Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/21531
Title: ความคิดเห็นของผู้บริหารและอาจารย์ในสถาบันอุดมศึกษา ที่มีต่อการให้อาจารย์ไปปฏิบัติงานเพื่อเพิ่มพูนความรู้ทางวิชาการ
Other Titles: Opinions of administrators and faculties in higher education institutions concerning sabbatical leaves
Authors: ศรินทิพย์ วีโรทัย
Advisors: พรชุลี อาชวอำรุง
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2526
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วัตถุประสงค์ของการวิจัย 1.ศึกษาความคิดเห็นของผู้บริหารและอาจารย์เกี่ยวกับการให้อาจารย์ไปปฎิบัติงานเพื่อเพิ่มพูนความรู้ทางวิชาการ 2.ศึกษาความสำคัญและความต้องการของผู้บริหารและอาจารย์ต่อการไปปฎิบัติงานเพื่อเพิ่มพูนความรู้ทางวิชาการ 3.ศึกษารูปแบบของการให้อาจารย์ไปปฎิบัติงานเพื่อเพิ่มพูนความรู้ทางวิชาการเพื่อเสนอแนวทางในการวางแผนและโครงการในการอนุมัติโครงการ วิธีดำเนินการวิจัย วิธีดำเนินการวิจัยมีดังนี้ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้มี 2 กลุ่ม คือ กลุ่มผู้บริหารจำนวน 50 คน และกลุ่มอาจารย์ จำนวน 250 คน จำนวนรวมทั้งสิ้น 300 คน จากมหาวิทยาลัยในสังกัดทบวงมหาวิทยาลัย 6 แห่ง ได้แก่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ สถาบันบัณฑิตบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และมหาวิทยาลัยรามคำแหง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ครั้งนี้ เป็นแบบสอบถามความคิดผู้บริหารและอาจารย์เกี่ยวกับการให้อาจารย์ไปปฎิบัติงานเพื่อเพิ่มพูนความรู้ทางวิชาการ ซึ่งได้ผ่านการตรวจสอบจากคณะผู้เชี่ยวชาญแล้วได้รับแบบสอบถามที่สมบูรณ์ นำมาวิเคราะห์ได้ 222 ชุด คิดเป็นร้อยละ 74 สาระสำคัญของแบบสอบถามมี 3 ตอน ประกอบด้วย ตอนที่ 1 ข้อมูลเกี่ยวสถานภาพของผู้ตอบแบบสอบถาม ตอนที่ 2 คำถามเกี่ยวกับบทบาทและความรับผิดชอบของอาจารย์ในด้านการสอน การวิจัย และการบริการวิชาการแก่ชุมชน ตอนที่ 3 สำรวจความคิดเห็นของผู้บริหารและอาจารย์เกี่ยวกับการให้อาจารย์ไปปฏิบัติงานเพื่อเพิ่มพูนความรู้ทางวิชาการ นำข้อมูลมาวิเคราะห์ด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปคอมพิวเตอร์ SPSS โดยวิธีหาค่าร้อยละ หาค่าความถี่ หาค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน หาค่าเฉลี่ย หาค่าที (t – test) และ ANOVA (F- test) และใช้ Scheffe' ’s S method ตรวจสอบความแตกต่างแต่ละคู่ สรุปผลการวิจัย ผลของการวิจัย สรุปได้ว่า วัตถุประสงค์ของการให้อาจารย์ไปปฎิบัติงานเพื่อเพิ่มพูนความรู้ทางวิชาการ มีความสอดคล้องกับความต้องการของผู้บริหารและอาจารย์ คือ ควรเป็นกิจกรรมเพื่อการวิจัย และเขียนตำราเอกสารทางวิชาการ ทั้งนี้ เพราะการทำวิจัย และการเขียนตำราเอกสารทางวิชาการ จำเป็นต้องใช้เวลาต่อเนื่องกัน เพื่อศึกษาค้นคว้าและบางโครงการต้องมีการทดลองหรือไปเก็บข้อมูลนอกสถานที่ ส่วนการเขียนตำราเอกสารวิชาการ ก็ต้องการเวลาสำหรับค้นคว้า และสมาธิในการรวบรวมความคิด เช่นกัน ผลจากการวิเคราะห์ พบว่า ผู้บริหารและอาจารย์ตอบว่า อุปสรรคในการงานด้านการวิจัยและแม้แต่การบริการทางวิชาการแก่ชุมชน คือ การมีชั่วโมงสอนมากอยู่แล้ว ซึ่งหากพิจารณาข้อมูลเกี่ยวกับชั่วโมงสอนประจำสัปดาห์ จะเห็นว่าเฉพาะชั่วโมงสอนในหลักสูตรอย่างเดียวผู้บริหารและอาจารย์มีชั่วโมงสอนไม่มากนัก คือระหว่าง 4 – 6 ชั่วโมง / สัปดาห์ ประมาณ ร้อยละ 30 และ 10 ชั่วโมง / สัปดาห์ก็เพียง ร้อยละ 30 แต่เนื่องจากสภาพเป็นจริงของการปฎิบัติของอาจารย์มหาวิทยาลัยในประเทศไทย ยังมีกิจกรรมอื่นๆ เข้ามาแทรกแซงเวลาปฎิบัติงานวิจัย และเขียนตำราอีกมากมายเฉลี่ยแล้วปีละไม่ต่ำกว่า 3 – 4 เดือน นอกจากนี้ยังพบว่าจำนวนผู้บริหารและอาจารย์ที่ได้ปฎิบัติงานวิจัย มีอยู่ถึง ร้อยละ 60 แสดงว่าผู้บริหารและอาจารย์สนใจงานวิจัย ซึ่งถ้ามหาวิทยาลัยสามารถขจัดปัญหา เรื่องเวลาได้ โดยการสนับสนุนให้อาจารย์ได้พักการสอนเพื่อไปเพิ่มพูนความรู้ทางวิชาการโดยทำวิจัย หรือแต่งและเรียบเรียงตำรา แล้วก็จะได้งานวิจัยและตำราที่สมบูรณ์ เพื่อประโยชน์ต่อการเรียนการสอนต่อไป ซึ่งเป็นวิธีปฎิบัติ ที่มหาวิทยาลัยโดยสากลใช้กันอยู่ทั่วไป ข้อสังเกต คือ ระหว่างวัตถุประสงค์ เพื่อการวิจัยและเพื่อเขียนตำราและเอกสารทางวิชาการ ผู้บริหารให้ความสำคัญและความต้องการเพื่อการวิจัย สูงกว่าอาจารย์ในทางกลับกัน อาจารย์ให้ความสำคัญและความต้องการเพื่อเขียนตำราเอกสารทางวิชาการสูงกว่าผู้บริหาร ทั้งนี้เป็นเพราะอาจารย์ส่วนใหญ่ มีวัยวุฒิ คุณวุฒิ ตลอดจนประสบการณ์ในการทำงาน และทักษะในการทำวิจัยน้อยกว่าผู้บริหาร ดังนั้น ผู้บริหารมหาวิทยาลัยควรจะได้ปลูกฝังแนวคิดและกระตุ้นให้อาจารย์สำนึกและตระหนักในความสำคัญของการวิจัยและการเขียนตำราเอกสารทางวิชาการเพื่อประโยชน์ต่อการเรียนการสอนและความเป็นเลิศทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเป็นส่วนรวม ผลของการวิจัยได้เสนอแนวทางในการพิจารณาให้อาจารย์ไปปฎิบัติงานเพื่อเพิ่มพูนความรู้ทางวิชาการ ดังนี้ วัตถุประสงค์ของการให้อาจารย์ไปปฎิบัติงานเพื่อเพิ่มพูนความรู้ทางวิชาการ คือ การพัฒนาคณาจารย์ในสถาบันอุดมศึกษา เพื่อความเป็นธรรมในการพิจารณาคัดเลือก ผู้ยื่นขอลาไปปฎิบัติงานเพื่อเพิ่มพูนความรู้ทางวิชาการ รูปแบบของการอนุมัติบุคคล และโครงการจึงควรมีลักษณะดังนี้ 1.ผู้สมัครต้องมีคุณสมบัติตามที่กำหนดไว้ คือ รับราชการในมหาวิทยาลัย / สถาบัน มาไม่น้อยกว่า 6 ปี นับถึงวันยื่นคำขอ 2.ระยะเวลาของการไปเพิ่มพูนความรู้ทางวิชาการไม่เกิน 1 ปี 3.การไปเพิ่มพูนความรู้ทางวิชาการ ได้แก่ การวิจัย และการแต่งและการเรียบเรียงตำรา หรือการไปปฎิบัติงานอย่างอื่นที่ได้รับมอบหมายจากทางมหาวิทยาลัย 4. อัตราส่วนของอาจารย์ที่ขอลาไปปฎิบัติงานไม่เกินร้อยละสิบของอาจารย์ในคณะ 5. ให้มีการติดตามผลงานและประเมินผลงาน 6.ต้องทำสัญญากับมหาวิทยาลัย / สถาบันตามเงื่อนไขที่กำหนด 7.มีบทลงโทษผู้ไม่ปฏิบัติตามสัญญา ข้อเสนอแนะของการวิจัย ผลจากการวิจัยผู้วิจัยได้เสนอมาตรการในการพิจารณาให้อาจารย์ไปปฎิบัติงานเพื่อเพิ่มพูนความรู้ทางวิชาการไว้เพื่อเป็นแนวทางในการร่างระเบียบต่อไป ข้อเสนอแนะ เพื่อการวิจัยครั้งต่อไปควรมีการวิจัยเกี่ยวกับการประเมินผลงานของผู้ที่ไปปฎิบัติงานมาแล้วศึกษาความต้องการของอาจารย์จำแนกตามสาขาวิชา เพื่อหาข้อสรุปว่าจะมีแนวโน้มไปในด้านการวิจัยหรือเขียนตำราหรือยังมีความต้องการอื่นๆ อีก สุดท้ายศึกษาผลกระทบ ต่อโอกาสได้ไปเพิ่มพูนความรู้ของอาจารย์จากขนาดของมหาวิทยาลัยและสภาพภูมิศาสตร์ ที่ตั้งของมหาวิทยาลัย
Other Abstract: The Purpose of the Study 1.To study opinions of administrators and faculty members in higher education institutions concerning sabbatical leaves. 2. To study importance and needs of administrators and faculty members concerning sabbatical leaves. 3. To suggest an appropriate model of sabbatical leave which might be effectively and efficiently administered. Methods and Procedures : The sample included 50 administrators and 250 faculty members from six universities ; Chulalongkorn University, Kasetsart University, National Institute for Development Administration, Khonkaen University, Chiengmai University, and Ramkhamhaeng University. A questionnaire on sabbatical leaves developed by the researcher was used in data collection. Subsequently, the data were analyzed by using percentage, frequencies, means, standard deviations, t – test, ANOVA (F- test) and Scheffe’ s S method to test statistical significance of difference. Research Conclusions : The following conclusions were based on the findings of the investigation : Both administrators and faculty members stated the opinions that sabbatical leave practice is one of the most valuable means by which a faculty member’s effectiveness may be enhanced. It is also considered to be beneficial to the institution because of the new strength that will be gained as a result of the leave. Recognizing the nescessity for faculty members to acquire new experiences to enrich their teaching and also to provide time for research project and writing, the university supports the principle of sabbatical leave. Statistics given in the research indicate quite large member of administrators and faculty members conducting research. However, the situation in which the University instructors find themselve today, it is indicative that most is not all of the faculty member time is consumed by teaching activities. Teaching load per week of faculty members are not heavy (4 – 6 hours/ week = 30%). However, under the present conditions a large number of students as well as the time consuming activities of administration, have forced instructors to occupy themselves with nothing other than teaching. Guidelines for Policy on Sabbatical Leave of Absence with Salary The purpose for providing sabbatical leaves is usually stated : “The university expects faculty members to maintain continuous professional growth. In order to assist in this growth, faculty members are encouraged to take periodic leaves of absence for scholarly work which will increase their effectiveness as members of the faculty. Normally such leaves are dependent upon : (1) meeting a length of service requirement , and (2) submitting a plan for a significant program of accomplishment during the leave. The leave are generally granted for one year with full salary. Normally, reports of accomplishments on the leave are required, and the faculty member must provide service to the institution for a specified period after returning from the leave. A penalty clause may be included for violations. It is advisable that the universities should support the sabbatical leave program for member of the teaching faculty to take time off from normal academic duties to engage in activities of professional value only. Then it will enable our higher education to meet the goal of academic excellence.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2526
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: อุดมศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/21531
ISBN: 9745619256
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sarintip_Ve_front.pdf821.52 kBAdobe PDFView/Open
Sarintip_Ve_ch1.pdf697.63 kBAdobe PDFView/Open
Sarintip_Ve_ch2.pdf1.44 MBAdobe PDFView/Open
Sarintip_Ve_ch3.pdf482.95 kBAdobe PDFView/Open
Sarintip_Ve_ch4.pdf2.36 MBAdobe PDFView/Open
Sarintip_Ve_ch5.pdf1.65 MBAdobe PDFView/Open
Sarintip_Ve_back.pdf1.08 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.