ถมยา
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: Somboon.I@Chula.ac.th
Subjects: พลศึกษา -- การศึกษาและการสอน
นักเรียนมัธยมศึกษา -- ทัศนคติ
Issue Date: 2550
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์คือ 1.เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่ส่งผลต่อการมีเจตคติที่ดีต่อวิชาพลศึกษาของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย ในกรุงเทพมหานคร และ 2.เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการมีเจตคติที่ดีต่อวิชาพลศึกษา ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย ในกรุงเทพมหานคร โดยศึกษาปัจจัยหลัก 4 ตัว ได้แก่ 1.ปัจจัยทางด้านจิตวิทยา 2.ปัจจัยทางด้านสังคม 3.ปัจจัยทางด้านการเรียนการสอน และ 4.ปัจจัยทางด้านกายภาพ และศึกษาปัจจัยย่อย 12 ตัว ได้แก่ 1.ปัจจัยทางด้านความเชื่ออำนาจภายในตน 2.ปัจจัยทางด้านแรงจูงใจภายใน 3.ปัจจัยทางด้านแรงจูงใจภายนอก 4.ปัจจัยทางด้านพ่อแม่ หรือผู้ปกครอง 5.ปัจจัยทางด้านครูพลศึกษา 6.ปัจจัยทางด้านเพื่อน 7.ปัจจัยทางด้านวิธีสอน 8.ปัจจัยทางด้านความเหมาะสมของเนื้อหา 9.ปัจจัยทางด้านการวัดและประเมินผล 10.ปัจจัยทางด้านสนามกีฬาและอุปกรณ์กีฬา 11.ปัจจัยทางด้านสภาพอากาศ มลพิษ และ 12.ปัจจัยทางด้านสิ่งอำนวยความสะดวก กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ นักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย ในกรุงเทพมหานคร จำนวน 400 คน ผู้วิจัยเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม นำมาวิเคราะห์หาค่าสถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ความสัมพันธ์โดยใช้สถิติวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (Pearson’s Product Moment Correlation Coefficient) รวมทั้งวิเคราะห์หาปัจจัยที่ส่งผลต่อการมีเจตคติที่ดีต่อวิชาพลศึกษา โดยใช้สถิติการวิเคราะห์ถดถอยพหุแบบขั้นตอน (Stepwise Regression Analysis) โดยทดสอบระดับความมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลการวิจัยพบว่า 1. ปัจจัยหลักที่มีความสัมพันธ์กับการมีเจตคติที่ดีต่อวิชาพลศึกษา ได้แก่ 1.ปัจจัยทางด้านจิตวิทยา 2.ปัจจัยทางด้านสังคม 3.ปัจจัยทางด้านการเรียนการสอน และ 4.ปัจจัยทางด้านกายภาพ ส่วนปัจจัยย่อยที่มีความสัมพันธ์กับการมีเจตคติที่ดีต่อวิชาพลศึกษา ได้แก่ 1.ปัจจัยทางด้านความเชื่ออำนาจภายในตน 2.ปัจจัยทางด้านแรงจูงใจภายใน 3.ปัจจัยทางด้านแรงจูงใจภายนอก 4.ปัจจัยทางด้านพ่อแม่ หรือผู้ปกครอง 5.ปัจจัยทางด้านครูพลศึกษา 6.ปัจจัยทางด้านเพื่อน 7.ปัจจัยทางด้านวิธีสอน 8.ปัจจัยทางด้านความเหมาะสมของเนื้อหา 9.ปัจจัยทางด้านการวัดและประเมินผล 10.ปัจจัยทางด้านสนามกีฬาและอุปกรณ์กีฬา 11.ปัจจัยทางด้านสภาพอากาศ มลพิษ และ 12.ปัจจัยทางด้านสิ่งอำนวยความสะดวก 2. ปัจจัยหลักที่ร่วมกันทำนายการมีเจตคติที่ดีต่อวิชาพลศึกษา คือ ปัจจัยทางด้านการเรียนการสอน ปัจจัยทางด้านจิตวิทยา และปัจจัยทางด้านสังคม ปัจจัยทั้ง 3 ตัวนี้ สามารถร่วมกันทำนายการมีเจตคติที่ดีต่อวิชาพลศึกษาได้ร้อยละ 45.2สามารถเขียนเป็นสมการทำนายได้ดังต่อไปนี้ (เจตคติที่ดีต่อวิชาพลศึกษา) = .360 Z(ปัจจัยทางด้านการเรียนการสอน) + .285 Z(ปัจจัยทางด้านจิตวิทยา) + .142 Z(ปัจจัยทางด้านสังคม) 3. ปัจจัยย่อยที่ร่วมกันทำนายการมีเจตคติที่ดีต่อวิชาพลศึกษา คือ ปัจจัยทางด้านความเชื่ออำนาจภายในตน ปัจจัยทางด้านเพื่อน ปัจจัยทางด้านการวัดและประเมินผล ปัจจัยทางด้านความเหมาะสมของเนื้อหา และปัจจัยทางด้านแรงจูงใจภายใน ปัจจัยทั้ง 5 ตัวนี้ สามารถร่วมกันทำนายการมีเจตคติที่ดีต่อวิชาพลศึกษาได้ร้อยละ 47.4 สามารถเขียนเป็นสมการทำนายได้ดังต่อไปนี้ (เจตคติที่ดีต่อวิชาพลศึกษา) = .238 Z (ปัจจัยทางด้านความเชื่ออำนาจภายในตน) + .215 Z (ปัจจัยทางด้านเพื่อน) + .171 Z (ปัจจัยทางด้านการวัดและประเมินผล)+ .166 Z (ปัจจัยทางด้านความเหมาะสมของเนื้อหา) + .134 Z (ปัจจัยทางด้านแรงจูงใจภายใจ)
Other Abstract: The purposes of this research were 1.To study the relationships of different variables that influenced positive attitude towards physical education subjects of upper secondary school students in Bangkok Metropolis; 2.To study the factors influencing positive attitude towards physical education subjects of upper secondary school students in Bangkok Metropolis. There were 4 major factors in this study: 1.Psychological Factors, 2.Social Factors, 3.Teaching Factors and 4.Environmental Factors. There were 12 secondary factors: 1.Empowerment Belief Factors, 2.Internal Motivation Factors, 3.External Motivation Factors, 4.Parental Factors, 5.Physical Education Teacher Factors, 6.Peer Factors, 7.Method of Teaching Factors, 8. Factors Related to Suitability of Content, 9.Measuring and Evaluating Factors, 10.Field and Equipment Factors, 11.Climatic and Pollution Factors, and 12.Facilitating Factors. The samples were 400 upper secondary school students in Bangkok Metropolis. The data were collected by using questionnaire and analyzed in terms of percentage, average, standard deviation, and correlation by using Pearson’s Product Moment Correlation Coefficient and Stepwise Regression Analysis. (p<.05) The results were as follows: 1. The major factors which were positively related to positive attitude towards physical education subjects were Psychological Factors, Social Factors, Teaching Factors and Environmental Factors. The secondary factors which were positively related to positive attitude towards physical education subjects were 1.Empowerment Belief Factors, 2.Internal Motivation Factors, 3.External Motivation Factors, 4.Parental Factors, 5.Physical Education Teacher Factors, 6.Peer Factors, 7.Method of Teaching Factors, 8.Factors Related to Suitability of Content, 9.Measuring and Evaluating Factors, 10.Field and Equipment Factors, 11.Climatic and Pollution Factors, and 12.Facilitating Factors. 2. The major factors that could predict positive attitude towards physical education subjects were Teaching Factors, Psychological Factors, and Social Factors.These factors had total predictive influencing of 45.2% by multiple regression procedure as follows: (Positive Attitude towards Physical Education Subjects) = .360 Z (Teaching Factors) + .285 Z (Psychological Factors) + .142 Z (Social Factors) 3. The secondary factors that could predict positive attitude towards physical education subjects were Empowerment Belief Factors, Peer Factors, Measuring and Evaluating Factors, Factors Related to Suitability of Content, and Internal Motivation Factors. These factors had total predictive influencing of 47.4% by multiple regression procedure as follows: (Positive Attitude towards Physical Education Subjects) = .238 Z(Empowerment Belief Factors)+ .215 Z(Peer Factors) + .171 Z(Measuring and Evaluating Factors) + .166 Z(Factors Related to Suitability of Content) + .134 Z(Internal Motivation Factors)
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: พลศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19717
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2007.780
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2007.780
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
surachet_s.pdf1.96 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.