Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/22257
Title: ผลกระทบของรูปแบบปฏิสัมพันธ์ด้วยเม้าส์ ที่มีต่อการรับรู้ความง่ายของการใช้ การรับรู้ความสนุกสนานและการรับรู้เทคโนโลยีในเว็บไซต์พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
Other Titles: Impacts of mouse interaction on perceived ease of use, perceived enjoyment and perceived technology in e-commerce website
Authors: มณฑกานต์ ประเสริฐอดิศร
Advisors: พิมพ์มณี รัตนวิชา
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี
Advisor's Email: Pimmanee.R@Chula.ac.th
Subjects: พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
เว็บไซต์ -- การออกแบบ
Issue Date: 2554
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ปฎิสัมพันธ์ด้วยเม้าส์ เป็นปัจจัยสำคัญในการพัฒนาเว็บไซต์พาณิชยอิเล็กทรอนิกส์ เนื่องจาก ผู้ใช้จะมีปฏิสัมพันธ์กับเว็บไซต์โดยใช้เม้าส์ หากเว็บไซต์เตรียมปฎิสัมพันธ์ที่ดีให้กับผู้ใช้ ก็จะทำให้เว็บไซต์มีความน่าสนใจมากยิ่งขึ้น ผู้วิจัยจึงสนใจที่จะศึกษาปฎิสัมพันธ์ด้วยเม้าส์ 2 รูปแบบที่นำมาใช้ในเว็บไซต์ คือ การคลิกซ้ายหนึ่งครั้ง และ การลากวางโดยการศึกษานี้ต้องการวิเคราะห์ผลกระทบของปฎิสัมพันธ์ด้วยเม้าส์ทั้งสองรูปแบบที่มีต่อการรับรู้ความง่ายของการใช้ การรับรู้ความสนุกสนาน และการรับรู้เทคโนโลยีในเว็บไซต์ เมื่อพิจารณาตัวแปรกำกับคือรูปแบบรายการผลลัพธ์ และระดับทักษะทางเทคโนโลยีของผู้ใช้งาน การศึกษานี้เป็นการทดลองในห้องปฏิบัติการ การวิเคราะห์ข้อมูลพบว่า ปฎิสัมพันธ์ด้วยเม้าส์มีผลต่อการรับรู้ความง่ายของการใช้ การรับรู้ความสนุกสนานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ความเชื่อมั่น 95% แต่ไม่พบผลกระทบต่อการรับรู้เทคโนโลยีในเว็บไซต์ ผู้ใช้จะรับรู้ถึงความง่ายของการใช้และการรับรู้ความสนุกสนานจากการใช้งานเม้าส์ด้วยการคลิกซ้ายมากกว่าแบบลากวาง ไม่ว่ารายการผลลัพธ์ที่ต้องการเป็นแบบเรียงลำดับ หรือแบบไม่เรียงลำดับ เช่นเดียวกันผู้ใช้จะรับรู้ถึงรับรู้ความสนุกสนานใช้งานเม้าส์ด้วยการคลิกซ้ายมากกว่าแบบลากวาง เมื่อรายการผลลัพธ์ที่ต้องการเป็นแบบไม่เรียงลำดับ และ เมื่อทักษะทางเทคโนโลยีของผู้ใช้อยู่ในระดับต่ำ ผู้ใช้จะรับรู้ได้ไม่ต่างกัน แต่หากผู้ใช้ที่มีทักษะทางเทคโนโลยีอยู่ในระดับสูง พบว่า ผู้ใช้จะรับรู้ถึงความง่ายของการใช้และการรับรู้ความสนุกสนานจากการใช้งานปฏิสัมพันธ์ของเม้าส์ด้วยการคลิกซ้ายมากกว่าแบบลากวางอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ข้อสรุปที่ได้ จากการศึกษานี้เป็นการต่อยอดองค์ความรู้ทางการวิจัยในบริบทปฎิสัมพันธ์ด้วยเม้าส์และการพัฒนาเว็บไซต์พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
Other Abstract: Mouse interaction is an important factor for e-commerce website development because users usually use mouse to interact with website interface. If websites provide well-design interactions, they can attract more users. Hence, we are interested in examining two types of mouse interaction in e-commerce websites which are left-click and drag drop. In this research, we study the impact of mouse interaction on perceived ease of use, perceived enjoyment and perceived technology in e-commerce websites, when formats of required results and technology skill of users are moderator variables. The data for this study collected from computer laboratory experiment. The data analysis indicates that left-click interaction significantly, at 95% confidence interval, leads to higher perceived ease of use and perceived enjoyment than drag-and-drop interaction, but not different to perceived technology. Moreover, left-click interaction significantly leads to higher perceived ease of use than drag-and-drop interaction for both result formats and left-click interaction significantly leads to higher perceived enjoyment than drag-and-drop interaction for sequence of items in the result is not important. Also, users with high technology skills feel that left-click interaction significantly leads to higher perceived ease of use and perceived enjoyment than drag-and-drop interaction. This finding is not true for users with lower technology skills. For conclusions, this study can lead to extended understanding of research in mouse interaction and website development.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การพัฒนาซอฟต์แวร์ด้านธุรกิจ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/22257
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2011.858
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2011.858
Type: Thesis
Appears in Collections:Acctn - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
monthakant_pr.pdf3.3 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.