Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/22853
Title: การศึกษาเพื่อประกอบการวางแผนการใช้ที่ดินในพื้นที่ชานเมือง ทางด้านตะวันตกของกรุงเทพมหานคร : กรณีศึกษาเขตบางขุนเทียน
Other Titles: A study for land use planning of the western suburb of Bangkok metropolis : a case study of Bang Khun Thian district
Authors: อำพัน รุ่งวรรธนวงศ์
Advisors: สุวัฒนา ธาดานิติ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2526
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: เขตชานเมืองชั้นนอกของกรุงเทพมหานครเป็นเขตต่อชนบท (Rural-Urban Fringe) ที่มีการใช้ที่ดินส่วนใหญ่ในการทำเกษตรกรรม ซึ่งได้แก่ เขตหนองแขม บางขุนเทียน ตลิ่งชัน หนองจอก ลาดกระบัง และ มีนบุรี ในปัจจุบันพื้นที่เหล่านี้กำลังมีการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดิน เป็นภาคนอกเกษตร เนื่องจากการแผ่ขยายตัวอย่างขาดระเบียบ (Urban Sprawl) ของเมือง การวางแผนการใช้ที่ดินอย่างรอบคอบจึงเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อลดความขัดแย้งระหว่างการใช้ที่ดินแบบชนบทและแบบเมือง กลยุทธ์ในการป้องกันพื้นที่เกษตรกรรมเหล่านี้คือการแบ่งเขต (Zoning) เพื่อควบคุมการขยายตัวของชุมชนเมืองให้อยู่ในขอบเขตที่เหมาะสม งานวิทยานิพนธ์ฉบับนี้ได้ศึกษาถึงการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินในเขตชานเมืองชั้นนอก ตลอดจนเสนอแนะแนวทางในการวางแผนการใช้ที่ดิน โดยใช้เขตบางขุนเทียนเป็นกรณีศึกษา ผลจากการศึกษาพบว่าเขตบางขุนเทียน ผลจากการศึกษาพบว่าเขตบางขุนเทียนมีประวัติความเป็นมาตลอดจนลักษณะกายภาพเป็นแบบชนบท พื้นที่ทั่วไปเป็นที่ราบลุ่มซึ่งเหมาะแก่การเกษตรกรรม มีลำคลองมากมายถึง 150 คลอง มีพื้นที่ซึ่งใช้ในการทำเกษตร 108,263.7 ไร่ หรือ ร้อยละ 95.6 ของพื้นที่ทั้งเขตในปี 2522 แต่ในปัจจุบันลักษณะดังกล่าวกำลังเปลี่ยนแปลงไป โดยเฉลี่ยมีการเพิ่มขึ้นของพื้นที่เมืองประมาณ 301.8 ไร่ต่อปี เนื่องจากการขยายตัวของเมืองเข้าสู่พื้นที่ชนบท ความเป็นเมือง (Suburbanization) ที่เกิดขึ้นมีสาเหตุหลายประการ คือ การปรับปรุงด้านคมนาคมขนส่ง การขยายตัวของโรงงานอุตสาหกรรม การขยายตัวของที่อยู่อาศัยและการเพิ่มประชากรอย่างรวดเร็วของกรุงเทพมหานคร ผลจากการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินคือ พื้นที่ที่เหมาะสมกับการเกษตรกรรมมากที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศกำลังสูญเสียไป ปรากฏการณ์ดังกล่าวก่อให้เกิดปัญหาหลายประการทั้งในเขตต่อชนบทเองและนอกพื้นที่ แต่ผู้ที่รับผลกระทบโดยตรงคือ เกษตรกร เนื่องจากการสูญเสียพื้นที่สำหรับประกอบอาชีพของตน ดังนั้นวิทยานิพนธ์ฉบับนี้จึงมุ่งศึกษาปัญหาของเกษตรกรที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดิน โดยการออกแบบสอบถามและสัมภาษณ์ ผลที่ได้มีดังต่อไปนี้ – พื้นที่สำหรับประกอบอาชีพลดลงเนื่องจากการขยายตัวของอุตสาหกรรมและหมู่บ้าจัดสรรต่าง ๆมากขึ้น – ปัญหาน้ำเสีย น้ำเน่าและสารพิษซึ่งโรงงานอุตสาหกรรมปล่อยลงสู่ลำคลองต่าง ๆ เกษตรกรต้องใช้น้ำในลำคลองเพื่อการประกอบอาชีพ การดำรงชีวิตประจำวัน และ การคมนาคมขนส่งด้วย จึงก่อให้เกิดความเดือดร้อนอย่างยิ่ง – ปัญหาสภาพแวดล้อมเป็นพิษ ทำให้สัตว์น้ำต่าง ๆ ตามธรรมชาติ เช่น กุ้ง หอย ปู ปลา ลดจำนวนลง นอกจากนี้ยังทำให้การเพาะปลูกไม่ได้ผลดีเท่าที่ควร – ปัญหาเรื่องโจรผู้ร้ายมีมากขึ้น ในอดีตปัญหาเรื่องนี้มีน้อยมาก โดยเกษตรกรระบุว่าโจรผู้ร้ายตามอุตสาหกรรมเข้ามา คนในท้องถิ่นเองไม่มีปัญหาเรื่องนี้มากนัก อย่างไรก็ตามปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาร่วมของเกษตรกรทุกอาชีพ แต่เนื่องจากเขตบางขุนเทียนมีพื้นที่อุดมสมบูรณ์ จึงมีการประกอบการเกษตรหลายประเภท ที่สำคัญคือ การทำนา ทำสวน และเลี้ยงสัตว์น้ำ ซึ่งแต่ละกลุ่มต่างประสบปัญหาเฉพาะตัวไม่เหมือนกัน และมีความขัดแย้งกันเองในการประกอบอาชีพเกษตรด้วย วิทยานิพนธ์ได้แดสงถึงเป้าหมายหลักของแผนการใช้ที่ดินของเขตบางขุนเทียนซึ่งได้กำหนดขึ้นจากผลประโยชน์ของประชาชนส่วนใหญ่ คือ เกษตรกร พิจารณาร่วมกับแนวโน้มการใช้ที่ดินอันเนื่องมาจากโครงการต่าง ๆที่จะเกิดขึ้นในเขตบางขุนเทียนและพื้นที่ต่อเนื่อง รวมทั้งปัญหาความขัดแย้งระหว่างเกษตรกรรมแต่ละประเภทด้วย ในที่สุดจึงได้กำหนดเป้าหมายหลักคือการอนุรักษ์พื้นที่เกษตรกรรมไว้ โดยมีนโยบายการวางแผนการใช้ที่ดินคือ – เขตบางขุนเทียนจะต้องมีการใช้ที่ดินเหมาะสมตามสมรรถนะของดิน – กำหนดขอบเขตการขยายตัวของชุมชน เมืองให้อยู่ในที่ที่เหมาะสมโดยไม่รุกล้ำพื้นที่เกษตรกรรม – ส่งเสริมโครงการพัฒนาพื้นที่เกษตรกรรม – ป้องกันสิ่งจำเป็นพื้นฐานสำหรับการเกษตรกรรมคือ คูคลองต่าง ๆ และความอุดมสมบูรณ์ของดิน จากเป้าหมายหลักแลนโยบายดังกล่าวจึงได้เสนอแนะแนวทางการกำหนดแผนการใช้ที่ดินในเขตบางขุนเทียน ซึ่งประกอบด้วยพื้นที่ เกษตรกรรมและพื้นที่เมืองแยกจากกันอย่างเด่นชัด โดยมีมาตรการต่าง ๆ เพื่อให้เกิดผลในทางปฏิบัติ นอกจากนี้การศึกษายังได้เสนอแนะการแก้ปัญหาความขัดแย้งระหว่างเกษตรกรรมประเภทต่าง ๆ เพื่อให้เกิดความจูงใจแก่เกษตรกรในการประกอบอาชีพ รวมทั้งเพื่อให้พื้นที่ชานเมืองสามารถรักษาสภาพการเป็นพื้นที่เกษตรกรรมไว้ได้ต่อไป
Other Abstract: Outer suburban area of the Bangkok Metropolitan is the rural-urban fringe where the major landuse is for agriculture. Those suburban areas are in Nong Kham, Bang Khun Tian, Taling Chan, Nong Chock, Lad Krabang and Mean Buri Districts. Their agricultural landuse characteristics nowadays are on the verge of changes due to the haphazard urban sprawl. The circumspect landuse planning thus is an indispensable method to lessen the conflicts between rural and urban landuses. One efficient strategy to protect the agricultural area is the zoning method, believed to be an effective way to control urbanization within the proper area. In this thesis, the study was done on outer suburban landuse changes and the guidelines for landuse planning are recommended as well by taking Bangk Khun Tian District as a case study. From the study, it appears that Bang Khun Tian Distict has its development and physical features of rural type. That is, it is flood plain suitable for agriculture with as much as 150 canals. In 1979, about 108,263.7 rai or 95.6% of its total area are cultivated. But at present, it has been changed. In average, urbanized area is sprawling 301.8 rai annually by the process of suburbanization which is generated by multilateral factors – the transportation development, factory expansion, residential area extension and rapid Bangkok population growth. The grave consequence of such changes is that one piece of the country’s most suitable area for agriculture is lost which will eventually cause several problems for both the inside rural area itself and the vicinity. But the directly affected people are the agriculturists who lose their land of occupation. Therefore, this study had focussed on the problems of agriculturists caused by landuse changes by doing field survey and interviews. The outcomes are :- - Land for occupation shrinks, because of industrial and housing estate expansion. – Problem of polluted and toxicated water caused by factories discharging their waster into the canals. The agriculturists have to use canal water for their occupation, daily living and transport, so they are seriously affected. – Problem of polluted environments leading to natural aquatic animal – fish, crabs, or shrimps – lessened in number and impotent cultivation. – Problem of theft increase. The local folks believe that the factories bringing thieves into the localities. The aforementioned problems are common ones which every types of agriculturists encounter. As Bang Khun Tian District is the fertile land, there are types of agriculture there of which the major ones are rice and fruit growing and aquatic animal raising. Each type of agriculturists will face different problems of their owns and also some inter-conflicts between the agriculturists themselves. This thesis has presented the goal or the objective of Bang Khun Tian landuse planning which is formulated by taking interests of the majority group – the agriuculturists – into consideration. It is counted together with landuse trend which caused by many projects to be carried out in Bang Khun Tian and the connected areas, as well as the inter-conflicts between various types of agriculturists. Finally, to conserve the agricultural areas is set as the main target by having the policy of landuse planning as follow :- - The Bang Khun Tian District will utilize the land according to its capability – Urbanized area will be restricted and controlled within the proper precincts and not trespassing into agricultural area. – The projects for agricultural area development will get supported. – Basic infra-structures for agriculture – canals, creeks or soil fertility – will be preserved. From the main target and policies, some recommendations for Bang Khun Tian landuse planning are presented which is composed of clearly separated agricultural and urban precincts and various measures for implementation. Besides, solutions for conflicts between various types of agriculture also are recommended in order to create incentives for agriculturists to pursue their occupation for eventual suburban agricultural area reservation.
Description: วิทยานิพนธ์ (ผ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2526
Degree Name: การวางแผนภาคและเมืองมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การวางผังเมือง
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/22853
ISBN: 9745620637
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Ampan_Ru_front.pdf612.31 kBAdobe PDFView/Open
Ampan_Ru_ch1.pdf296.37 kBAdobe PDFView/Open
Ampan_Ru_ch2.pdf718.52 kBAdobe PDFView/Open
Ampan_Ru_ch3.pdf1.77 MBAdobe PDFView/Open
Ampan_Ru_ch4.pdf2.28 MBAdobe PDFView/Open
Ampan_Ru_ch5.pdf857.87 kBAdobe PDFView/Open
Ampan_Ru_ch6.pdf1.4 MBAdobe PDFView/Open
Ampan_Ru_ch7.pdf1.45 MBAdobe PDFView/Open
Ampan_Ru_back.pdf877.06 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.