Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/20992
Title: ทัศนคติของครูประถมศึกษาที่มีส่วนร่วมทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตย : ศึกษาเฉพาะกรณีครูประถมศึกษาในจังหวัดสมุทรสาคร
Other Titles: The attitude on political participation of the primary school teachers in a democratic regime : a case study of the primary school teachers in Samutsarkhon Province
Authors: ปรีชา ตงมณี
Advisors: พรศักดิ์ ผ่องแผ้ว
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
Subjects: ครู -- ทัศนคติ
ครู -- การเมืองและการปกครอง
ครู -- กิจกรรมทางการเมือง
Issue Date: 2521
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยเรื่องนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อวิเคราะห์และเปรียบเทียบทัศนคติในการมีส่วนร่วมทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตย ได้แก่ความรู้ความเข้าใจ ความสำนึกความสนใจ การมองเห็นความสำคัญของการเลือกตั้ง ระบบพรรคการเมือง และกลุ่มผลประโยชน์ ถือเอากลุ่มตัวอย่างของครูประถมศึกษาชายหญิงอายุ 19-33 ปี 34-50 ปี วุฒิต่ำกว่าอณุปริญญาตรี และอณุปริญญาตรีขึ้นไป ที่กำลังทำการสอนอยู่ในจังหวัดสมุทรสาคร จำนวนทั้งสิ้น 708 คน โดยสุ่มตัวอย่างครูประถมศึกษาสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด 369 คน นอกนั้นทดสอบทั้งหมด ได้แก่ครูประถมศึกษาที่สังกัดเทศบาล 189 คน และสังกัดโรงเรียนราษฎร์ 150 คน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การทดสอบไค-สแควร์ การดำเนินการวิจัยครั้งนี้ ได้หากลุ่มตัวอย่างที่เป็นกลางมากที่สุด พยายามหลีกเลี่ยงตัวแปรแทรกซ้อนต่างๆ เช่น อารมณ์ของผู้ตอบแบบสอบถาม อายุ ประสบการณ์ที่เป็นครูอยู่ในจังหวัดสมุทรสาคร ให้อยู่ในขอบเขตที่กำหนดไว้ เลือกประชากรที่มีสภาพทางเศรษฐกิจ สังคมและการศึกษาที่ใกล้เคียงกัน จำนวนประชากรก็พยายามให้ได้แต่ละสังกัดปานๆ กัน เมื่อรวมแล้วให้ได้มากที่สุด การออกไปทดสอบแต่ละครั้งผู้วิจัยได้ไปทำการทดสอบด้วยตนเองและควบคุมกลุ่มตัวอย่างวิจัยอย่างใกล้ชิด สร้างบรรยากาศแก่ครูในการตอบแบบสอบถามเพื่อให้เข้าใจและปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ให้มากที่สุด การวิเคราะห์ข้อมูลกลุ่มตัวอย่างทั้ง 708 คนได้ผลการวิจัยคือ 1. ครูประถมศึกษาชายหญิงมีความรู้ความเข้าใจในการมีส่วนร่วมในทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตยดี มีความสำนึกความสนใจในการมีส่วนร่วมทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตยน้อย แต่ครูประถมศึกษาชายยังมีความสำนึกความสนใจมากกว่าครูประถมศึกษาหญิง 2.ครูประถมศึกษาชายหญิงมีความตระหนักถึงความสำคัญของการเลือกตั้งและระบบพรรคการเมืองเมืองในระบอบประชาธิปไตยน้อยที่สุด และเมื่อเปรียบเทียบแล้วครูประถมศึกษาชายมีความตระหนักมากกว่าครูประถมหญิง ส่วนความสำคัญของกลุ่มผลประโยชน์และสนใจเข้าร่วมในกระบวนการกลุ่มผลประโยชน์ทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตยก็มองเห็นความสำคัญน้อยที่สุดเช่นเดียวกัน 3. ครูประถมศึกษาอายุ 19-33 ปี และ 34-50 ปี มีความรู้ความเข้าใจในการมีส่วนร่วมทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตยดี แต่กลุ่มอายุ 14-33 ปี มีความรู้ความเข้าใจมากกว่ากลุ่มอายุ 34-50 ปี ส่วนความสำนึกความสนใจในการมีส่วนร่วมทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตยนั้นมีน้อยทั้งสองกลุ่ม 4. ครูประถมศึกษาอายุ 19-33 ปีและ 34-50 ปี ตระหนักถึงความสำคัญของการเลือกตั้งและระบบพรรคการเมืองในระบอบประชาธิปไตยน้อย ยึดถือตัวบุคคลในการเลือกตั้ง ไม่นิยมให้นักการเมืองสังกัดพรรคการเมืองมากที่สุด มองเห็นความสำคัญของกลุ่มผลประโยชน์และสนใจเข้าร่วมในกระบวนการกลุ่มผลประโยชน์ทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตยน้อยที่สุด เมื่อเปรียบเทียบแล้วกลุ่มอายุ 19-33 ปี มองเห็นความสำคัญมากกว่ากลุ่มอายุ 34-50 ปี 5. ครูประถมศึกษาวุฒิต่ำกว่าอณุปริญญาตรีและอณุปริญญาตรีขึ้นไป ปี มีความรู้ความเข้าใจในการมีส่วนร่วมทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตยดี แต่ครูอณุปริญญาตรีขึ้นไปมีความรู้ความเข้าใจมากกว่า ส่วนความสำนึกความสนใจในการมีส่วนร่วมทางการเมืองมีน้อยทั้งสองกลุ่ม และเมื่อเปรียบเทียบแล้วครูวุฒิอณุปริญญาตรีขึ้นไปมีความสำนึกความสนใจมากกว่า 6. ครูประถมศึกษาวุฒิต่ำกว่าอณุปริญญาตรีและอณุปริญญาตรีขึ้นไป มองเห็นความสำคัญของการเลือกตั้งและระบบพรรคการเมืองเมืองในระบอบประชาธิปไตยน้อยที่สุด และเมื่อเปรียบเทียบแล้วกลุ่มครูวุฒิอณุปริญญาตรีขึ้นไปมองเห็นความสำคัญมากกว่าและครูที่มีวุฒิทั้งสองกลุ่มยังยึดถือตัวบุคคล นิยมเลือกผู้แทนที่มียศตำแหน่งสูงๆ มีอิทธิพล มีฐานะร่ำรวยในการเลือกตั้ง ไม่นิยมให้นักการเมืองสังกัดพรรคการเมืองมากที่สุดและมองเห็นความสำคัญของกลุ่มผลประโยชน์และสนใจเข้าร่วมในกระบวนการกลุ่มผลประโยชน์ทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตยน้อยที่สุดอีกด้วย
Other Abstract: The author has tried to do his boot in this research selecting the most unbiased samples, dealing with soma critical intervening variables mamas emotional effects from the respondents, as well as their ages and teaching experiences in the locality, so as to lesson down to the proposed acceptance these dominants that would affect the quality of the research. The selected samples are of the same socio-economic and educational status, and in good proportion with their appropriated agencies. In addition, the field trips for a screen test are operated by the author himself, in close control of the samples but with good human relationship needed in the contact. The rapport is satisfactorily obtained. The analysis of the data from 708 samples is done by a chi - square test. The followings, are the outcome of the research 1. The primary school teachers of both sexes are equally best well informed of political participation in a democratic regime, as well as they are equally least aware and interested in political participation. But male teachers have more awareness and interest than female teachers. 2. The primary school teachers of both sexes equally sea that the general election and political party are not very important. But male teachers regard them as more important than female teachers. The respondents of both sexes think the least of interest groups and political participation. 3. The primary school teachers by age intervals of 19 -.33 and 34 - 50 are equally well-informed of political participation to the most extent. Anyhow the age interval group of 19 - 33 is the better. But for the political sense and interest, both age interval group are equally very inadequate. 4. The primary school teachers by age intervals of 19 -33 and 34 - 50 do not equally think much about general election and democratic political party system. They regard personality as more important than other rationale in an election. They do not feel inclined as to force the politicians to tie themselves to a certain political party, They pay the least importance of the interest groups and participation in the political interest groups. Anyhow the age interval group of 19 -33 is the better. 5. The primary school teachers of below diploma, and diploma and over groups are equally best well informed of political participation in a democratic regime. But the diploma and over group is the better. Both groups have little political sense and interest in participation. Anyhow the diploma and over group is the better. 6. The primary school teachers of below diploma and diploma and over groups equally see little importance of general election and political party system. But the diploma and over group is the better. Both groups regard personality of high ranking designation and rich as more important. They do not feel inclined as to force the politicians to tie themselves to a certain political party. They see the least importance of the interest groups and participation in the political interest groups.
Description: วิทยานิพนธ์ (ร.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2521
Degree Name: รัฐศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การปกครอง
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/20992
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Pricha_To_front.pdf576.22 kBAdobe PDFView/Open
Pricha_To_ch1.pdf949.75 kBAdobe PDFView/Open
Pricha_To_ch2.pdf1.92 MBAdobe PDFView/Open
Pricha_To_ch3.pdf514.5 kBAdobe PDFView/Open
Pricha_To_ch4.pdf1.4 MBAdobe PDFView/Open
Pricha_To_ch5.pdf556.19 kBAdobe PDFView/Open
Pricha_To_back.pdf782.79 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.