Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19748
Title: | การสร้างโมเดลทางสถิติเพื่อการวิเคราะห์ความหนาแน่น ของการจราจรทางอากาศ ณ ท่าอากาศยานกรุงเทพฯ |
Other Titles: | On the construction of some statistical model for analysing air traffic density at Don Muang airport |
Authors: | อุทิศ แก้วโอภาส |
Advisors: | นิยม ปุราคำ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Advisor's Email: | ไม่มีข้อมูล |
Subjects: | จราจร การควบคุมจราจรทางอากาศ |
Issue Date: | 2516 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | วัตถุประสงค์ในการวิจัย 1.เพื่อศึกษาเกี่ยวกับการจัดลำดับการเข้าแถวคอย (Queuing Problem) ของเครื่องบินที่มารองลงสนาม จากสายการบินต่าง ๆ ณ ท่าอากาศยานกรุงเทพฯ 2.เพื่อศึกษาเกี่ยวกับลักษณะดิสทริบิวชั่น (distribution) ของเครื่องบินที่เข้ามาในทุกทิศทางโดยรอบ ว่าจะมีดิสทริบิวชั่น (distribution) ในแบบใด 3.เพื่อศึกษาลักษณะของดิสทริบิวชั่น (distribution) ของเวลาที่หอบังคับการบิน ให้การบริการ นำเครื่องบินลงสู่สนามเรียบร้อย โดยใช้เวลาที่น้อยที่สุด ถึงเวลาที่นานที่สุด ว่าจะมีดิสทริบิวชั่น (distribution) ชนิดใด 4.เพื่อสร้างแบบจำลอง (model) ทางคณิตศาสตร์สำหรับวิจัยความหนาแน่นของอากาศยาน ณ ท่าอากาศยานกรุงเทพฯ ในการศึกษาเกี่ยวกับความยาวของแถวคอย (Queue length) , เวลาเฉลี่ยของเครื่องบินที่ต้องคอยลงสนามในชั่วโมงที่คับคั่ง (busy time) และในช่วงเวลาที่ว่าง ไม่มีเครื่องเข้ามา (idle time) 5.เพื่อเปรียบเทียบค่าใช้จ่ายของเครื่องบินที่ต้องคอยลงสนาม กับค่าใช้จ่ายในการเพิ่มสถานีบริการว่าจะคุ้มค่าหรือไม่ วิธีดำเนินการวิจัย ข้อมูลที่ใช้ในการวิจัย ได้รวบรวมปริมาณเครื่องบินจากหอบังคับการบิน ในรอบ 7 วัน จากวันที่ 18 – 28 ต.ค. 14 และแบ่งเป็นช่วงละ 1 ช.ม. โดยละทิ้งในช่วงที่มีเครื่องบินเข้ามาน้อยมาก ในบางช่วงเช่นในตอนดึกเวลา 01.00 – 05.00 นำข้อมูลที่ได้นี้มาหาเวลาเฉลี่ยที่เครื่องบินแต่ละเครื่องเข้ามาห่างกัน (interarrival time) แล้วเขียนโค้งจากเวลาที่สั้นที่สุดถึงเวลาที่ยาวที่สุด ผลที่ได้จะเป็นโค้งเอ๊กโพเนนเชี่ยล (expo-nontial) ทำให้คาดว่าดิสทริบิวชั่นของเครื่องบินที่เข้ามา (arrival) มีลักษณะเป็นบัวซองดิสทริบิวชั่น (Poisson distribution) และเมื่อทดสอบข้อมูลชุดเดียวกันนี้กับค่าที่คำนวณได้ตามทฤษฏี โดยวิธีไครสแคว (Chi-square test) ก็จะสนับสนุนตามที่คาดไว้ทุกประการ และในทำนองเดียวกันถ้านำข้อมูลชุดของเวลาที่ให้บริการของหอบังคับซึ่งเก็บรวบรวมได้จากเจ้าหน้าที่และแผนกสถิติของหอบังคับการบิน มาทดสอบโดยเปรียบเทียบข้อมูลจริงกับค่าที่คำนวณได้ตามทฤษฏี โดยวิธีไคสแคว (Chi-square test) ก็จะยอมรับว่าเวลาที่ให้บริการของหาบังคับการบินมีลักษณะเป็น เอ๊กโพเนนเชี่ยล นอกจากนั้นยังได้ใช้ข้อมูลเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายของสนามบินจากกองบำรุงสนามบิน คือค่าไฟส่องสนาม ไฟฟ้าที่ใช้กับเครื่องช่วยในการลงสนาม (Navigation Aid) เดือนละ 600,000 บาท ส่วนค่าเชื้อเพลิงที่เครื่องบินแบบโบอิง 707 ใช้ประมาณ ช.ม. ละ 13,500 บาท เป็นตัวเลขที่ได้จากบริษัทน้ำมันเอสโซ่ สรุปผลของการวิจัย ผลของการวิจัยจะพบว่า 1.เครื่องบินที่บินเข้าสู่สนามบิน เพื่อรอลงสนามมีลักษณะเป็นตัวแปรสุ่ม (ran-dom variable) ที่ต่อเนื่อง (continuous time) ชนิดหนึ่ง เมื่อพิจารณาในรอบ 24 ช.ม. จำนวนเครื่องบินที่รวบรวมได้จึงเป็นสโตคาสติคโปรเสส (Stochastic process) และมาร์คอฟ เชน (Markov Chain) อย่างหนึ่ง 2.ลักษณะของดิสทริบิวชั่น (distribution) ของเครื่องบินที่เข้ามาโดยรอบ จะเป็นปัวซอง โปรเสส (Poisson process) มีอัตราเฉลี่ยประมาณ 4.7 เครื่อง ต่อชั่วโมง 3.เวลาที่ให้บริการ (service time) มีดิสทริบิวชั่นเป็นแบบเอ๊กโพ-เนนเชี่ยล (exponential) มีอัตราเฉลี่ยบริการได้ประมาร 4.4 นาทีต่อเครื่อง 4.ความน่าจะเป็นในช่วยที่ไม่มีเครื่องบินเข้ามา (P_o) มีค่าสูง คือ ประมาณ 0.65 และจำนวนเฉลี่ยของเครื่องบินในแถวคอยมีค่าต่ำ คือประมาณ 0.52 เครื่องต่อชั่วโมง 5.ท่าอากาศยานกรุงเทพฯ ยังพอให้บริการแก่สายการบินต่าง ๆ ได้พอสมควรแต่ถ้าปริมาณของสายการบินและเที่ยวบินเพิ่มขึ้นในอัตราร้อยละ 20 เหมือนปัจจุบันนี้แล้วคาดว่าอีก 5 – 10 ปีข้างหน้า จำเป็นต้องเพิ่มทางวิ่ง (run way) อีก 1 ทาง นอกเสียจากปริมาณเครื่องบินจะไม่เพิ่มเนื่องจากภาวะน้ำมันที่ส่งผลกระทบกระเทือนอยู่ในขณะนี้ |
Other Abstract: | The objectives of the Study 1. To study about the queuing problem of the airplanes from various airlines which are waiting to land at Don Mange Airport. 2.To study the distribution of airplanes coming from various directions. 3. To study the typos of the distribution of the shortest times and the longest times, allocated by the flight-control tower for landing of the airplanes. What types of distribution of service time will be? 4. To construct a mathematical model for research into the density of air traffic at Don mange airport. This research includes the study of queue length, the average time of waiting for airplanes at busy period and also at idle period.5. To compare the expense of keeping waiting airplanes with the construction of increasing the number of service-stations. The Procedures of the Study The data is derived from the numbers of airplanes which landed at the airport during on week (on 18 – 24 Oct. 1971). The time when the data was collected was divided into periods. Each on lasts for an hour. In (loing this we omit the off – peak period (c.g. from 1.00 a.m.- 5.00 a.m.). Then we take the average of interracial time of each airplanes at Don Mange Airport and plot a curve from the shortest time to the longest time. The result of the plotting is an exponential curve. It is predictable that the distribution of the arriving airplanes will be a Poisson distribution. The same data is also compared with the theoretical value by Chi-Square test, the result will support the expected one. In the same way if we take the data of time from the service of the control tower and compare it to the theoretical data by Chi-Square test, it will be admitted that the service time of the control tower is exponential. Besidos we also got the expense data of the airport from the maintenance airport section ; that is the runway lighting and the clectrie light for the navigational aids. Theamount of this expense is 600,000 baht por month. The cost of the fucl for a being 707 is about 13,500 baht per hour. This information is from the Esso compact. Conclusions of the Study 1.The number of airplanes waiting to land at Don Muang Airport is a random variable and disserted stator continuous time process. In considering any periods of 24 hours the number of airplanes is in the form of stochastic processes and Narrow Chain. 2. The characteristic of distribution of landing air-planes is in the form of a Poisson process. The mean of arrival rats is 4.7 airplanes per hour. 3.The service time is an exponential distribution. The average time for service is 4.4 seconds per one airplane. 4.The probability of no arrival ( p_o) is 0.65 . The average number of the airplanes in the waiting lines is about 0.52 per hour. 5. It is predictable that Don Muang airport will servc officicntly for the various airlincs, if the rate of increase in air traffic is 20 % as it is now . It is predictable that during the next 5-10 years one more runway will be built- that is, if there is no problem over fucl shortage. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (พณ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2516 |
Degree Name: | พาณิชยศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | สถิติ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19748 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Utia_Kc_front.pdf | 490.79 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Utia_Kc_ch1.pdf | 411.26 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Utia_Kc_ch2.pdf | 723.46 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Utia_Kc_ch3.pdf | 713.18 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Utia_Kc_ch4.pdf | 439.74 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Utia_Kc_back.pdf | 591.43 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.