Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/21542
Title: การสอนแบบหน่วยและหน่วยการสอนในโรงเรียนประถมศึกษา
Other Titles: Unit teaching and teaching units in the elementary school
Authors: ศรีกระจ่าง คำสมาน
Advisors: สุมน อมรวิวัฒน์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2526
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วัตถุประสงค์ของการวิจัย 1. เพื่อศึกษาความเป็นมาของการสอนแบบหน่วยและหน่วยการสอนในโรงเรียนประถมศึกษาทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ 2. เพื่อศึกษาและรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับลักษณะของการสอนแบบหน่วยและหน่วยการสอน องค์ประกอบที่สำคัญ การนำไปใช้ในการเรียนการสอนระดับประถมศึกษาและปัญหาที่เกิดขึ้น ตามความคิดเห็นของนักการศึกษา วิธีดำเนินการวิจัย การวิจัยนี้ใช้วิธีวิจัยเชิงประวัติศาสตร์ ดังมีขั้นตอนต่อไปนี้ 1. ศึกษา และรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการสอนแบบหน่วยและหน่วยการสอนจากเอกสารหลักสูตรประถมศึกษาอดีตและปัจจุบัน หนังสือ วารสาร เอกสาร และสิ่งพิมพ์อื่นๆ ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ 2.สัมภาษณ์นักการศึกษาและครูปฎิบัติการสอนที่เคยมีส่วนเกี่ยวข้องกับการสร้างหลักสูตรประถมศึกษาอดีตและปัจจุบัน โครงการปรับปรุงส่งเสริมการศึกษาจังหวัดฉะเชิงเทรา และโครงการทดลองปรับปรุงการศึกษากรุงเทพฯ – ธนบุรี เกี่ยวกับการนำการสอนแบบหน่วยและหน่วยการสอนไปใช้ ตลอดจนองค์ประกอบอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง 3.นำข้อมูลที่ได้จากการศึกษา และสัมภาษณ์มาเรียบเรียงเป็นวิทยานิพนธ์ ผลการวิจัย การสอนแบบหน่วยและหน่วยการสอนเกิดขึ้นในยุคของการปฎิรูปทางการสอนในสหรัฐอเมริกา ตามปรัชญาการศึกษาแบบก้าวหน้านิยมซึ่งเน้นความสำคัญของสิ่งที่เด็กเรียนมากกว่าสิ่งที่จะสอนให้เด็ก การสอนแบบหน่วยมีหลักการพื้นฐานที่สำคัญคือการเน้นภาพรวมมากกว่าการแยกส่วนย่อย การเรียนรู้โดยการกระทำ การคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล ความต้องการ และความสนใจเป็นองค์ประกอบสำคัญของการเรียนรู้ การยึดเด็กเป็นศูนย์กลาง และยึดค่านิยมทางประชาธิปไตย การสอนแบบหน่วยและหน่วยการสอน มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้เด็กได้เรียนรู้ในลักษณะบูรณาการ ได้พัฒนาคุณลักษณะต่างๆ พร้อมกันไปทุกด้านทั้งทาง กาย อารมณ์ สังคม สติปัญญา และคุณลักษณะพิเศษอื่นๆ เพื่อความเป็นผู้มีบุคลิกภาพที่สมบูรณ์ เป็นคนคิดเป็น ทำเป็น แก้ปัญหาเป็น และสามารถนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ในการดำรงชีวิตอย่างมีสุข ฝึกการอยู่ร่วมกันและทำงานร่วมกันในสังคมประชาธิปไตยให้เห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าส่วนตัว มีความรับผิดชอบและมีวินัยในตนเอง ลักษณะการสอนแบบหน่วยที่สำคัญ คือ เป็นการสอนที่ไม่แบ่งแยกรายวิชา โดยจัดเนื้อหาเป็นหน่วยๆ สัมพันธ์กันหลายวิชา ภายใต้หัวข้อเรื่องหรือหน่วยการสอนเดียวกัน บทเรียนสนองความต้องการและความสนใจของผู้เรียน ยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลางในการเรียน ให้ผู้เรียนได้ร่วมกันวางแผนการเรียนโดยครูเป็นเพียงที่ปรึกษาหรือแนะแนวเมื่อเด็กต้องการ ใช้วิธีสอนหลายๆ วิธีเพื่อให้เด็กได้เรียนด้วยการกระทำกิจกรรมต่างๆ หลายรูปแบบ อันเป็นการสนองความแตกต่างระหว่างบุคคล เน้นกระบวนการเรียนมากกว่าเนื้อหาวิชา เปิดโอกาสให้เด็กได้แสดงออกในทางสร้างสรรค์ และพัฒนาคุณลักษณะอื่นๆ อย่างเต็มที่ ตามหลักการของประชาธิปไตย ฝึกวิธีการคิด การปฎิบัติและการแก้ปัญหาในชีวิตประจำวัน หน่วยการสอนมีหลายประเภท ดังนี้ ก.แบ่งตามลักษณะการจัดเนื้อหาสาระในหน่วยมี 2 ประเภท คือ หน่วยเนื้อหาวิชา และหน่วยประสบการณ์ 1.หน่วยเนื้อหาวิชา ยึดเนื้อหาวิชาในหลักสูตรเป็นแกนในการสร้างแบ่งเป็น 3 ประเภท คือ หน่วยหัวเรื่อง หน่วยปัญหา และหน่วยสหสัมพันธ์ 2. หน่วยประสบการณ์ ยึดกิจกรรมหรือประสบการณ์การเรียนรู้ของผู้เรียนเป็นแกนในการสร้าง แบ่งเป็น 4 ประเภท คือ หน่วยประสบการณ์ หน่วยโครงการ หน่วยกิจกรรม และหน่วยศูนย์ชีวิต ข.แบ่งตามจุดมุ่งหมายของการนำไปใช้มี 3 ประเภท คือ หน่วยวิทยากร หน่วยการสอน และหน่วยสำเร็จรูป 1.หน่วยวิทยากรสร้างโดยมีจุดมุ่งหมายและเนื้อหาสาระกว้างขวางไม่เฉพาะสำหรับเด็กกลุ่มใด แต่เพื่อเป็นหน่วยหลักที่ครูจะได้ศึกษาเป็นแนวในการสร้างหน่วยการสอน 2.หน่วยการสอนสร้างจากหน่วยวิทยากร โดยมีจุดมุ่งหมายและเนื้อหาสาระเหมาะสำหรับเด็กกลุ่มหนึ่งๆ โดยเฉพาะ 3. หน่วยสำเร็จรูปเป็นหน่วยที่ได้รับการทดลองสอนจนได้ผลมาแล้วมีจุดมุ่งหมายและเนื้อหาสาระตลอดทั้งกิจกรรมและสื่อการเรียน ข้อเสนอแนะต่างๆ ไว้ครบถ้วน จัดทำขึ้นเป็นหน่วยสำเร็จรูป เพื่อครูจะได้นำไปปรับใช้ให้เหมาะกับกลุ่มเด็ก แนวความคิดเรื่องการสอนแบบหน่วยและหน่วยการสอน ได้เริ่มนำมาใช้ในประเทศไทยเมื่อเริ่มโครงการปรับปรุงส่งเสริมการศึกษา จังหวัดฉะเชิงเทรา พ.ศ.2494 และโครงการทดลองปรับปรุงการศึกษากรุงเทพฯ – ธนบุรี เมื่อ พ.ศ. 2495 และได้มีการปรับปรุงมาเป็นลำดับ จนมีการสอนเรื่องการสอนแบบหน่วยและหน่วยการสอนในสถาบันฝึกหัดครู ปัญหาสำคัญของการสอนแบบหน่วยและหน่วยการสอน ในโรงเรียนประถมศึกษาของไทย คือ ความไม่เข้าใช้ในรูปแบบของการสอนแบบหน่วยอย่างชัดแจ้งเพราะ การสอนแบบหน่วยเป็นการสอนที่ใช้วิธีสอนหลายวิธียืดหยุ่นตามลักษณะเนื้อหากิจกรรม ผู้เรียน และช่วงเวลาที่สอน ครูไม่เข้าใจวิธีการสร้างหน่วยและขาดหน่วยการสอนให้ครูศึกษาอย่างพอเพียง ขาดแหล่งวิทยาการให้ครูศึกษาค้นคว้า แนวคิดของการสอนแบบหน่วยขัดกับแนวคิดเดิมในเรื่องเนื้อหารายวิชาและการสอน โดยครูเป็นศูนย์กลางซึ่งมีอยู่ในวงการศึกษาไทยมานาน การสอนแบบหน่วยและหน่วยการสอนมีผลต่อการพัฒนาหลักสูตรและการสอนมากขึ้น นับตั้งแต่หลักสูตรแบบสหสัมพันธ์จนมาเป็นหลักสูตรแบบแกน เพื่อช่วยให้ครูสามารถสอนแบบหน่วยและจัดหน่วยการสอนได้สัมฤทธิผล โดยเฉพาะหลักสูตรประถมศึกษา พุทธศักราช 2521 ที่ใช้อยู่ในปัจจุบันอาศัยหลักการของการสอนแบบหน่วยและหน่วยการสอนมาก ตั้งแต่การกำหนดหลักการ จุดหมาย โครงสร้าง และแนวในการจัดการเรียนการสอน ซึ่งปรากฏชัดเจนในกลุ่มสร้างเสริมประสบการณ์ชีวิตที่จัดเนื้อหาสาระเป็นหน่วยทั้งหมด 12 หน่วย บูรณาการเนื้อหาจากกลุ่มสร้างเสริมลักษณะนิสัยและกลุ่มการงานพื้นฐานอาชีพเข้าไว้ด้วยกัน และมุ่งให้เกิดการเรียนรู้ในลักษณะบูรณาการมากที่สุด เพื่อให้ผู้เรียน คิดเป็น ทำเป็น แก้ปัญหาเป็น และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ในการดำรงชีวิต ส่วนรูปแบบของการสอนแบบหน่วยและหน่วยการสอนได้รับการพัฒนาให้ดีขึ้นตามลำดับ เพื่อจะได้บรรลุผลตามหลักการและจุดหมายของการสอนแบบหน่วยและหน่วยการสอนอย่างแท้จริง
Other Abstract: Purposes of the study : 1. To study the evolution of Unit Teaching and Teaching Units in the Elementary School both in Thailand and in other countries. 2.To study and collect concerning data about : the characteristics of Unit Teaching and Teaching Units; the important components, their utilization in the classroom instruction and related problems as perceived by the Thai educators. Procedures : This historical research was conducted under the following procedures : 1. Studying and collecting of concerning data about Unit Teaching and Teaching Units from curricula and teachers’ mannual, books, magazines and the other related papers both in Thai and in English. 2. Interviewing the educators and the teachers who had ever constructed and participated in curricula planning, The Chachoengsao Pilot Project and the Bangkok – Thonburi Project related to utilization. requirement and trend of Unit Teaching and Teaching Units, and other relevant factors. 3. Organizing and presenting the data in descriptive form. Findings : Unit Teaching and Teaching Units were initiated in U.S.A. during the time of educational reform. The concepts of Unit Teaching were influenced by the philosophy of Progressive Education which emphasized on “What student’s learned” rather than “What is to be taught.” The two basic principles are Gestalt psychology : “The whole is more than the sum of its parts,” and Dewey’s philosophy which emphasized on learning by doing, individual differences, needs and interests of the learners, child centered and the democratic values. The objectives of Unit Teaching and Teaching Units were to give children integrated experiences and developed physical, emotional, social, and intellectual growth. It aimed to develope the learners’ personality, the abilities to think, to do and to solve problems, so that the learners could apply experiences in their daily lives. Unit Teaching and Teaching Units gave the children the opportunities to practice group living, to live and work together in the democratic society, democratic cooperativeness, responsibility and self – discipline. Unit Teaching was an integrated teaching. The contents in different fields were related and integrated into the main topics or units. The lesson served the needs and interests of the learners. The instruction was learner – centered and the pupil had important roles in lesson – planning, under the teachers’ guidance. There were various ways of teaching – learning activities with emphasis on individual differences, and learning process. Unit Teaching also enhanced creativeness, democratic principles, thinking, practicing and problem solving in daily life. Types of Teaching Units : a. According to the units contents ; 1. Subject Matter Units. The subject – matter in the curriculum could be organized into 3 forms : Topic Units, Problem Units. and Correlated Units. 2. Experience Units. This kind of unit was constructed on the learners’ experiences and learning activities. There were 4 forms : Experience Units, Project Units, Activity Units and Life Situation Units. b. According to Instructional Objectives : 1.Resouree Units. This kind of unit was constructed to be the resources for the teachers in planning Teaching Units. 2. Teaching Units . It was the unit planned for specific contents and specific group of learners. 3. Commercial Units. This kind of unit was experimented and improved. The objectives, contents, activities and teaching aids were suggested in the unit completely for the teachers. The concepts of Unit Teaching and Teaching Units had been adopted for Thailand in B.E. 2494 by the Chachoengsao Pilot Project Committee and in B.E. 2495 by the Bangkok – Thonburi Project Committee. Since then, it was currently improved and the ideas of Unit Teaching were taught in the teacher training institution. Anyhow, the implementation of Unit Teaching had not been successful. The main problems were misunderstanding of its concept and the application in classroom instruction. The teachers could not construct and performed various learning teaching activities in the units, lacking of instructional resources and the long – time old concept of teacher – centered activities had been still unchanged. Unit Teaching and Teaching Units had been more effective in the curriculum development and classroom instruction in Thailand. Since B.E. 2503, the Correlated curriculum and Core curriculum facilitated the teachers to perform Unit Teaching more effectively. The Elementary Curriculum B.E. 2521 presented evidently the Unit concept in the principles, objectives, structure of contents and instructional activities. The contents in the Area of Life Experiences, Character Education and Work – Oriented Education were integrated in some parts. The twelve units in Life Experiences Area were conducted for the good life of the learners, with the abilities to think, to do and to solve problems. Unit teaching and Teaching Units were eventually developed and improved in the elementary school and in the classroom instruction. The effectiveness of this methodology would enable the educational objectives and the learners’ lives in our country.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2526
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ประถมศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/21542
ISBN: 9745625124
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Srikrajang_Ko_front.pdf621.78 kBAdobe PDFView/Open
Srikrajang_Ko_ch1.pdf662.08 kBAdobe PDFView/Open
Srikrajang_Ko_ch2.pdf2.77 MBAdobe PDFView/Open
Srikrajang_Ko_ch3.pdf1.5 MBAdobe PDFView/Open
Srikrajang_Ko_ch4.pdf889.84 kBAdobe PDFView/Open
Srikrajang_Ko_ch5.pdf846.67 kBAdobe PDFView/Open
Srikrajang_Ko_back.pdf2.06 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.