Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/20702
Title: | การนำเอาโทษกักขังมาใช้บังคับกับผู้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ.2522 |
Other Titles: | The implementation of detention penalty to the offender under The Traffic Act B.E.2522 |
Authors: | พลพิพัฒน์ วรชินาคมน์ |
Advisors: | วีระพงษ์ บุญโญภาส |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์ |
Advisor's Email: | Viraphong.B@Chula.ac.th |
Subjects: | กฎจราจร -- ไทย การกักขังผู้กระทำผิด -- ไทย การลงโทษ -- ไทย Traffic regulations -- Thailand Preventive detention -- Thailand Punishment -- Thailand |
Issue Date: | 2553 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 มีวัตถุประสงค์ในการร่างขึ้นเนื่องจากการคมนาคมและการขนส่งทางบกได้เจริญก้าวหน้าขยายตัวไปทั่วประเทศและเชื่อมโยงไปยังประเทศใกล้เคียง และจำนวนยานพาหนะในท้องถนนและทางหลวงได้ทวีจำนวนขึ้นเป็นลำดับ ประกอบกับประเทศไทยได้เข้าเป็นภาคีในอนุสัญญาว่าด้วยการจราจรทางถนนและพิธีสารว่าด้วยเครื่องหมายและสัญญาณตามถนน สมควรปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยการจราจรทางบกซึ่งได้ใช้บังคับมากว่าสี่สิบปี ให้เหมาะสมกับสภาพการจราจรและจำนวนยานพาหนะที่เพิ่มขึ้น และเพื่อความปลอดภัยแก่ชีวิต ร่างกาย และทรัพย์สินของประชาชน แต่อย่างไรก็ดี จากสถิติเกี่ยวกับการกระทำผิด และสถิติความสูญเสียทั้งในด้านชีวิตและทรัพย์สิน ตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 นั้นมีแนวโน้มสูงขึ้นทุกๆปี แสดงให้เห็นถึงปัญหาความไม่เหมาะสมของโทษที่นำมาใช้ในปัจจุบัน ซึ่งเป็นโทษจำคุกและปรับเป็นหลัก จากปัญหาดังกล่าวทำให้เกิดแนวคิดในการนำโทษกักขังมาบังคับใช้กับผู้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัติจราจรทางบกพ.ศ. 2522 เนื่องจากโทษกักขังถือเป็นโทษทางอาญาที่มีลักษณะเป็นการทดแทนความผิดขณะเดียวกันก็เป็นการข่มขู่ยับยั้งและสามารถนำมาตรการแก้ไขฟื้นฟูเข้ามาใช้กับผู้กระทำความผิดได้ตามวัตถุประสงค์ของการลงโทษ อีกทั้งยังเป็นการป้องกันไม่ให้ผู้กระทำความผิดกระทำผิดซ้ำอีกเมื่อพ้นโทษ เนื่องจากโทษกักขังเป็นโทษที่มีมาตราการหนักกว่าโทษปรับแต่เบากว่าโทษจำคุก ใช้สำหรับผู้กระทำผิดเล็กน้อยหรือลหุโทษหรือเพราะความพลั้งพลาดหรือขาดความระมัดระวังโดยโทษกักขังจะเป็นทางสายกลางสำหรับผู้ที่ยังไม่สมควรลงโทษจำคุกและไม่สมควรที่จะปล่อยตัวไปเสียทีเดียวหรือเพียงแค่ปรับเท่านั้นซึ่งในต่างประเทศในความผิดตามกฎหมายจราจรอาทิ เช่น ประเทศสหรัฐอเมริกา และประเทศฝรั่งเศสที่มีการกำหนดโทษกักขังไว้ในความผิดตามกฎหมายจราจรที่เป็นอันตรายต่อความปลอดภัยสาธารณะ โดยประเทศเหล่านี้มีสถิติการเกิดอุบัติเหตุจราจรน้อยกว่าประเทศไทยเป็นอย่างมากแสดงถึงประสิทธิภาพของการกำหนดโทษที่ส่งอิทธิพลต่อพฤติกรรมความระมัดระวังของผู้ขับขี่ที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุน้อยลง |
Other Abstract: | As the land transportation in Thailand is on its expansion course with the construction of the international highway through the neighbor countries, the Land Traffic Act B.E. 2522, which has been enforced for forty year lacks of its efficiency to control the behavior of the drivers. Also, since Thailand became the member state of the Vienna Convention on Road Traffic and Vienna Convention on Road Sign and Signal, the implementation of the national law to comply with the convention’s standard is required. However, from the past record of the government, the Land Traffic Act B.E. 2522 fails to reach the standards of both conventions since the tendency of the accidences and crimes related to the Act have been increasing annually. Therefore, such strategic fact inspires the author to do the research of how to promote the standard of the Land Traffic by criminological method. In this dissertation, the author concludes that legal punishment in the Land Traffic Act B.E. 2522 fails in terms of deterrence, rehabitation, and restoration. Because the only punishments from the Act are fine and imprisonment, especially an imprisonment is rarely used, the solution for this case should be using the retention as an alternative punishment. In this thesis, the author will discuss more about how retention can promote the standard of land traffic. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553 |
Degree Name: | นิติศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | นิติศาสตร์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/20702 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2010.1893 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2010.1893 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Law - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
polpipat_wo.pdf | 3 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.