Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/21208
Title: การใช้หลักสูตรมัธยมศึกษาตอนปลาย ฉบับพุทธศักราช 2518 ในเขตการศึกษา 12
Other Titles: Implementation of 2518 B.E. upper secondary school curriculum in educational region 12
Authors: พิชัย เสงี่ยมจิตต์
Advisors: นพพงษ์ บุญจิตราดุลย์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: ไมีมีข้อมูล
Issue Date: 2519
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วัตถุประสงค์ของการวิจัย เพื่อสำรวจปัญหาปัจจุบันในการใช้หลักสูตรมัธยมศึกษาตอนปลาย ฉบับพุทธศักราช 2518 ในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ในเขตการศึกษา 12 วิธีดำเนินการวิจัย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม จำนวน 14 ชุด แยกตามประเภทของบุคลากร โดยมีลักษณะคำถามเป็นแบบตรวจสอบปัญหา มาตราส่วนประมาณค่า และคำถามปลายเปิด เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลจากบุคลากรที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการใช้หลักสูตรมัธยมศึกษาตอนปลาย ฉบับพุทธศักราช 2518 ที่ปฏิบัติหน้าที่อยู่ในโรงเรียนมัธยมสังกัดกรมสามัญศึกษากระทรวงศึกษาธิการ ในเขตการศึกษา 12 จำนวน 15 โรงเรียน ยกเว้นโรงเรียนมัธยมแบบประสม บุคลากรที่ใช้เป็นประชากรประกอบด้วย ผู้บริหารโรงเรียน หัวหน้าสายวิชาที่ดำรงตำแหน่งในหมวดวิชาภาษาไทย หมวดวิชาสังคมศึกษา หมวดวิชาพลานามัย หมวดวิชาวิทยาศาสตร์ หมวดวิชาคณิตศาสตร์ หมวดวิชาภาษาอังกฤษ หมวดวิชาศิลปศึกษา หมวดวิชา หมวดวิชาชีพ อาจารย์ผู้สอนในแต่ละหมวดวิชาดังกล่าว เจ้าหน้าที่ต่างๆ ในโรงเรียนได้แก่ เจ้าหน้าที่แนะแนว เจ้าหน้าที่ทะเบียน เจ้าหน้าที่วัดผลการศึกษา และเจ้าหน้าที่ห้องสมุดผู้วิจัยได้ส่งแบบสอบถามไปยังบุคลากร จำนวน 404 ชุด ได้รับคืนและใช้ได้ 380 ชุด คิดเป็นร้อยละ 94.08 ของแบบสอบถามที่ส่งไปทั้งหมด การวิเคราะห์ข้อมูลที่ใช้สัดส่วนความถี่ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ ผลการวิจัย ข้อมูลที่ได้จากการวิจัย สรุปได้ว่า การประกาศใช้หลักสูตรอย่างกะทันหัน ทำให้เกิดปัญหามากมาย มีปัญหาต่างๆ ดังต่อไปนี้ ในด้านการบริหารหลักสูตร ประสบปัญหาในหลายๆ ด้าน ซึ่งได้แก่ ความขาดแคลนจำนวนบุคลากรที่รับผิดชอบงานด้านต่างๆ ความเพียงพอของหนังสือหลักสูตร และเอกสารชุดคู่มือประกอบหลักสูตร การจัดโปรแกรมการเรียนให้สอดคล้องกับสภาพท้องถิ่น และความสอดคล้องของหลักสูตรที่มีต่อความต้องการของนักเรียนในด้านการสอนและการประเมินผลมีปัญหาเกี่ยวกับ (1) การเขียนจุดมุ่งหมายเชิงพฤติกรรมของอาจารย์ผู้สอน (2) การปรับเนื้อหาให้เหมาะสมและสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน (3) ความไม่เพียงพอของเวลาในการสอนให้ครบตามหลักสูตรของครู การฝึกปฏิบัติในแต่ละรายวิชา การทำแบบฝึกหัด และการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองของนักเรียน (4) การขาดความรู้พื้นฐานที่เพียงพอก่อให้เกิดปัญหาในการเลือกเรียนในบางหมวดวิชา (5) ความขาดแคลนของหนังสือแบบเรียน หนังสืออ่านประกอบ อุปกรณ์การสอน ปัญหาความไม่เพียงพอของงบประมาณ โดยเฉพาะในวิชาที่ต้องการ วัสดุอุปกรณ์และห้องเรียน ห้องพิเศษ (6) การประเมินผลให้ครบทั้ง 4 ทักษะ ปัญหาที่กล่าวมาข้างต้นเกิดขึ้นในหลายหมวดวิชาแม้จะมีปัญหาคล้ายคลึงกันก็ตาม แต่ละหมวดวิชามีปัญหามากน้อยแตกต่างกันออกไป การสำรวจปัญหาครั้งนี้ได้จัดระดับปัญหาให้เห็นเด่นชัดในแต่ละหมวดวิชาด้วย เจ้าหน้าที่ทั้ง 4 ฝ่าย ซึ่งได้แก่ เจ้าหน้าที่แนะแนว ทะเบียน วัดผลศึกษาและเจ้าหน้าที่ห้องสมุด ประสบปัญหาในระสูงคล้ายคลึงกันในด้านเหล่านี้คือ (1) การขาดแคลนบุคลากรซึ่งทำหน้าที่แต่ละฝ่ายโดยตรงเนื่องจากต้องรับผิดชอบในการสอนด้วย (2) การขาดแคลนอุปกรณ์และสถานที่ในการดำเนินงาน เจ้าหน้าที่แนะแนวประสบปัญหาที่แตกต่างกันออกไป เกี่ยวกับการให้ความร่วมมือของผู้ปกครอง และบุคลากรในโรงเรียนเจ้าหน้าที่ขาดความรู้เกี่ยวกับอาชีพในประเทศไทย และสาขาวิชาต่างๆ ที่เปิดสอนในระดับอุดมศึกษาเพื่อใช้ในการแนะแนว
Other Abstract: The purpose of the study The intent of this study is to survey the problems of the 2518 B.E. Upper Secondary School curriculum implementation in Educational Region 12. Procedures A questionnaire was administered to the personnel working in 15 schools (excluding Comprehensive High Schools) under the auspices of the. Department of General Education, Ministry of Education. The personnel responding included administrators department heads (Thai, Social Studies, Physical Education, Science Arithmetic, English, Art and Vocational Education), classroom instructors, counselors, registrars, evaluators and librarians. The questionnaires comprised 14 sets of questions for different groups of personnel. Each set was divided into two main sections: a check list and a rating seale (some sets included open-ended questions). The questionnaires were sent to 404 people and were returned by 380 (94.08 percent of' the copies sent). The data were analyzed using frequencies, percentages, arithmetic means, standard deviations, and coefficient correlations. Findings The data from this study revealed that the abrupt enforcement of this new curriculum brought about a multitude of problems. In the phase of curriculum administration, Several problems areas including the insufficiency of instructors in all subject areas, curriculum materials such as curriculum guides, instructional problem arrangements toe suit local conditions and students' interest. As for instruction and evaluation, numerous Problems were voted. The study indicated that problems included (1) Writing behavioral objectives for and by instructors; (2) Failure in tailoring the content to meet the daily life situation;(3) Inadequate time to teach the curriculum completely (or the Students to complete; the excercises, and to conduct independent study; (4) Inadequate academic background of the students, causing guidance problems in course selection within subject areas; (5) Inadequacy of textbooks of supplementary readings in all subject areas, and of instructional materials due to insufficient budget, especially for those subject areas where special materials and classroom were necessary. As for the four categories of service personnel (counselors, registrars, evaluators and librarians), the problems included the same problems as instructors and others; (1) shortage of personnel (because they teach in addition besides these other services); (2) lack of materials and rooms for their services; (3) lack of co-operation from parents and staff; (4) lack of knowledge concerning vocation in Thailand; (5) lack of knowledge concerning advance study in the professions etc.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2519
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: บริหารการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/21208
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Pichai_San_front.pdf430.98 kBAdobe PDFView/Open
Pichai_San_ch1.pdf420.7 kBAdobe PDFView/Open
Pichai_San_ch2.pdf1.11 MBAdobe PDFView/Open
Pichai_San_ch3.pdf349.37 kBAdobe PDFView/Open
Pichai_San_ch4.pdf1.82 MBAdobe PDFView/Open
Pichai_San_ch5.pdf894.07 kBAdobe PDFView/Open
Pichai_San_back.pdf1.45 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.