Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/20399
Title: | แนวทางการจัดสรรคลื่นความถี่วิทยุ : ศึกษากรณีระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่ยุคที่สาม (3G) |
Other Titles: | Regulatory trend on radio spectrum allocation : A study of the third-generation mobile phone (3G) |
Authors: | ฤทธิเดช เหมาะประสิทธิ์ |
Advisors: | ทัชชมัย ฤกษะสุต |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์ |
Advisor's Email: | Tashmai.R@Chula.ac.th |
Subjects: | สหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ เทคโนโลยี 3 จี (ระบบสื่อสารเคลื่อนที่) คลื่นความถี่วิทยุ กฎหมายระหว่างประเทศ |
Issue Date: | 2550 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพันธะกรณีระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับการจัดสรรคลื่นความถี่วิทยุ ตลอดจนศึกษาแนวความคิด วิธีการและประสบการณ์ในการจัดสรรคลื่นความถี่ของรัฐต่างๆ โดยเฉพาะในกิจการโทรศัพท์เคลื่อนที่ยุคที่สาม เนื่องจาก คลื่นความถี่วิทยุเป็นทรัพยากรโทรคมนาคมที่ทุกประเทศจะต้องใช้ร่วมกัน และอยู่ภายใต้การกำกับดูแลโดยกฎหมายระหว่างประเทศ นอกจากนั้น การที่คลื่นความถี่วิทยุเป็นทรัพยากรที่ขาดแคลน และเป็นเงื่อนไขที่สำคัญยิ่งในการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ ซึ่งการจัดสรรคลื่นความถี่โดยอาศัยแนวความคิดแบบเดิม จะส่งผลให้เกิดความไม่มีประสิทธิภาพในการใช้คลื่นความถี่วิทยุ และกระทบต่อการแข่งขันในตลาดดังกล่าว อันก่อให้เกิดผลเสียต่อภาคเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ ผลจากการวิจัยพบว่า หลักกฎหมายระหว่างประเทศกำกับการจัดสรรคลื่นความถี่ในประเทศต่างๆ คือหลักความเป็นกลาง ความรวดเร็ว ความโปร่งใส และไม่เลือกปฏิบัติ ซึ่งกระจายอยู่ตามตราสารระหว่างประเทศต่างๆ ภายใต้กรอบทางกฎหมายของสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศและองค์การการค้าโลก และเมื่อศึกษาถึงแนวปฏิบัติของรัฐจะพบว่า ในปัจจุบัน รัฐนำแนวความคิดในการจัดสรรคลื่นความถี่โดยอาศัยกลไกตลาดมาใช้เป็นแนวทางหลัก เสริมด้วยแนวทางการจัดสรรคลื่นความถี่แบบใช้ร่วมกันในบางส่วน ซึ่งสามารถประกันความมีประสิทธิภาพในการใช้คลื่นความถี่วิทยุได้พอสมควร ในส่วนของประเทศไทย สามารถนำผลจากการวิจัยนี้มาใช้เพื่อพิจารณาปฏิรูประบบการบริหารคลื่นความถี่ของไทยให้เป็นไปตามมาตรฐานสากลและก่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดได้ |
Other Abstract: | The objective of this research is to scrutinize the international telecommunications obligations related to the allocation and assignment of radio spectrum and also pondering to the current spectrum allocation mechanisms, methods and experiences of states at large. Considering the radio spectrum as a common telecommunications resource and being internationally regulated, any state, in the use of such resource, must honor the obligations mentioned. Furthermore, as the radio spectrum is scarce but also indispensable for all wireless services, the former radio spectrum allocation method, which could not cope with the dynamic in the modern age, would ultimately undermine spectral efficiency and sub-optimize social welfare. A conclusion may be drawn from the research is that the perceivable international obligations related to radio spectrum allocation, both sprung from the ITU and WTO legal texts, are that such procedure must be conducted in an objectively, timely, transparent and non-discriminatory manner. And from states practice also shows that the widely adopted Market-based regime, though the emerging spectrum commons concept should not be ignored, has become a new international norm and standard. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550 |
Degree Name: | นิติศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | นิติศาสตร์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/20399 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2007.701 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2007.701 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Law - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Rittidaj_Mo.pdf | 3.08 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.