Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/22782
Title: การเปรียบเทียบความเชื่อในอัตลิขิต-ปรลิขิต ของนักเรียนที่มีเพศ ระดับการศึกษาของบิดามารดา และการอบรมเลี้ยงดู ตามการรายงานตนเองต่างกัน
Other Titles: Comparisons of belief in internal-external locus of control of pupils with difference in sexes, parents' education levels, and self-reported on child rearing practices
Authors: อัญญรัตน์ จิรรุ่งศฤงคาร
Advisors: ธีระพี อุวรรณโณ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2526
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบความเชื่อในอัตลิขิต-ปรลิขิตของนักเรียนที่รายงานว่าได้รับการอบรมเลี้ยงดูแตกต่างกัน นักเรียนที่บิดามารดามีระดับการศึกษาแตกต่างกัน และนักเรียนต่างเพศกัน กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 (ม.3) ภาคต้น ปีการศึกษา 2525 จำนวน 508 คน เป็นชาย 244 คน หญิง 264 คน จากโรงเรียนมัธยมประเภทสหศึกษา 9 แห่ง ในกรุงเทพมหานคร โดยมีสมมติฐานในการวิจัยว่า ความเชื่อในอัตลิขิต-ปรลิขิตจะแตกต่างกัน (1) ระหว่างกลุ่มนักเรียนที่รายงานว่าได้รับการอบรมเลี้ยงดูแบบประชาธิปไตย แบบให้ความคุ้มครองมากไป และแบบทอดทิ้ง (2) ระหว่างกลุ่มนักเรียนที่บิดามารดามีการศึกษาระดับสูง กลาง และต่ำ และ (3) ระหว่างกลุ่มนักเรียนชายและนักเรียนหญิง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย (1) แบบสอบถามเกี่ยวกับประวัติส่วนตัวของนักเรียน (2) มาตรวัดความเชื่อในอัตลิขิต-ปรลิขิต (I-E Scale) ของลิฟเวอร์รันท์ ร็อตเตอร์ และคราวน์ (Liverant, Rotter and Crowne) ฉบับภาษาไทย (3) แบบสอบถามเกี่ยวกับการอบรมเลี้ยงดูของพ่อแม่ของถั้น แพเพชร ที่ดัดแปลงโดยสุกัญญา กุลอึ้ง จากการใช้วิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-Way Analysis of Variance) และการเปรียบเทียบพหุคุณ (Multiple Comparisons) ที่ระดับความมีนัยสำคัญ .05 ทดสอบความแตกต่างของความเชื่อในอัตลิขิต-ปรลิขิต ปรากฏว่า (1) นักเรียนที่รายงานว่าได้รับการอบรมเลี้ยงดูแบบประชาธิปไตย แบบให้ความคุ้มครองมากไปและแบบทอดทิ้ง มีความเชื่อในอัตลิขิต-ปรลิขิตแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ โดยที่นักเรียนที่รายงานว่าได้รับการอบรมเลี้ยงดูแบบประชาธิปไตยมีความเชื่อในอัตลิขิตสูงกว่านักเรียนที่รายงานว่าได้รับการอบรมเลี้ยงดูแบบทอดทิ้ง (2) นักเรียนที่บิดามารดามีการศึกษาระดับสูง กลาง และต่ำ มีความเชื่อในอัตลิขิต-ปรลิขิตไม่แตกต่างกัน (3) นักเรียนชายและหญิงมีความเชื่อในอัตลิขิต-ปรลิขิตไม่แตกต่างกัน นอกจากนี้ จากการใช้สถิติทดสอบ X2 วิเคราะห์ข้อมูลเพิ่มเติมพบว่า ระดับการศึกษาของพ่อแม่กับการอบรมเลี้ยงดูตามรายงานของตนเองมีความสัมพันธ์กันทั้งในกลุ่มนักเรียนชาย นักเรียนหญิง และในกลุ่มรวมที่ระดับความมีนัยสำคัญ .01, .001 และ .001 ตามลำดับ และการอบรมเลี้ยงดูตามการรายงานของตนเองก็มีความสัมพันธ์กับเพศของนักเรียนอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .001
Other Abstract: The purpose of this research was to compare the belief in internal-external locus of control of pupils who reported to be reared by different child rearing practices, pupils whose parents had different education levels and pupils who were different in sexes. The subjects were 508 pupils, 244 males and 264 females, enrolled the first semester of Matayom 3 (M.3) of the 1982 academic year in 9 coeducational secondary schools in Bangkok. It was hypothesized that there would be a significant difference in the belief in internal-external locus of control (1) among pupils who reported to be reared in the atmospheres of democracy, overprotection and rejection (2) among pupils whose parents had different education levels and (3) between male and femal pupils. The instruments used in this study were (1) the pupils’s personal data questionnaire (2) a Thai version of the Liverant, Rotter and Crowne’s Internal-External Locus of Control Scale (I-E Scale) (3) the Self-Reported Child Rearing Practices Questionnaire Constructed by Than Paepech and modified by Sukanya Kuneung. The data were analyzed by using One-Way Analysis of Variance and Multiple Comparisons. The results indicated that at the .05 level of significance (1) there was a significant difference in the belief in internal-external locus of control among pupils who reported to be reared in the atmospheres of democracy, overprotection and rejection; Multiple Comparisons revealed that the pupils who reported to be reared in the atmosphere of democracy believed in internal locus of control more than the pupils who reported to be reared in the atmosphere of rejection (2) there was no significant difference in the belief in internal-external locus of control among pupils whose parents’ education levels were high, middle and low (3) there was no significant difference in the belief in internal-external locus of control between male and femal pupils. The data were also analyzed by using X2 method; it was found that there were significant relationships between parents’ education levels and self-reported child rearing practices in the male group, the female group and the total group at .01, .001 and .001 levels, respectively; and there was also a significant relationship between the self-reported child rearing practices and the pupils’ sex at .001 level.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2526
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: จิตวิทยาการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/22782
ISBN: 9745624454
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
anyarat_ji_front.pdf511.25 kBAdobe PDFView/Open
anyarat_ji_ch1.pdf3.73 MBAdobe PDFView/Open
anyarat_ji_ch2.pdf914.39 kBAdobe PDFView/Open
anyarat_ji_ch3.pdf643.27 kBAdobe PDFView/Open
anyarat_ji_ch4.pdf746.86 kBAdobe PDFView/Open
anyarat_ji_ch5.pdf380.18 kBAdobe PDFView/Open
anyarat_ji_back.pdf1.1 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.