Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/20160
Title: | การใช้วรรณคดีไทยและวรรณกรรมพื้นบ้านในนวนิยายของแก้วเก้า |
Other Titles: | The use of Thai literature and folk literature in Kaeokao's novels |
Authors: | จีรณัทย์ วิมุตติสุข |
Advisors: | อารดา กีระนันทน์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะอักษรศาสตร์ |
Advisor's Email: | ไม่มีข้อมูล |
Subjects: | วินิตา ดิถียนต์, คุณหญิง, 2492- -- การวิจารณ์และการตีความ วินิตา ดิถียนต์, คุณหญิง, 2492- -- แนวการเขียน แก้วเก้า -- นามปากกา นวนิยายไทย วรรณกรรมพื้นบ้าน |
Issue Date: | 2550 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มุ่งศึกษานวนิยายของแก้วเก้าที่ปรากฏอิทธิพลจากวรรณคดีไทยและวรรณกรรมพื้นบ้าน ตลอดจนกลวิธีที่แก้วเก้าใช้ในการนำวรรณคดีเหล่านั้นมาสร้างสรรค์นวนิยายรวมทั้งสิ้น ๑๓ เรื่อง ได้แก่ แก้วราหู นางทิพย์ มนตรา หนุ่มทิพย์ นาคราช เรือนมยุรา อมตะ เรือนนพเก้า ดอกแก้วการะบุหนิง ปลายเทียน พิมมาลา ทางเทวดา และ เทวาวาด ผลการวิจัยสรุปได้ว่า นวนิยายของแก้วเก้ามีลักษณะเป็นจินตนิยายที่ผสมผสานกับเหตุการณ์ในโลกปัจจุบันอย่างกลมกลืน แก้วเก้าไม่ได้นำวรรณคดีไทยหรือวรรณกรรมพื้นบ้านมาเล่าใหม่ แต่ได้นำเค้าเรื่องจากวรรณคดีเหล่านั้น มาสร้างโครงเรื่องใหม่ เช่น เรือนนพเก้า อาศัยเค้าจากกากีกลอนสุภาพ พิมมาลา อาศัยเค้าจากอิลราชคำฉันท์ และทางเทวดา อาศัยเค้าจาก บทละครเรื่องสังข์ทอง ชาดกล้านนาไทยเรื่องก่ำกาดำและกลอนอ่านเรื่องท้าวก่ำกาดำ แก้วเก้านำเนื้อหาส่วนย่อยจากวรรณคดี มาสร้างบางช่วงบางตอนของเนื้อเรื่อง เช่น นำเรื่องมณีรัตนะจากไตรภูมิกถา และตราพระราหูจากเรื่องพระอภัยมณี มาสร้างเป็นแก้ววิเศษในจินตนิยายเรื่อง แก้วราหู เป็นต้น ด้านตัวละคร แก้วเก้าจำลองภาพขุนแผนและเถรขวาดจากเสภาขุนช้างขุนแผน ให้มาแสดงบทบาทในเรื่อง ปลายเทียน บางครั้งก็สร้างตัวละครย้อนยุคให้คล้ายตัวละครจากเรื่องเดิม เช่น คุณหญิงผอบแก้วในเรือนนพเก้า คล้ายนางกากี ในกากีกลอนสุภาพ และที่น่าสนใจอีกวิธีหนึ่งคือสร้างตัวละครปัจจุบันให้คล้ายตัวละครจากเรื่องเดิม เช่น สาแคน คล้ายพระสังข์ใน บทละครเรื่องสังข์ทอง และก่ำกาดำใน ชาดกล้านนาไทยเรื่องก่ำกาดำ และกลอนอ่านเรื่องท้าวก่ำกาดำ แก้วเก้าสร้างฉากโดยมีพื้นฐานจากวรรณคดีเพื่อส่งเสริมความน่าเชื่อของเนื้อเรื่องและตัวละคร เช่น ฉากประเทศคีรียาที่สร้างโดยมีพื้นฐานจากบทละครเรื่องอิเหนาและ ดาหลังในเรื่อง ดอกแก้วการะบุหนิง เป็นต้น แก้วเก้านำวรรณคดีมาใช้สร้างสร้างสรรค์จินตนิยายได้อย่างน่าสนใจ โดยปรับเปลี่ยนและเพิ่มเติมรายละเอียดให้สมเหตุสมผล มีความเป็นไปได้และสอดคล้องกับปัจจุบัน เพื่อให้ผู้อ่านที่เป็นคนในปัจจุบันยอมรับเนื้อหาจากวรรณคดีได้ง่ายขึ้น ในขณะเดียวกันก็นำประเด็นบางเรื่องจากวรรณคดีมาเสนอแนวคิดและขยายมุมมองใหม่ของเรื่องและของตัวละครในจินตนิยายได้อย่างกว้างขวางและสมเหตุสมผล |
Other Abstract: | This thesis aims to study Kaeokao’s novels that are influenced by traditional Thai Literature and Folk Literature as well as the techniques the author uses in writing the 13 fantasy novels, i.e. , Kaew Rahu, Nang Thip, Montra, Num Thip, Nagaraj, Ruen Mayura, Amata, Ruen Nopakao, Dok Kaew Karabuning, Plai Thian, Pimmala, Thang Thevada and Thevawad. The research concludes that Kaeokao’s novels are fantasies in which contemporary incidents are harmoniously blended. Kaeokao does not re-narrate Thai literature or folk literature but she relies on their plots to create new novels. For instance, Ruen Nopakao is based on Kaki Klonsuphap, Pimmala on Ilaraj Khumchant and Thang Thevada on Sang Thong, Kumkadam Jataka of the Lanna Region and Thao Kumkadam. She also uses some elements from Thai literature in her fantasy novels; for example, the magical crystal in Kaew Rahu is based on the Maneeratana gem in Trai Phumikatha and the Phra Rahu emblem in Phra Abhaimanee. In terms of characters, the author creates the characters of Khun Phaen and of Thera Kwad from Khun Chang-Khun Phaen in her novel, Plai Thien. Sometimes the characters in her novels whose plot is set in the past are based on the characters from Thai literature; for example Khun Ying Pha-ob Kaew in Reun Nopakao is based on Nang Kaki in Kaki Klonsuphap. Another interesting aspect is that she creates contain characters in the contemporary period in a similar fashion as those in traditional works, for example Sakean is similar to Phra Sang in Sang Thong Kumkadam Jataka and Tao Kumkadum. Kaeokao’s settings in the fantasy novels are based on those in Thai literature to make the plots and characters convincing; for instance, the setting of the State of Khiriya in Dok Kaew Karabuning is influenced by the setting in Inao and Dalang. Kaeokao is able to use Thai and folk literature in creating her fantasy novels by changing, adjusting and adding certain details as appropriate to make her works sensible, plausible and appealing to the contemporary taste so as to make it easier for contemporary readers to accept traditional literature. At the same time, her fantasy novels also present new concepts and new perspectives through the newly interpreted plot and character. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550 |
Degree Name: | อักษรศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | ภาษาไทย |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/20160 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2007.736 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2007.736 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Arts - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Jeeranat_wi.pdf | 1.98 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.