Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19767
Title: | การเปิดรับข่าวสาร "วัฒนธรรมนวัตกรรม" ความรู้ ทัศนคติและการเข้าร่วมกิจกรรมของพนักงานเครือซิเมนต์ไทย |
Other Titles: | Media exposure, knowledge, attitude and participation of "Innovative culture" among the Siam Cement Group's employees |
Authors: | อุรัจฉทา ต่ายสกุลทิพย์ |
Advisors: | พนม คลี่ฉายา |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์ |
Advisor's Email: | Phnom.K@Chula.ac.th |
Subjects: | การสื่อสารในองค์การ การเปิดรับข่าวสาร |
Issue Date: | 2550 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการเปิดรับข่าวสารวัฒนธรรมนวัตกรรมกับความรู้ ทัศนคติ และการเข้าร่วมกิจกรรมของพนักงานเครือซิเมนต์ไทย ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างจำนวนทั้งสิ้น 411 คน โดยสุ่มเลือกจาก 12 บริษัทในเครือซิเมนต์ไทย การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และ Chi-square ซึ่งประมวลผลโดยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป SPSS ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาทั้งสิ้น 411 คน เป็นเพศชายมากกว่าหญิงเล็กน้อย มีอายุระหว่าง 20-30 ปี มีการศึกษาอยู่ในระดับปริญญาตรี กลุ่มตัวอย่างเกินครึ่งหนึ่งทำงานในระดับบังคับบัญชา มีอายุงาน 1-5 ปี และพบว่าสังกัดกลุ่มธุรกิจกระดาษมากที่สุด รองลงมาคือ กลุ่มธุรกิจผลิตภัณฑ์ก่อสร้าง และกลุ่มธุรกิจเคมีภัณฑ์ ตามลำดับ กลุ่มตัวอย่างมีการเปิดรับข่าวสารเกี่ยวกับวัฒนธรรมนวัตกรรมของเครือซิเมนต์ไทยโดยรวมจากสื่อทุกประเภทอยู่ในระดับปานกลาง ทั้งนี้ เมื่อพิจารณาแยกตามประเภทสื่อพบว่า กลุ่มตัวอย่างเปิดรับข่าวสารเกี่ยวกับวัฒนธรรมนวัตกรรมของเครือซิเมนต์ไทยจากสื่อมวลชนอยู่ในระดับน้อย แต่เปิดรับข่าวสารจากสื่อเฉพาะกิจและสื่อบุคคลอยู่ในระดับปานกลาง โดยกลุ่มตัวอย่างมีความรู้เกี่ยววัฒนธรรมนวัตกรรมอยู่ในระดับสูง และมีทัศนคติโดยรวมต่อวัฒนธรรมนวัตกรรมเป็นบวก และพบว่ากลุ่มตัวอย่างมีการเข้าร่วมกิจกรรมกระจายทั้ง 3 ระดับ คือระดับปานกลางเป็นจำนวนมากที่สุด รองลงมาคือ ระดับต่ำ และระดับสูง ตามลำดับ นอกจากนี้ยังพบว่ากลุ่มตัวอย่างพร้อมที่จะเปลี่ยนแปลงตนเองในด้าน “กล้าเรียนใฝ่รู้” มากที่สุด รองลงมาคือ “กล้าคิดนอกกรอบ” และน้อยที่สุด คือ “กล้าเสี่ยงกล้าริเริ่ม” ผลการทดสอบสมมติฐานสรุปได้ ดังนี้ 1. การเปิดรับข่าวสารเกี่ยวกับวัฒนธรรมนวัตกรรมมีความสัมพันธ์กับความรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรมนวัตกรรม ของพนักงานเครือซิเมนต์ไทยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ทั้งนี้ ความสัมพันธ์เป็นไปในทิศทางเดียวกัน และอยู่ในระดับต่ำ 2. ความรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรมนวัตกรรมมีความสัมพันธ์กับทัศนคติต่อวัฒนธรรมนวัตกรรมของพนักงานเครือ ซิเมนต์ไทย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ทั้งนี้ความสัมพันธ์เป็นไปในทิศทางเดียวกันและอยู่ในระดับค่อนข้างต่ำ 3. การเข้าร่วมกิจกรรมเพื่อก่อให้เกิดวัฒนธรรมนวัตกรรมของพนักงานเครือซิเมนต์ไทยขึ้นอยู่กับทัศนคติที่มีต่อ วัฒนธรรมนวัตกรรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 |
Other Abstract: | The objective of this survey research is to examine the relationships among media exposure to internal communications, knowledge, attitude and participation of “Innovative Culture” among The Siam Cement Group’s employees. A total of 411 employees in 12 companies in The Siam Cement Group are surveyed by questionnaires. Pearson’s Product Moment Correlation Coefficient and Chi-Square are employed for the test of the correlations among variables under study. SPSS program is used for data processing. The result shows that from a total of 411 samples, which male slightly more than female, in the age range from 20-30 year-old, graduated in bachelor degree. More than half of all samples work in Ordering Level with work experience from 1-5 years and found that mostly work in SCG Paper. Secondly, in SCG Building Materials and lastly, in SCG Chemicals respectively. In general, samples moderately expose to “Innovative Culture” And if consider the media separately, found that samples mildly expose to “Innovative Culture”. But expose to specific media and personal media are in moderate level. Samples have knowledge involved culture in high level and generally have positive attitude towards “Innovative Culture”. The result also shows that the samples attend in activities in all 3 levels. Mostly in moderate level, low level and high level respectively. Moreover, the result shows that the samples are ready to change themselves in “Eager to learn” aspect the most, “Thinking out of the box”, and “Risk Taking” respectively. The result of hypothesis test as follows: 1. The media exposure to internal communications of “Innovative Culture” correlated with knowledge about “Innovative Culture”. 2. Knowledge about “Innovative Culture” correlated with attitude toward “Innovative Culture”. 3. The Siam Cement Group’s employees’ participation of “Innovative Culture” depends on their attitude toward “Innovative Culture”. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550 |
Degree Name: | นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | นิเทศศาสตรพัฒนาการ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19767 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2007.1001 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2007.1001 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Comm - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
uratchata_t.pdf | 2.67 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.