Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/22975
Title: การวิเคราะห์ต้นทุนดำเนินงานเพื่อการกำหนดอัตราค่าระวาง ของการรถไฟแห่งประเทศไทย
Other Titles: An ayalysis of operation cost for the determination of freight rates of The State Railway of Thailand
Authors: นิธิวดี จตุรภุช
Advisors: พจนา นาควัชระ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2522
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ในระยะเวลา 4 – 5 ปีที่ผ่านมา การรถไฟแห่งประเทศไทย ต้องประสบกับภาวะ การขาดทุนจากการดำเนินงานอย่างมากมาย จึงเห็นว่า ควรจะได้มีการวิเคราะห์ต้นทุนทำการโดยละเอียดเพื่อที่จะศึกษาดูว่า ต้นทุนการขนส่งสินค้าที่ใช้กันอยู่ปัจจุบันมีความเหมาะสมและถูกต้องตรงกับข้อเท็จจริงเพียงใด และเพื่อที่จะพิจารณาดูว่า ควรจะตัดทอนหรือลดค่าใช้จ่ายประเภทใดลงได้บ้าง เพราะถ้าต้นทุนที่คำนวณขึ้นมานั้นสูง อัตราค่าระวางก็จะสูงตามด้วย อันจะทำให้เสียโอกาสที่จะถูกว่าจ้างให้ขนส่งสินค้า การจัดทำต้นทุนที่ถูกต้องและรวดเร็ว จะทำให้ฝ่ายบริหารทราบว่างานขนส่งรายใดได้กำไรหรือขาดทุนจะได้สั่งการแก้ไขได้ทันท่วงที หรือแนวทางส่งเสริมให้ขยายตัวออกไปถ้าเป็นงานที่ทำกำไรหรือพยายามเลิกเสียถ้าขาดทุน ถ้าเลิกไม่ได้เพราะเป็นความผูกพันทางด้านการบริการแก่สังคมก็จะได้ขอให้รัฐบาลจัดสรรเงินชดเชยให้ ดังนั้นจึงได้จัดทำวิทยานิพนธ์ฉบับนี้ขึ้นมาเพื่อวัตถุประสงค์ดังกล่าวมาแล้วข้างต้น สำหรับการค้นคว้าวิจัย ได้ทำการศึกษาจากข้อมูลของฝ่ายพาณิชย์และฝ่ายบัญชี ณ ที่ทำการของการรถไฟแห่งประเทศไทย พร้อมทั้งสอบถามเจ้าหน้าที่ผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายและค้นคว้าจากหนังสือและเอกสารที่เกี่ยวกับการรถไฟ ในการกำหนดค่าระวางปกติ การรถไฟแห่งประเทศไทยใช้หลักเกณฑ์ที่เรียกว่าความสามารถในการรับภาวะค่าระวาง ( Charging what the traffic can bear ) แต่ถ้าเป็นค่าระวางพิเศษจะกำหนดโดยยึดต้นทุนผันแปรเป็นเกณฑ์กล่าวคือ จะต้องไม่ต่ำกว่าต้นทุนผันแปรระยะยาว ซึ่งหลักเกณฑ์ในการกำหนดค่าระวางดังกล่าวนั้นเป็นหลักเกณฑ์ที่ถูกต้อง จากผลของการค้นคว้าวิจัยปรากฏว่า การรถไฟแห่งประเทศไทยก็ประสบปัญหายุ่งยากในการที่จะแบ่งต้นทุนร่วม หรือจัดสรรต้นทุนร่วมระหว่างการโดยสารและสินค้า ซึ่งไม่อาจจะแยกได้เด็ดขาดว่าควรจะเป็นของการสินค้าเท่าใดและควรจะเป็นของการโดยสารเท่าใด วิธีที่ปฏิบัติกันอยู่ในปัจจุบันจึงคำนวณเป็นต้นทุนต่อหน่วยในจำนวนที่เท่ากันระหว่างการสินค้าและการโดยสาร ซึ่งเมื่อใดที่การรถไฟแห่งประเทศไทยกำหนดหลักเกณฑ์ที่จะจัดสรรได้อย่าสงถูกต้องยุติธรรมแล้ว เชื่อว่าการกำหนดค่าระวางและค่าโดยสารจะกระทำได้อย่างใกล้เคียงตรงกับความเป็นจริงและเหมาะสมด้วย นอกจากนี้เนื่องจากมีพนักงานประจำแผนกบัญชีต้นทุนน้อย จึงทำให้การคำนวณต้นทุนเกิดความล่าช้า เมื่อเป็นเช่นนี้ตัวเลขที่นำมาพิจารณาจึงมักเป็นตัวเลขในอดีตซึ่งได้พยายามปรับปรุงให้เป็นตัวเลขที่คิดว่าใกล้เคียงกับตัวเลขในปัจจุบัน การใช้ข้อมูลเช่นนี้เป็นพื้นฐานในการตัดสินใจอาจทำให้การตัดสินใจผิดพลาดในบางกรณีถ้าตัวเลขดังกล่าวห่างไกลจากความเป็นจริงในปัจจุบัน นอกจากนี้ ผลของการวิจัยพบว่า การที่การรถไฟแห่งประเทศไทยขาดทุนก็เนื่องจากกิจการรถไฟฯ มีค่าใช้จ่ายสูงอันเป็นผลเนื่องจากการมีพนักงานเป็นจำนวนมากประการหนึ่ง ดังจะเห็นได้ว่าค่าใช้จ่ายของผู้ปฏิบัติการสูงมาก ซึ่งจำนวนพนักงานดังกล่าวไม่อาจจะทำให้ลดลงโดยการปลดพนักงานออกได้ถ้าเขาเหล่านั้นไม่มีความผิด ตามระเบียบของทางราชการ ทางเดียวที่จะช่วยได้คือ หยุดรับพนักงานเพิ่มอีกประการหนึ่งการรถไฟฯ มีภาระที่จะต้องสร้างทางเอง มีผลทำให้ค่าใช้จ่ายสูงและสูงกว่าคู่แข่งขันด้วย การรถไฟแห่งประเทศไทยไม่สามารถที่จะกำหนดค่าระวางให้สูงตามค่าใช้จ่ายที่สูง เนื่องจากถูกจำกัดด้วยอัตราค่าระวางของคู่แข่งขัน ซึ่งคู่แข่งขันที่สำคัญคือรถยนต์ ซึ่งสามารถกำหนดค่าระวางให้ต่ำได้เนื่องจากต้นทุนและค่าใช้จ่ายการดำเนินงานขนส่งต่ำกว่าของการรถไฟฯ นอกจากนี้อัตราค่าระวางที่การรถไฟฯใช้อยู่ในปัจจุบันเป็นอัตราที่กำหนดขึ้นมากว่า 20 ปี ภายหลังได้มีการปรับเพิ่มเพียงเล็กน้อยเมื่อ พ.ศ. 2518 ซึ่งเมื่อนำมาเปรียบเทียบกับต้นทุนแล้วมีความสัมพันธ์กันน้อยมาก กล่าวคือในระยะทางที่ไกลออกไปค่าระวางจะต่ำกว่าต้นทุนเป็นส่วนมาก ซึ่งในการปรับเพิ่มค่าระวางกระทำได้ลำบากเพราะรัฐบาลมักจะไม่ยอมให้กระทำเนื่องจากเกรงว่าจะทำให้ประชาชนผู้ใช้บริการเดือดร้อน จริงอยู่ถึงแม้ว่าในการกำหนดอัตราค่าระวางปกติ ซึ่งใช้หลักเกณฑ์ที่เรียกว่าความสามารถในการรับภาระค่าระวาง สินค้าที่มีราคาสูงจะกำหนดค่าระวางสูงและจะมีส่วนที่ไปชดเชยสินค้าประเภทที่ขนส่งแล้วขาดทุน แต่รายได้ที่ได้จากค่าระวางปกติเป็นอัตราส่วนที่น้อยมาก คือประมาณ 5 - 10 % ของรายได้ทั้งหมด จึงไม่ได้ทำให้ผลขาดทุนในจำนวนรวมลดลงมากนัก ในระบบเศรษฐกิจเสรี ควรจะให้การรถไฟฯ มีสิทธิกำหนดค่าระวางได้ ตามที่เห็นว่าเหมาะสมและตามที่ผู้ส่งสินค้า จะยอมรับอัตราค่าขนส่ง เพราะการรถไฟฯมิได้ประกอบกิจการขนส่งในลักษณะผูกขาด ในเมื่อคู่แข่งขันของรถไฟคือรถยนต์และเรือ สามารถตั้งราคาได้โดยอิสระ การที่จะควบคุมการกำหนดอัตราค่าระวางของรถไฟไว้ ย่อมทำให้การรถไฟแห่งประเทศไทยอยู่ในฐานะลำบาก การรถไฟแห่งประเทศไทยเองก็มีข้อเสียเปรียบการขนส่งทางอื่นหลายประการดังกล่าวมาแล้ว ดังนั้นเมื่อรัฐบาลมีนโยบายจะให้การรถไฟแห่งประเทศไทยทำงานในลักษณะรัฐวิสาหกิจก็ควรจะให้ความอิสระในการกำหนดอัตราค่าระวางได้ ระบบการแข่งขันเท่าที่เป็นอยู่จะควบคุมการตั้งราคาของการรถไฟแห่งประเทศไทย ได้อยู่เองโดยรัฐบาลไม่ต้องวิตก
Other Abstract: In the past 4 - 5 years The state Railway of Thailand (SRT) incurred large operating losses, so it is considered appropriate to carry out an analysis of operating cost to deter¬mine whether current freighting cost reflects the situation or not and to consider ways and means for possible reduction of cost components, because of the operating cost is high customers would seek other alternative means of transport. Timely accumulation and determination of cost aids management in determining profit or loss and corrective action may be taken, indulging plans for expansion or contraction of work, if there are social obligations which prevent the SRT from Additionally the result of the study shows that the SRT incurred large payroll expenses, because of the number of SRT employees, being a state enterprise the SRT cannot reduce the number simply by dismissing some employees though the SRT way stop engaging new employees. The SRT has also to construct the railway lines resulting in high operating expenses which are higher than those of its competitors. Due to commercial competition, mainly motorised trans-portation with lower costs, the SRT cannot increase its freight fee to meet its rising expenses. The SRT freight structure currently in force is based on an original one of over 20 years ago, with some amendments in 1995, thus it is apparent that freights income and cost bear little relationship, long-haul freight income will mostly be below cost, with the Government being reluctant to disturb consumers by revising the rates. Even though in normal circumstances freight fee is fixed on the basis of charging what the traffic can bear, high priced, goods being subjected to high freight fee and thus able to compensate for losses from carrying other fright, such com¬pensation has a minimum operating result as ordinary freight accounts for only 5 - 10 /o of total income. In the free economy system, the SRT should be allowed to fix its own rates as it. deems suitable and as the traffic can withdrawing from lass-making operations,- data may be accumulated in order to form a basis for requests for Government Compensation This thesis has these objectives as its themes, A study for this thesis is carried out by way of a study of data from the Commercial Department and Accounting I Department of 'the SRT, supplemented by information supplied by SRT officials and books and documents in connection with railway operations. The SRT determines ordinary freight foe on the basis of charging what the traffic can bear, but in case of special fright it is based on long-term variable costs, such basis is appropriate. The result of this study shows that the SRT encounter problems in allocating joint costs to passenger transport and to freight, so the problem is currently solved by simply employ¬ employ¬ing the cost per unit basis all through. It is considered that if the SRT employs a more sophisticated allocation basis, freight fee and passenger fares may be more equitable and more suitable. It is also found that insufficient number in cost accounting staff results in delay in cost determination, there¬fore management decision is based on past data adjusted on approximation basis to expected current data decision making on this basis may turn out to. Be erroneous if the oppronimates prove to be far out of line of actual. Bear. because it does not monopolise transportation businesses; its competitors-trucks and barges fix their own rates at free will, controlling the SRT’s freight rates will add to its difficulties and disadvantages, Thus if the SRT is .to operate as a state enterprise, the Government should allow it independence in fixing freight rates and competition from other means of transport will act as restraint in this respect.
Description: วิทยานิพนธ์ (บช.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2522
Degree Name: บัญชีมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การบัญชี
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/22975
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Nithiwadii_Ch_front.pdf758.6 kBAdobe PDFView/Open
Nithiwadii_Ch_ch1.pdf2.51 MBAdobe PDFView/Open
Nithiwadii_Ch_ch2.pdf1.21 MBAdobe PDFView/Open
Nithiwadii_Ch_ch3.pdf2.45 MBAdobe PDFView/Open
Nithiwadii_Ch_ch4.pdf1.13 MBAdobe PDFView/Open
Nithiwadii_Ch_ch5.pdf655.17 kBAdobe PDFView/Open
Nithiwadii_Ch_back.pdf3.42 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.