Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/20269
Title: | แนวทางการประสานการพัฒนาทางด้านกายภาพของย่านที่อยู่อาศัยชานเมือง กรุงเทพมหานคร กรณีศึกษาแขวงคลองจั่น เขตบางกะปิ |
Other Titles: | Guidelines for the physical development coordination of Bangkok's suburban residential areas : case study of Khlong Chan sub-district, Bang Kapi district |
Authors: | ศิวพล สุวิทยาอนนท์ |
Advisors: | นพนันท์ ตาปนานนท์ ไขศรี ภักดิ์สุขเจริญ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ |
Advisor's Email: | Nopanant.T@chula.ac.th Khaisri.P@Chula.ac.th |
Subjects: | ชานเมือง -- ไทย -- คลองจั่น (กรุงเทพฯ) การพัฒนาเมือง -- ไทย -- คลองจั่น (กรุงเทพฯ) เมือง -- การเจริญเติบโต Suburbs -- Thailand -- Khlong Chan (Bangkok) Urban development -- Thailand -- Khlong Chan (Bangkok) Cities and towns -- Growth |
Issue Date: | 2553 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | เสนอแนวทางการประสานการพัฒนาทางด้านกายภาพของย่านที่อยู่อาศัยชานเมือง กรุงเทพมหานคร เพื่อที่จะสร้างชุมชนในย่านชานเมืองให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีและสามารถอยู่ร่วมกันได้ โดยมีความเชื่อมโยงและสอดคล้องกับบริบทสภาพแวดล้อมของย่านชานเมืองในปัจจุบัน โดยได้ศึกษาพัฒนาการของย่านชานเมืองที่มีมาจากอดีตจนถึงปัจจุบัน และวิเคราะห์ลักษณะทางกายภาพเพื่อหาผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการพัฒนา และสร้างแนวทางการพัฒนาทางด้านกายภาพของย่านที่อยู่อาศัยชานเมือง สำหรับการศึกษาสภาพการพัฒนาที่เกิดขึ้นในย่านที่อยู่อาศัยย่านชานเมืองได้เลือก แขวงคลองจั่น เขตบางกะปิ เป็นพื้นที่กรณีศึกษาเพราะในอดีตมีอัตราการเพิ่มประชากรในระดับสูงอย่างต่อเนื่อง และได้มีการพัฒนาที่อยู่อาศัยเกิดขึ้นมาเป็นจำนวนมากในพื้นที่ จนกระทั่งปัจจุบันมีประชากรอาศัยอยู่ในพื้นที่อย่างหนาแน่น ทำให้เห็นถึงสภาพปัญหาที่มีอยู่จากอดีตจนถึงปัจจุบันได้อย่างชัดเจน โดยได้ศึกษาพัฒนาการของพื้นที่กรณีศึกษา ในอดีตย่านชานเมืองเป็นพื้นเกษตรกรรมและมีการตั้งถิ่นฐานอยู่บริเวณริมน้ำ เป็นชุมชนเกษตรกรรมที่มีการเข้าถึงพื้นที่ผ่านทางคลองเป็นหลัก ต่อมาพื้นที่เมืองได้ขยายตัวออกมาบริเวณย่านชานเมืองมากขึ้น ทำให้ย่านชานเมืองเกิดการเปลี่ยนแปลง คือมีการตัดถนนเข้ามาในพื้นที่เพื่อเชื่อมโยงกับพื้นที่เมือง พื้นที่เกษตรกรรมเปลี่ยนเป็นที่อยู่อาศัยมากขึ้น เพื่อรองรับกับประชากรที่เพิ่มมากขึ้นในกรุงเทพมหานคร โดยการพัฒนาที่อยู่อาศัยที่เกิดขึ้นนี้เป็นไปในลักษณะของโครงการจัดสรรที่ดิน และได้พัฒนาไปปิดล้อมชุมชนเกษตรกรรมดั้งเดิม ซึ่งเกิดการพัฒนาในรูปแบบนี้อย่างกระจัดกระจายในย่านชานเมือง ในส่วนของโครงข่ายการสัญจรได้มีการตัดถนนเพิ่มขึ้นทั่วพื้นที่ เนื่องจากย่านที่อยู่อาศัยในปัจจุบันเข้าถึงพื้นที่ผ่านทางถนนเป็นหลัก จากการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในบริเวณย่านชานเมืองได้วิเคราะห์ลักษณะทางกายภาพ ได้แก่ การวิเคราะห์ลักษณะการตั้งถิ่นฐานและรูปแบบการพัฒนาที่อยู่อาศัย การวิเคราะห์รูปแบบการใช้ประโยชน์ที่ดิน และการวิเคราะห์รูปแบบโครงข่ายการสัญจรและการเข้าถึงพื้นที่ ทำให้ทราบถึงผลกระทบที่เกิดจากการพัฒนาย่านชานเมือง ได้แก่ ชุมชนเกษตรกรรมดั้งเดิมเปลี่ยนเป็นชุมชนแออัดที่มีสภาพเสื่อมโทรม และมีการเข้าถึงพื้นที่ไม่สะดวกเนื่องจากการถูกปิดล้อมจากโครงการจัดสรรที่ดิน นอกจากนั้นแล้วโครงการจัดสรรที่ดินได้ไปปิดล้อมพื้นที่ที่ยังไม่ได้พัฒนา ทำให้พื้นที่นั้นไม่สามารถเข้าถึงพื้นที่ได้และกลายเป็นพื้นที่ตาบอด การให้บริการสาธารณูปโภคและสาธารณูปการไม่สามารถให้บริการได้ครอบคลุมทั่วพื้นที่ เนื่องจากการมีการพัฒนาที่อยู่อาศัยอย่างกระจัดกระจาย โครงข่ายการสัญจรขาดความเชื่อมโยงกันและไม่เป็นโครงข่ายการสัญจรที่ชัดเจน เนื่องจากโครงการพัฒนาที่อยู่อาศัยแต่ละโครงการต่างก็ตัดถนนขึ้นมา โดยไม่ได้วางแผนการพัฒนาร่วมกัน จากการศึกษาถึงพัฒนาการย่านชานเมืองและวิเคราะห์ลักษณะทางกายภาพ ทำให้ทราบถึงผลกระทบที่เกิดจากการพัฒนา และได้นำมาสู่การสร้างแนวทางการประสานการพัฒนาทางด้านกายภาพของย่านที่อยู่อาศัยชานเมือง โดยใช้แนวความคิดชุมชนละแวกบ้าน แนวความคิดของลัทธิชุมชนเมืองยุคใหม่ และการเติบโตแบบชาญฉลาด เป็นแนวทางในการฟื้นฟูและการพัฒนาพื้นที่ โดยได้เชื่อมโยงโครงข่ายการสัญจรทั้งทางถนน จักรยาน ทางเดินเท้า และทางเดินริมน้ำ พร้อมทั้งทำให้ชุมชนแออัดและพื้นที่ตาบอดมีการเข้าถึงพื้นที่ที่สะดวกมากขึ้น เพิ่มสาธารณูปโภคและสาธารณูปการที่ขาดแคลนในพื้นที่ และฟื้นฟูย่านที่อยู่อาศัยโดยปรับปรุงทั้งลักษณะทางกายภาพและสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมกับพื้นที่ และมีความปลอดภัยมากยิ่งขึ้น เพื่อให้คนที่อาศัยอยู่ในย่านชานเมืองมีคุณภาพชีวิตที่ดี แนวทางการประสานการพัฒนาทางด้านกายภาพของย่านที่อยู่อาศัยชานเมือง สามารถใช้เป็นข้อมูลสำหรับการพัฒนาย่านชานเมืองในอนาคต ตลอดจนนำไปประยุกต์ใช้กับพื้นที่ที่มีสภาพการพัฒนาที่ใกล้เคียงกันได้ |
Other Abstract: | To propose the guideline for physical coordination of suburban residential area of Bangkok. To provide a community with good quality of life, the study of its area development within those environment contexts are necessary. By that analytical process, the development leads to be the general guidelines for suburban residential areas of Bangkok. For the case study, the area in Khlong Chan sub-district, Bang Kapi district was selected; by the high level of its population’s growth rates from past to present. In the past, this area has been developed as agricultural water based community, and used canal as a main access. Later, The urban development has direct impact on the area suburban. Road expansion and agriculture change have been to provide more residential areas to support population growth in Bangkok. This land subdivision development has occurred widely in the suburban areas and confronted the dead-end of the old agricultural areas. Streets are needed for transportation instead of canals. This changing behavior can be seen from the analytical process of the physical development patterns such as; community settlement, land use, and accessibility. Consideration from the processes, the unplanned development is clearly a cause of the depreciate community occurrence, define as slum. Such area became blind, enclosed by the land development projects. There are inadequate utilities and public services for these scattered developments. In conclusion, the results found from this study have led to be development guidelines for the suburban areas of Bangkok, integrated with associated theories; a neighborhood concept, new urbanism, and smart growth. The guidelines will transform circulation network patterns including vehicle, bike, and pedestrian walkway especially in slum and blind areas. Besides, this will provide sufficient utilities, infrastructures, and safety factors to enhance quality of people’s life. Moreover, the guidelines for the physical development coordination of Bangkok’s suburban residential areas will be beneficial to apply for those similar development areas. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ผ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553 |
Degree Name: | การวางแผนภาคและเมืองมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | การออกแบบชุมชนเมือง |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/20269 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2010.2087 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2010.2087 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Arch - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
siwapol_su.pdf | 11.43 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.