Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/21797
Title: | ผลของการจัดการเรียนรู้พลศึกษาโดยใช้โปรแกรมการออกกำลังกายแบบผสมผสานที่มีต่อความเครียดของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย |
Other Titles: | The effects of physical education learning management using an integrated exercising program on the stress of upper secondary school students |
Authors: | พินิจ อินตา |
Advisors: | จินตนา สรายุทธพิทักษ์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ |
Advisor's Email: | Jintana.S@Chula.ac.th |
Subjects: | พลศึกษา -- การศึกษาและการสอน การเรียนรู้แบบผสมผสาน การออกกำลังกาย นักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย |
Issue Date: | 2554 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ1)เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของคะแนนความเครียดก่อนและหลังการทดลองของนักเรียนกลุ่มทดลองที่ได้รับการจัดโปรแกรมการออกกำลังกายแบบผสมผสาน และกลุ่มควบคุมที่ไม่ได้รับการจัดโปรแกรมออกกำลังกายแบบผสมผสาน 2)เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของคะแนนความเครียดหลังการทดลองของนักเรียนกลุ่มทดลองกับนักเรียนกลุ่มควบคุม กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายที่มีความเครียดอยู่ในระดับปานกลาง โรงเรียน ภ.ป.ร.ราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ จำนวน 40 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมกลุ่มละจำนวน 20 คน กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการออกกำลังกายแบบผสมผสานเป็นเวลา 8 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 3 วัน วันละ 50 นาที วิเคราะห์ข้อมูล โดยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบค่าที ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ ผลการวิจัยพบว่า 1.ค่าเฉลี่ยของความเครียดหลังการทดลองของกลุ่มทดลองลดลงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ค่าเฉลี่ยของความเครียดก่อนและหลังการทดลองของกลุ่มควบคุมไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2.ค่าเฉลี่ยของความเครียดหลังการทดลองระหว่างกลุ่มทดลองกับกลุ่มควบคุม แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่าโปรแกรมการออกกำลังกายแบบผสมผสานที่มีต่อความเครียดของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายทำให้ความเครียดของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายลดลงได้ |
Other Abstract: | The purpose of this study were: 1)to compare the average score of the stress before and after implementation of the experimental group students who received an integrated exercising program and the control group students who not received an integrated exercising program. 2) to compare the average score of the stress after implementation between the experimental group students and the control group students. The sample was 40 medium level’s stress students in the secondary education King’s College. Divided into 2 groups with 20 students in both the experimental and control group. The experimental group received an integrated exercising program for 8 weeks,3 days a week, 50 minutes a day. The data were analyzed by means, standard deviations and t-test by using statistically significant difference at .05 level. The research findings were as follows: 1) The mean score of the stress of the experimental group students after received an integrated exercising program was significantly lower than before at .05 level. The mean score of the stress of the control group students after 8 week was found no significant differences from before at .05 level. 2) The mean score of the stress of the experimental group students after received an integrated exercising program was significantly lower than the control group students at .05 level. The research finding suggests that an integrated exercising program on the stress was effective for decrease the stress in upper secondary school students. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554 |
Degree Name: | ครุศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | สุขศึกษาและพลศึกษา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/21797 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2011.487 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2011.487 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Edu - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
phint_in.pdf | 5.44 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.