Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/22460
Title: การสร้างบทเรียนแบบโปรแกรมวิชาภาษาไทยเรื่อง "โครงสร้างของประโยค" สำหรับระดับประถมศึกษาตอนปลาย
Other Titles: Construction of a Thai programmed lesson on "Sentence Structure" for the upper elementary education level
Authors: หรรษา นิลวิเชียร
Advisors: กิติยวดี บุญชื่อ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2519
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วัตถุประสงค์ของการวิจัย เพื่อสร้างบทเรียนแบบโปรแกรมวิชาภาษาไทย เรื่อง “โครงสร้างของประโยค” สำหรับระดับประถมศึกษาตอนปลาย และหาประสิทธิภาพของบทเรียนตามมาตรฐาน 90/90 (The 90/90 Standard) ผู้วิจัยสร้างบทเรียนแบบโปรแกรมวิชาภาษาไทย เรื่อง “โครงสร้างของประโยค” 363 กรอบ และข้อสอบ 40 ข้อ ทดลองกับตัวอย่างประชากรซึ่งเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่สี่ โรงเรียนชาติเฉลิม และโรงเรียนเทศบาลบ้านเขานิเวศน์ จังหวัดระนอง จำนวน 100 คน การทดลองเริ่มโดยให้นักเรียนทำแบบทดสอบก่อนเรียนบทเรียน แล้วจึงให้เรียนจากบทเรียนแบบโปรแกรม เมื่อจบบทเรียนแล้ว จึงให้ทำแบบทดสอบหลังเรียนบทเรียนนำข้อมูลทั้งหมดมาวิเคราะห์ เพื่อหาประสิทธิภาพของบทเรียนตามมาตรฐานดังกล่าว ผลการวิจัยปรากฏว่า บทเรียนแบบโปรแกรมวิชาภาษาไทย เรื่อง “โครงสร้างของประโยค” มีประสิทธิภาพ 88.20/97.86 หมายถึงนักเรียนสามารถทำข้อสอบหลังเรียนบทเรียนได้ถูกต้องโดยเฉลี่ยร้อยละ 88.20 และสามารถตอบคำถามในบทเรียนแบบโปรแกรมได้ถูกต้อง โดยเฉลี่ยร้อยละ 97.86 ดังนั้นบทเรียนนี้มีประสิทธิภาพต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนดไว้เล็กน้อย แต่ความแตกต่างของค่าเฉลี่ย ([Mean]) ของคะแนนก่อนเรียนบทเรียนและหลังเรียนบทเรียนแบบโปรแกรมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 แสดงว่านักเรียนเรียนบทเรียนแบบโปรแกรมนี้แล้ว มีความรู้เพิ่มขึ้น
Other Abstract: The purpose of this study was to construct a Thai Programmed Lesson on “Sentence Structure” for the Upper Elementary Education Level and to investigate the effectiveness of the Programmed Lesson based on the 90/90 Standard. The researcher constructed the 363 frames of Thai Programmed Lesson and forty test items on “Sentence Structure.” The sample population of the experiment were one hundred students in Prathom Suksa Four from Chartchalerm School and Thedsaban Bankaonives School in Ranong province. The students were given the pre-test and the post-test before and after working on the programmed lesson. The programmed lesson was evaluated from the data collected. The effectiveness of the Thai Programmed Lesson on “Sentence Structure” is 88.20/97.86. This means that the average scores of the students from the post-test and the programmed lesson are 88.20 percent and 97.86 percent respectively. The effectiveness of this programmed lesson is slightly lower than the 90/90 standard. However, the arithmetic mean ([x-bar]) of the pre-test and the post-test is significantly different at the level of .01. This shows that the students gained some knowledge from this programmed lessons.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2519
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ประถมศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/22460
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Hansa_Ni_front.pdf373.73 kBAdobe PDFView/Open
Hansa_Ni_ch1.pdf589.67 kBAdobe PDFView/Open
Hansa_Ni_ch2.pdf868.94 kBAdobe PDFView/Open
Hansa_Ni_ch3.pdf1.55 MBAdobe PDFView/Open
Hansa_Ni_ch4.pdf373.3 kBAdobe PDFView/Open
Hansa_Ni_ch5.pdf279.47 kBAdobe PDFView/Open
Hansa_Ni_back.pdf517.05 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.