Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/22928
Title: การวิเคราะห์สร้างการเจริญเติบโตของการค้าในภูมิภาคเอเซียแฟซิฟิก
Other Titles: The analysis of trade growth in Asia-Pacific region
Authors: กันยา ประวิทย์ธนา
Advisors: นวลน้อย ตรีรัตน์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: Nualnoi.T@chula.ac.th
Subjects: ความร่วมมือทางเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก (องค์การ)
การค้าระหว่างประเทศ
การรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศ
การค้าภายในอุตสาหกรรมเดียวกัน
มูลค่าการค้ารวม
กลุ่มประเทศอาเซียน
Issue Date: 2539
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: เพื่อศึกษาโครงสร้างการค้าภายในภูมิภาคของกลุ่มประเทศในเอเชียแปซิฟิก รวมทั้งพิจารณาบทบาทของอัตราการเติบโตในการค้าภายในอุตสาหกรรมเดียวกัน (Intra-Industy Trade) และการค้าระหว่างอุตสาหกรรม (Inter-Industry Trade) ที่มีผลต่อการเติบโตในมูลค่าการค้ารวม โดยวิเคราะห์ที่มาของการเติบโตในมูลค่าการค้ารวมเปรียบเทียบในช่วงปี 1985-1989 และ 1989-1993 ตลอดจนศึกษาถึงปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อระดับการค้าภายในอุตสาหกรรมของประเทศไทยกับประเทศ ASEAN โดยการศึกษาในครั้งนี้พิจารณาสินค้าอุตสาหกรรมจำแนกตามระบบ SITC 2 หลัก ของ United Nations ผลการศึกษาพบว่า ทุกกลุ่มประเทศภายในภูมิภาคเอเซีย-แปซิฟิกมีการค้าภายในภูมิภาคเป็นส่วนสำคัญในการค้าระหว่างประเทศและมีมูลค่าเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ในช่วงปี 1985-1993 การค้าส่วนใหญ่ที่เกิดขึ้นเป็นการค้าในสินค้าอุตสาหกรรม และการเติบโตของการค้าจากทุกกลุ่มประเทศในภูมิภาคมาจากบทบาทของการเติบโตการค้าภายในอุตสาหกรรมเดียวกันเป็นหลัก โดยเฉพาะในช่วงปี 1989-1993 การค้าภายในอุตสาหกรรมเดียวกันเพิ่มความสำคัญขึ้นจากช่วงปี 1985-1989 มาก กล่าวคือมีบทบาทต่อการค้ารวมมากกว่าการค้าระหว่างอุตสาหกรรมในทุกกลุ่มประเทศโดยเฉพาะกลุ่ม East Asia และ ANZCERTA มีการเติบโตของการค้าในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก เป็นผลมาจากการเติบโตของการค้าภายในอุตสาหกรรมเดียวกันทั้งสิ้น ส่วนปัจจัยที่มีผลต่อระดับการค้าภายในอุตสาหกรรมเดียวกันในกรณีของประเทศไทยกับประเทศคู่ค้าในกลุ่ม ASEAN ได้แก่ความคล้ายกันในด้านปัจจัยการผลิต ความซับซ้อนและการใช้เทคโนโลยีในการผลิต ซึ่งทำให้เกิดความหลากหลายในสินค้า และระดับการลงทุนจากต่างประเทศได้สร้างเครือข่ายการผลิตระหว่างประเทศภายในกลุ่ม ASEAN โดยญี่ปุ่นมีบทบาทสำคัญในการสร้างเครือข่ายการลงทุนดังกล่าว ปัจจัยทั้งสามนี้มีผลให้สัดส่วนการค้าภายในอุตสาหกรรมเดียวกันสูงขึ้น ส่วนอุปสรรคทางการค้าประกอบด้วยอุปสรรคทางธรรมชาติและเชิงนโยบาย โดยสิ่งกีดขวางทางธรรมชาติคือ ระยะทางระหว่างประเทศ ส่งผลให้สัดส่วนการค้าภายในอุตสาหกรรมเดียวกันต่ำลง ส่วนสิ่งกีดขวางเชิงนโยบายที่สำคัญได้แก่ อัตราภาษีศุลกากรซึ่งในการศึกษานี้พบว่าไม่มีผลอย่างมีนัยสำคัญต่อสัดส่วนการค้าภายในอุตสาหกรรมเดียวกัน ส่วนปัจจัยทางด้านความคล้ายกันของรายได้ต่อหัวก็พบว่าไม่มีผลอย่างมีนัยสำคัญต่อสัดส่วนการค้าภายในอุตสาหกรรมเช่นกัน เนื่องจากการขยายตัวทางการค้าผ่านการค้าภายในอุตสาหกรรมเดียวกันมีบทบาททวีความสำคัญมากขึ้นเรื่อยๆ ในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ดังนั้นนโยบายการลดอุปสรรคทางการค้าในภูมิภาคนี้ ไม่น่าที่จะก่อให้เกิดต้นทุนการปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นเท่ากับกรณีที่ประเทศมีโครงสร้างทางการค้าพึ่งพิงการค้าระหว่างอุตสาหกรรมเป็นหลัก ดังนั้น กลุ่มความร่วมมือทางเศรษฐกิจของประเทศในเอเชีย-แปซิฟิก ควรดำเนินการร่วมกันในการประสานแผนการลดข้อกีดกันทางการค้าลง เพื่อขยายปริมาณการค้าในภูมิภาคนี้ต่อไป
Other Abstract: Analyzes intra-APEC trade pattern, as well as to consider the contribution of intra-industry trade and inter-industry trade to intra-APEC trade growth. Two periods, 1985-1989 and 1989-1993 are compared. The analysis of the determinants of intra-industry trade between Thailand and ASEAN members has also been given attention in this study. All computations of data used are classified according to the United Nations' Standard International Trade Classification (SITC) at the 2 digit level for manufactured products. It was found that each group of countries defined in the Asia-Pacific region had relatively high share of Intra-APEC trade in total multilateral trade. The contribution of this share rose continuously during 1985-1993 most of which was composed of manufactures. In fact, intra-industry trade mainly accounts for the growth in all groups in APEC members. Especially during 1989-1993, intra-industry trade increased the importance from 1985-1989. The contribution of intra-industry trade to total trade growth is greater than that of inter-industry trade in all groups. It is evident that in the case of East Asia and ANZCERTA, total growth in intra-APEC trade of those groups was caused by the expansion of intra-industry trade. As for the regression analysis on the determinants of intra-industry trade between Thailand and ASEAN countries in 1991, the results seem to support the general hypotheses that the degree of Intra-Industry trade was raised by similarities in factors of productions, complexities and techniques for product differentiation, high level of Japan multinational activities and low geographical distance, however, the coefficients of the proxy variables for tariff barriers and similarities in per capita income are not statistically significant to explain the intra-industry trade between Thailand and ASEAN countries. As intra-industry trade plays an important role for intra-APEC trade growth, elimination of trade barriers for those industries involves in intra-industry trade may cause less adjustment cost than those of inter-industry trade. Therefore, APEC members should co-operate reduce their protection for enhance overall APEC trade volume in the long run.
Description: วิทยานิพนธ์ (ศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2539
Degree Name: เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เศรษฐศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/22928
ISBN: 9746363131
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Kanya_Pr_front.pdf1 MBAdobe PDFView/Open
Kanya_Pr_ch1.pdf820.89 kBAdobe PDFView/Open
Kanya_Pr_ch2.pdf972.68 kBAdobe PDFView/Open
Kanya_Pr_ch3.pdf778.39 kBAdobe PDFView/Open
Kanya_Pr_ch4.pdf1.29 MBAdobe PDFView/Open
Kanya_Pr_ch5.pdf1.18 MBAdobe PDFView/Open
Kanya_Pr_ch6.pdf732.43 kBAdobe PDFView/Open
Kanya_Pr_back.pdf1.13 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.