Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/22431
Title: | ผลของการใช้โปรแกรมการเรียนโดยใช้ปัญหาเป็นฐานที่มีต่อความสามารถในการทำงานเป็นทีมของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น |
Other Titles: | Effects of a problem-based learning program on teamwork ability of lower secondary school students |
Authors: | นฤมล หน่อนิล |
Advisors: | วีรพล แสงปัญญา |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ |
Advisor's Email: | Weeraphol.S@Chula.ac.th |
Subjects: | นักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น -- การทำงานเป็นทีม การเรียนที่ใช้ปัญหาเป็นฐาน |
Issue Date: | 2554 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาผลของการใช้โปรแกรมการเรียนโดยใช้ปัญหาเป็นฐานในการพัฒนาความสามารถในการทำงานเป็นทีมของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น 2) เพื่อเปรียบเทียบคะแนนความสามารถในการทำงานเป็นทีมของนักเรียนกลุ่มทดลองที่ใช้โปรแกรมการเรียนโดยใช้ปัญหาเป็นฐานและนักเรียนกลุ่มควบคุมที่ไม่ได้ใช้โปรแกรมการเรียนโดยใช้ปัญหาเป็นฐาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ของโรงเรียนเทพศิรินทร์ สมุทรปราการ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2554 จำนวน 60 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 30 คน และกลุ่มควบคุม 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบวัดความสามารถในการทำงานเป็นทีมและโปรแกรมการเรียนโดยใช้ปัญหาเป็นฐานเพื่อพัฒนาความสามารถในการทำงานเป็นทีม ดำเนินการทดลองเป็นระยะเวลา 6 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 2 ครั้ง ใช้เวลาครั้งละ 60 นาที วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและเปรียบเทียบความแตกต่างด้วยสถิติทดสอบที(t-test) ผลการวิจัยพบว่า 1. หลังการทดลองนักเรียนกลุ่มทดลองที่ใช้โปรแกรมการเรียนโดยใช้ปัญหาเป็นฐานมีค่าเฉลี่ยของคะแนนความสามารถในการทำงานเป็นทีมสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. หลังการทดลองนักเรียนกลุ่มทดลองที่ใช้โปรแกรมการเรียนโดยใช้ปัญหาเป็นฐานมีค่าเฉลี่ยของคะแนนความสามารถในการทำงานเป็นทีมสูงกว่านักเรียนกลุ่มควบคุมที่ไม่ได้ใช้โปรแกรมการเรียนโดยใช้ปัญหาเป็นฐานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 |
Other Abstract: | The purposes of this research were 1) to study effect of a problem-based learning program on teamwork ability of lower secondary school students 2) to compare teamwork ability among experimental group students who were in a problem-based learning program and a control group student. The subjects were 60 students of seventh grade students in the second semester of 2011 from Debsirin Samutprakan School. The instrument were a teamwork ability test and a problem-based learning program. The intervention involved 12 training sessions, with each session lasting 60 minutes. The t-test was employed for data analysis. The results were as follows : 1. After the intervention,teamwork ability posttest scores of experimental group students who were in a problem-based learning program were higher than pretest scores at .05 level of significance. 2. After the intervention,teamwork ability posttest scores of experimental group students who were in a problem-based learning program were higher than control group posttest scores at .05 level of significance. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554 |
Degree Name: | ครุศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | จิตวิทยาการศึกษา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/22431 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2011.871 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2011.871 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Edu - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
narumon_no.pdf | 1.29 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.