Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/22622
Title: ความสัมพันธ์ระหว่างการเปิดรับสื่อมวลชนกับการพัฒนาลักษณะสมัยใหม่ ของเยาวชนในเขตเมืองและชนบท
Other Titles: The relationship between mass media exposure and development towards modernity of the youth in urban and rural areas
Authors: อัจฉราวรรณ อิศรางกูร ณ อยุธยา
Advisors: จุมพล รอดคำดี
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2529
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อทำการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการเปิดรับสื่อมวลชนกับการพัฒนาลักษณะสมัยใหม่ของเยาวชนในเขตเมืองและชนบท โดยศึกษาเฉพาะนักเรียนช้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในโรงเรียนเขตเมืองและชนบท จังหวัดกาญจนบุรี จำนวน 959 คน (11 โรงเรียน) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม ซึ่งปรากฏว่ามีนักเรียนตอบแบบสอบถามทั้งสิ้นเป็นจำนวน 854 คน คิดเป็นร้อยละ 89.05 สำหรับการวิเคราะห์ข้อมูลได้ทำการวิเคราะห์ข้อมูล โดยการหาค่าร้อยละ (Percentage) การทดสอบไค–สแควร์ (Chi–Square) ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (Pearson Product Moment Correlation) ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบพาร์เชียล (Partial Correlation) และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression Analysis) ด้วยการใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSSXผลการวิจัยท่สำคัญปรากฏดังนี้ คือ 1. การติดต่อกับสังคมภายนอกและฐานะทางเศรษฐกิจมีความสัมพันธ์กับการเปิดรับสื่อมวลชนอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 และ .01 กล่าวคือ เยาวชนที่มีระดับการติดต่อกับสังคมภายนอกในระดับสูงจะมีแนวโน้มของการเปิดรับสื่อมวลชนในระดับสูง และเยาวชนที่มีระดับการติดต่อกับสังคมภายนอกในระดับต่ำจะมีแนวโน้มของการเปิดรับสื่อมวลชนในระดับต่ำด้วย ในทำนองเดียวกับเยาวชนที่มีระดับฐานะทางเศรษฐกิจในระดับสูงจะมีแนวโน้มของการเปิดรับสื่อมวลชนในระดับสูง และเยาวชนที่มีระดับฐานะทางเศรษฐกิจในระดับสูงจะมีแนวโน้มของการเปิดรับสื่อมวลชนในระดับสูง และเยาวชนที่มีระดับฐานะทางเศรษฐกิจในระดับต่ำจะมีแนวโน้มของการเปิดรับสื่อมวลชนในระดับต่ำด้วย ส่วนตัวแปรเขตและเพศไม่มีความสัมพันธ์กับสื่อมวลชนอย่างมีระดับนัยสำคัญ .05 กล่าวคือ เยาวชนไม่ว่าจะอยู่ในเขตเมืองหรือชนบทก็ไม่มีความแตกต่างกันในเรื่องของการเปิดรับสื่อมวลชนและเยาวชนไม่ว่าจะเป็นเพศชายหรือหญิงก็ไม่มีความแตกต่างกันในเรื่องของการเปิดรับสื่อมวลชนเช่นกัน 2. เขต ฐานะทางเศรษฐกิจและการติดต่อกับสังคมภายนอกมีความสัมพันธ์กับลักษณะสมัยใหม่อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 กล่าวคือ เยาวชนที่อาศัยอยู่ในเขตเมืองมีแนวโน้มที่จะมีลักษณะสมัยใหม่ในระดับสูงกว่าเยาวชนที่อาศัยอยู่ในเขตชนบท ส่วนเยาวชนที่มีฐานะทางเศรษฐกิจในระดับสูงมีแนวโน้มที่จะมีลักษณะสมัยใหม่ในระดับสูง และเยาวชนที่มีฐานะทางเศรษฐกิจต่ำมีแนวโน้มที่จะมีลักษณะสมัยใหม่ในระดับต่ำด้วย สำหรับเยาวชนที่มีการติดต่อกับสังคมภายนอกในระดับสูงมีแนวโน้มที่จะมีลักษณะสมัยใหม่ในระดับสูง และเยาวชนที่มีการติดต่อกับสังคมภายนอกในระดับต่ำก็มีแนวโน้มที่จะมีลักษณะสมัยใหม่ในระดับต่ำ ส่วนตัวแปรเพศมีความสัมพันธ์กับลักษณะสมัยใหม่เมื่อได้ทำการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ กล่าวคือ เยาวชนเพศชายมีแนวโน้มที่จะมีลักษณะสมัยใหม่มากกว่าเยาวชนเพศหญิง 3. การเปิดรับสื่อมวลชนมีความสัมพันธ์กับลักษณะสมัยใหม่อย่างมีระดับนัยสำคัญทางสถิติระดับ .01 กล่าวคือ เยาวชนที่มีการเปิดรับสื่อมวลชนในระดับสูงมีแนวโน้มที่จะมีลักษณะสมัยใหม่ในระดับสูง และเยาวชนที่มีการเปิดรับสื่อมวลชนในระดับต่ำมีแนวโน้มที่จะมีลักษณะสมัยใหม่ในระดับต่ำ 4. เขต เพศ การติดต่อกับสังคมภายนอก ฐานะทางเศรษฐกิจ แต่ละตัวแปรกับลักษณะสมัยใหม่ส่วนใหญ่มีค่าลดลง เมื่อควบคุมตัวแปรการเปิดรับสื่อมวลชน ยกเว้นตัวแปรเพศ สรุปได้ว่า สื่อมวลชนเป็นตัวแปรแทรกในกระบวนการลักษณะสมัยใหม่ 5. ตัวแปรการเปิดรับสื่อมวลชนสามารถอธิบายลักษณะสมัยใหม่ได้ดีที่สุด โดยเฉพาะหนังสือพิมพ์
Other Abstract: The purpose of this research was to study the relationship between mass media exposure and development towards modernity of the youth in urban and rural areas of which the samples were 959 students (11 schools) in Matayom Suksa III from urban and rural schools in Kanchanaburi. The instrument for data collecting was a questionnaire. It appeared that there were 854 students answering questionnaires or 89.05% of all samples selected. Analysis of data was conducted by using percentage, chisquare test, Pearson Product Moment Correlation, partial correlation and multiple regression. The computer program SPSSX was used in data processing. The major results of this study were as follows: 1. There was a significant correlation between cosmopolite, economic status and mass media exposure at .05 and .01 level. That was the youth who have high level of cosmopolite world also have high level of mass media exposure. Therefore, the ones with low level of cosmopolite would trend to have low level of mass media exposure. Similarly, the youth who have good economic status would trend to have high level of mass media exposure other variables, e.g., area and sex were not significantly correlated with mass media exposure at .05 level. 2. There were significant correlations among area, cosmopolite, economic status and modernity at .01 level. The youth living in urban area would trend to modernization better than ones in the rural area. The youth with good economic status will highly trend to be modernized. At the same time, sex variable was significant correlated with modernity when analysis of data was conducted by using multiple regression. 3. There was a significant correlation between media exposure and modernity at .01 level. 4. Most of the relationship significant level among area, sex, cosmopolite and economic status and modernity was reduced when we controlled mass media exposure, except sex variable. It was a conclusion that mass media was the intervening variable in modernization process. 5. Mass media exposure variable, especially newspaper could be used to explain modernity.
Description: วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2529
Degree Name: นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การประชาสัมพันธ์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/22622
ISBN: 9745666254
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
acharawan_is_front.pdf426.8 kBAdobe PDFView/Open
acharawan_is_ch1.pdf540.2 kBAdobe PDFView/Open
acharawan_is_ch2.pdf855.86 kBAdobe PDFView/Open
acharawan_is_ch3.pdf429.29 kBAdobe PDFView/Open
acharawan_is_ch4.pdf636.54 kBAdobe PDFView/Open
acharawan_is_ch5.pdf510.42 kBAdobe PDFView/Open
acharawan_is_back.pdf983.41 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.