Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/21526
Title: การสรรหาและคัดเลือกบุคคลขององค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย และการไฟฟ้านครหลวง : ศึกษาในเชิงเปรียบเทียบ
Other Titles: Comparative study of recruitment and selection of Telephone Organization of Thailand and Metropolitan Electricity Authority
Authors: ศนิพงษ์ หงษ์พานิช
Advisors: ไพโรจน์ สิตปรีชา
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2525
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ทรัพยากรมนุษย์เป็นทรัพยากรที่สำคัญที่สุด ในบรรดาทรัพยากรในการบริหารทั้งหมด อันจะเป็นตัวจักรสำคัญในการบริหารงาน และการดำเนินการให้บรรลุวัตถุประสงค์ขององค์การ การสรรหาและคัดเลือกบุคคลจึงเป็นขั้นตอนแรกที่สำคัญที่สุดในการบริหารทรัพยากรมนุษย์ ในปัจจุบันองค์การรัฐวิสาหกิจหลายแห่งประเทศไทย เป็นที่เพ่งเล็งและวิพากษ์วิจารณ์โดยทั่วไปว่าเป็นการถูกต้องและคุ้มค่าหรือไม่ในการดำเนินการให้บริการในด้านสาธารณูปโภคหรือด้านอื่นๆ แก่ประชาชน เนื่องจากรัฐวิสาหกิจหลายแห่งประสบ ความล้มเหลวในการดำเนินการ ซึ่งปัจจัยที่สำคัญประการหนึ่งคือการขาดการบริหารทรัพยากรมนุษย์ที่ดี โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การสรรหาและคัดเลือกบุคคลอันเป็นขั้นตอนแรก จึงเป็นที่น่าศึกษาถึงปัญหาต่างๆ ทั้งในทางปฎิบัติและในด้านกฎเกณฑ์ ระเบียบ ข้อบังคับต่างๆ ของรัฐวิสาหกิจว่าประสบกับปัญหาต่างๆ และมีการนำหลักวิชาการมาประยุกต์ใช้มากน้อยเพียงใด และมีทางแก้ไขปัญหาอย่างไร ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยได้ตั้งสมมติฐานไว้ดังต่อไปนี้ คือ สมมติฐานที่หนึ่ง การสรรหาและคัดเลือกบุคคลในองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยและการไฟฟ้านครหลวงมีการนำหลักวิชาการมาใช้คล้ายคลึงกัน สมมติฐานที่สอง พนักงานองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยและพนักงานการไฟฟ้านครหลวงมีทัศนคติที่ดีต่อกระบวนการสรรหาและคัดเลือกบุคคลในองค์การของตน สมมติฐานที่สาม ความยุติธรรมในการสรรหาและคัดเลือกบุคคลมีความสัมพันธ์ในเชิงบวก (positive) ต่อขวัญในการทำงานของพนักงานองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยและพนักงานการไฟฟ้านครหลวง ในการศึกษาวิจัยเพื่อตรวจสอบสมมติฐาน ผู้วิจัยใช้วิธีแบบบรรยายและการออกวิจัยสนามโดยใช้แบบสอบถาม ซึ่งผลจากการศึกษาวิจัยปรากฎในเชิงสนับสนุนสมมติฐานทั้งสามดังต่อไปนี้ สมมติฐานที่หนึ่ง ผลการวิจัยปรากฏในเชิงสนับสนุนสมมติฐานที่ตั้งไว้ คือองค์การทั้งสองมีการนำเอาหลักวิชาการประยุกต์ใช้คล้ายคลึงกัน สมมติฐานที่สอง ผลจากการวิจัยปรากฏในเชิงสนับสนุนสมมติฐานที่ตั้งไว้ แต่เมื่อเปรียบเทียบในเชิงสถิติแล้วจะเห็นว่า พนักงานการไฟฟ้านครหลวงมีทัศนคติที่ดีต่อการสรรหาและคัดเลือกบุคคลในองค์การของตนมากกว่าที่พนักงานองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยมีต่อการสรรหาและคัดเลือกบุคคลของตน สมมติฐานที่สาม ผลการวิจัยปรากฏในเชิงสนับสนุนสมมติฐานที่ตั้งไว้ แต่เมื่อเปรียบเทียบในเชิงสถิติแล้ว ปรากฏว่าความยุติธรรมมีความสัมพันธ์ในเชิงบวกต่อขวัญในการทำงานของพนักงานองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยมากกว่าพนักงานการไฟฟ้านครหลวง ผลจากการศึกษาวิจัยในครั้งนี้อาจสรุปได้ว่าการนำหลักวิชาการมาประยุกต์ใช้ในการสรรหาและคัดเลือกบุคคลก่อให้เกิดทัศนคติที่ดีต่อองค์การในหมู่พนักงานและเป็นการเสริมสร้างขวัญในการทำงานของพนักงานด้วย
Other Abstract: IT is widely recognized that human resources is one of the most important factors among other managerial resources in bringing about any organizational stated objectives. At present , most public enterprises in Thailand are criticized that they cannot serve the public effectively as a result of lacking in human resources management, i.e. ineffective recruitment and selection of personnel. This study, therefore, focuses on the problems in theory and practices of the particular organizations in order to find appropriate and practical solutions to the long – standing problems Three propositions are presented. First, the Telephone Organization of Thailand and The Metropolitan Electricity Authority had applied similar technology of personnel administration in their organizations. Second, the employees in these two organizations have positive attitudes toward their own recruitment and selection process. Third, the fairness of the recruitment and selection process has significant impact on the morale of the employee of these two organizations. In the final analysis, the above mentioned propositions are thouroughly advanced. The conclusion is that the application of technological and administration concepts in the personnel recruitment and selection processes has definitely affected positive attitudes and promoted morale among officers and employees of any organizations.
Description: วิทยานิพนธ์ (ร.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2525
Degree Name: รัฐศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การปกครอง
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/21526
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sanipong_Ho_front.pdf822.9 kBAdobe PDFView/Open
Sanipong_Ho_ch1.pdf5.1 MBAdobe PDFView/Open
Sanipong_Ho_ch2.pdf2.13 MBAdobe PDFView/Open
Sanipong_Ho_ch3.pdf1.65 MBAdobe PDFView/Open
Sanipong_Ho_ch4.pdf1.74 MBAdobe PDFView/Open
Sanipong_Ho_ch5.pdf711.98 kBAdobe PDFView/Open
Sanipong_Ho_ch6.pdf608.6 kBAdobe PDFView/Open
Sanipong_Ho_back.pdf1.76 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.