Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/20214
Title: ยุติธรรมชุมชน : ศึกษากรณีการแก้ไขความขัดแย้งทางอาญาด้วยวิธีการเชิงสมานฉันท์ในระดับชุมชน
Other Titles: Community justice : a study on the settlement of criminal dispute by restorative justice at community level
Authors: ชญานันทน์ ล้อมณีนพรัตน์
Advisors: ปารีณา ศรีวนิชย์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์
Advisor's Email: Pareena.S@Chula.ac.th
Subjects: การไกล่เกลี่ย
การระงับข้อพิพาท
กระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์
กระบวนการยุติธรรมทางอาญา
Issue Date: 2553
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การไกล่เกลี่ยระงับข้อพิพาททางอาญาในระดับชุมชนตามแนวคิดยุติธรรมชุมชนและยุติธรรมเชิงสมานฉันท์นั้น มีข้อดีหลายประการ กล่าวคือ เป็นการระงับความขัดแย้งที่ต้นทางอย่างรวดเร็วและใกล้ชิดกับข้อพิพาทมากที่สุด ทำให้ความขัดแย้งไม่ลุกลามบานปลาย โดยมิได้มีฝ่ายใดแพ้หรือชนะ แต่เป็นการหาทางออกร่วมกันของคู่กรณีโดยเปิดโอกาสให้ประชาชนในชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการ อันจะนำซึ่งความสงบสุขและความสมานฉันท์ภายในชุมชน อีกทั้งเป็นการประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายของคู่กรณี นอกจากนี้ กระบวนการไกล่เกลี่ยระงับข้อพิพาทตามแนวทางยุติธรรมเชิงสมานฉันท์นี้ยังมีความสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของกระบวนการยุติธรรมทางอาญา ทั้งในเรื่องการแก้แค้นทดแทน การข่มขู่ยับยั้งและการแก้ไขฟื้นฟูผู้กระทำผิด อันจะมีผลเป็นการป้องกันอาชญากรรมในอนาคตอีกด้วย ยิ่งไปกว่านั้น ยังเป็นกระบวนการที่ช่วยเยียวยาความเสียหายให้แก่ผู้เสียหายหรือเหยื่อของอาชญากรรม ทั้งในด้านวัตถุและจิตใจ อย่างไรก็ดี จากการศึกษากระบวนการไกล่เกลี่ยระงับข้อพิพาททางอาญาในระดับชุมชน ของประเทศไทย เปรียบเทียบกับกระบวนการไกล่เกลี่ยของส.ป.ป.ลาว และประเทศฟิลิปปินส์ รวมทั้งศึกษาบทเรียนจากโครงการนำร่องตุลาการหมู่บ้าน และโครงการนำร่องพัฒนาระบบงานยุติธรรมชุมชนแล้ว พบว่ากระบวนการไกล่เกลี่ยระงับข้อพิพาทในระดับชุมชนของประเทศไทยในปัจจุบัน ยังมีข้อด้อยหลายประการ ทั้งในด้านประเภทข้อพิพาท องค์กรที่ทำหน้าที่ไกล่เกลี่ย แบบแผนและวิธีการในการไกล่เกลี่ย รวมถึงผลของการไกล่เกลี่ยและผลบังคับของข้อตกลง ดังนั้น วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ จึงได้เสนอแนะแนวทางในการปรับปรุงพัฒนากฎหมาย เพื่อสร้างกระบวนการไกล่เกลี่ยระงับข้อพิพาททางอาญาในระดับชุมชนที่มีประสิทธิภาพ รวมทั้งมีความสอดคล้องตามแนวทางยุติธรรมเชิงสมานฉันท์และยุติธรรมชุมชน อันจะสามารถอำนวยความยุติธรรมให้แก่ประชาชนในชุมชนต่างๆ ได้ดียิ่งขึ้น
Other Abstract: Mediation procedure in criminal cases at community level conforming to community justice and restorative justice has several advantages. First, it is the way to settle disputes in a short time and it is also close to the place where the conflicts happen at most, so the conflicts will not spread. By this procedure, there will be no winning or losing, only the solution arose from mutual agreement of both offender and victim. It is also give opportunities to people in the community to attend the procedure which will eventually bring peace and conformity in the community. Moreover, it helps saving time and money of the parties. Besides, restorative mediation procedure is consistent with objectives of criminal justice system in many ways ; retribution, deterrence, and rehabilitation, which results in preventing crimes in the future. Last but not least, the procedure helps restore the victim’s damages, both the object and feelings. However, this thesis found that mediation procedure in criminal cases at community level in Thailand has many disadvantages, which are the kind of dispute, the mediation body, the process and ways, the result of mediation, and the effect of agreement. Therefore, this thesis suggests ways to improve law in order to build the effective procedure for mediation in criminal cases at community level, which also conforms to restorative justice and community justice, and provide better justice to the communities
Description: วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553
Degree Name: นิติศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิติศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/20214
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2010.472
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2010.472
Type: Thesis
Appears in Collections:Law - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Chayanan_lo.pdf1.96 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.