Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/20892
Title: พฤติกรรมทางด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลของศึกษานิเทศก์กรมสามัญศึกษา
Other Titles: An interpersonal behavior of the Department of General Education supervisors
Authors: พิทยา มุสิก
Advisors: ณัฐนิภา คุปรัตน์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
Subjects: ศึกษานิเทศก์
Issue Date: 2523
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วัตถุประสงค์ของการวิจัย 1. เพื่อศึกษาพฤติกรรมทางด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลของศึกษานิเทศก์กรมสามัญศึกษา 2. เพื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมทางด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลของศึกษานิเทศก์เขตและจังหวัด สมมติฐานของการวิจัย 1. ศึกษานิเทศก์กรมสามัญศึกษา มีพฤติกรรมด้านการร่วมประสานสัมพันธ์และด้านความรักใคร่ผูกพันสูง และมีพฤติกรรมด้านการควบคุมต่ำ 2. ศึกษานิเทศก์เขตและจังหวัดมีพฤติกรรมทางด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลไม่แตกต่างกัน วิธีดำเนินการวิจัย ตัวอย่างประชากรที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย ศึกษานิเทศก์เขตทุกคน รวม 231 คน ศึกษานิเทศก์จังหวัด สุ่มตัวอย่างแบบธรรมดาโดยวิธีจับฉลากเขตการศึกษาละ 1 จังหวัด ได้ศึกษานิเทศก์จังหวัด 127 คน รวมตัวอย่างประชากรทั้งสิ้น 358 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามแบบตรวจสอบและแบบประเมินค่า ซึ่งดัดแปลงมาจาก FIRO-B ของ ซูทช์ (Schutz) แบบสอบถามนี้ถามพฤติกรรมทางด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล 3 ด้าน คือ พฤติกรรมด้านความรักใคร่ผูกพัน ด้านการร่วมประสานสัมพันธ์ และด้านการควบคุม การส่งแบบสอบถามได้ใช้บริการทางไปรษณีย์ส่วนหนึ่งและนำส่งและรับคืนด้วยตนเองอีกส่วนหนึ่ง ได้แบบสอบถามกลับคืนมาจำนวน 254 ฉบับคิดเป็นร้อยละ 70.95 การวิเคราะห์ข้อมูล วิเคราะห์โดยการหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบค่าที สรุปผลการวิจัย 1. ศึกษานิเทศก์กรมสามัญศึกษา มีพฤติกรรมทางด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลด้านการแสดงออกซึ่งความรักใคร่ผูกพันสูง มีพฤติกรรมความต้องการความรักใคร่ผูกพันการแสดงออกในการร่วมประสานสัมพันธ์ และการแสดงออกในการควบคุมปานกลาง และมีพฤติกรรมความต้องการการร่วมประสานสัมพันธ์ และความต้องการควบคุมต่ำ 2. พฤติกรรมทางด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลด้านการแสดงออกของศึกษานิเทศก์กรมสามัญศึกษาสูงกว่าพฤติกรรมด้านความต้องการในทุกพฤติกรรม 3. พฤติกรรมทางด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลของศึกษานิเทศก์เขตและจังหวัดแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ .01
Other Abstract: The Purposes of the Study 1. To investigate the interpersonal behavior of the Department of General Education Supervisors. 2. To compare interpersonal behavior of educational region supervisors and changwat supervisors. Procedures for Collecting the Data Two groups from 12 regions serve as population for this study, namely, 231 educational region supervisors and 127 changwat supervisors. The instrument used for the collection of data in this study was a modified Schutz's FIRO-B questionnaire with a checklist and a rating scale. Three hundred fifty-eight questionnaires were distributed by mail or by making direct contact with the supervisors. Two hundred fifty-four completed copies or 70.95 percent were returned. The data were analysed by using percentage, arithmetic mean, standard deviation and t-test. The Research Results The findings of the study indicate that the Department of General Education Supervisors have high expressed affection, medium wanted affection, medium expressed inclusion, low wanted inclusion, medium expressed control, and low wanted control. Expressed behavior of the supervisors is significantly higher than wanted behavior. There is no significant difference between the interpersonal behavior of educational region supervisors and changwat supervisors.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2523
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: บริหารการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/20892
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Pithya_Mu_front.pdf342.78 kBAdobe PDFView/Open
Pithya_Mu_ch1.pdf402.48 kBAdobe PDFView/Open
Pithya_Mu_ch2.pdf783.97 kBAdobe PDFView/Open
Pithya_Mu_ch3.pdf376.93 kBAdobe PDFView/Open
Pithya_Mu_ch4.pdf454.27 kBAdobe PDFView/Open
Pithya_Mu_ch5.pdf323.99 kBAdobe PDFView/Open
Pithya_Mu_back.pdf474.92 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.